Header

ความดันโลหิตสูง HYPERTENSION

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ความดันโลหิตสูง จัดเป็นภาวะหนึ่งซึ่งทำให้เกิดผลกระทบในทางเสื่อม ต่ออวัยวะสำคัญต่าง ๆ มากมาย เช่น สมอง หัวใจ ไต และส่งผลทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ในที่สุด

ความดันโลหิตคืออะไร

ความดันโลหิต   เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจบีบตัว ส่งเลือดเข้าหลอดเลือดต่าง ๆ ขณะหัวใจบีบตัวความดันโลหิตสูงขึ้น เรียกความดันขณะนี้ว่า ความดันขณะหัวใจบีบตัว หรือ แรงดันโลหิตซีสโตลิค หรือ ความดันตัวบน ขณะหัวใจคลายตัวเลือดจากหลอดเลือดแดงจะไหลออกไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ความดันโลหิตลดต่ำลงเนื่องจากหัวใจคลายตัว ความดันขณะนี้ว่า  ความดันขณะหัวใจคลายตัว หรือ แรงดันโบหิตไดแอสโตลิค หรือ ความดันตัวล่าง

 

การบันทึกความดันโลหิต

บันทึกเป็นตัวเลข 2 ชุด เช่น 110 / 70 มิลลิเมตรปรอท สำหรับเครื่องที่เป็นดิจิตอลจะมีการบันทึกชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจด้วย
 

ความดันโลหิตปกติ

ความดันโลหิตปกติ ไม่ควรเกิน 130 / 85 มิลลิเมตรปรอทในขณะพักผ่อนความดันโลหิตแปรผันไม่คงที่ขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะตื่นเต้น ดีใจ  ตกใจ หรือออกกำลังกายความดันโลหิตจะสูงขึ้น เมื่อพักผ่อนหรือนอนหลับความดันโลหิตจะต่ำลง
 

เมื่อใดเรียกว่า “ความดันโลหิตสูง”

ความดันโลหิตที่สูงเกินกว่า 140 / 85 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเริ่มผิดปกติ ควรมีการดูแลรักษาด้วยวิธีการปฏิบัติตัว (ดูรายละเอียดตอนท้าย) ถ้าสามารถลดค่าของความดันโลหิตได้ก็ไม่ต้องรับประทานยา แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาควบคู่ไปด้วย
 

สาเหตุ

มากกว่าร้อยละ 90 ไม่ทราบสาเหตุแต่พบปัจจัยเสริมดังนี้

  1. กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้
  2. สิ่งแวล้อม เป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น อ้วนมาก เบาหวาน ทานอาหารรสเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด ไม่ออกกำลังกายและส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคที่มีความผิดปกติของระบบฮอร์โมน โรคความผิดปกติของหลอดเลือดระบบไหลเวียน ยาบางชนิด

 

อาการ

  • ความดันโลหิตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรือ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะความดันโลหิตสูงจึงได้รับการขนานนามว่า “ฆาตกรเงียบ”
  • ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง  ผู้ป่วยอาจเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นได้ เช่น เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะตุบ ๆ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น เครียด ไมเกรน

ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าพบความดันโลหิตสูงจะรักษาได้ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งเมื่อความดันโลหิตลดลงมาเป็นปกติ อาการดังกล่าวก็จะหายไป

 

ผลของโรคความดันโลหิตสูง

ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะสำคัญดังนี้

  • สมอง :  เลือดไปเลียงสมองไม่พอ บางส่วนของเนื้อสมองตายเกิดอัมพาต บางรายเสื้นเลือดในสมองโป่งพองและแตกทำให้เลือดออกในสมองและเสียชีวิตได้
  • ตา :  เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรตินา ซึ่งเป็นส่วนของประสาทและหลอดเลือดที่ทำให้สามารถมองเห็นได้ โดยอาจเกิดมีน้ำคั่งหรือมีเลือดออก ทำให้ประสาทตาเสื่อมสมรรถภาพถึงกับตามองไม่เห็นได้
  • หัวใจ :  กล้ามเนื้อหัวใจ หนาขึ้น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบลงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ไต :  เนื้อของจากหลอดเลือดแข็งและตีบลง เนื้อที่การกรองของไตน้อยลงเกิดการคั่งของของเสียในร่างกายมากขึ้น ไตทำงานไม่เป็นปกติ เกิดภาวะไตวายได้

 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

หากพบว่าค่าความดันโลหิตผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้

  • รับประทานอาหารและยาตามแพทย์สั่งและมาพบแพทย์ถ้ามีอาการผิดปกติ แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดและปรับชนิดของยา
  • หลีกเลี่ยงจากความเครียด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาที
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือน้ำตาลมาก
  • จำกัดปริมาณเกลือ
  • งดสูบบุหรี่
  • ตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจวัดความดันโลหิตให้สม่ำเสมอ
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคกรดไหลย้อน GERD

ในปัจจุบันเราจะได้ยินผู้คนพูดถึงเรื่องโรคนี้กันบ่อยมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคกรดไหลย้อน GERD

ในปัจจุบันเราจะได้ยินผู้คนพูดถึงเรื่องโรคนี้กันบ่อยมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม