Header

การผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต คำแนะนำก่อน-หลังที่ควรปฏิบัติ

blank บทความโดย : พว.ชัยภัทร นิบุณวงศ์ แผนกไตเทียม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

วิธีการผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต

มี 3 วิธีหลักด้วยกัน

1.การผ่าตัดโดยใช้เส้นเลือดจริง (Arteriovenous fistula หรือ AVF)
เป็นวิธีการผ่าตัดที่ดีที่สุดสำหรับใช้ในการฟอกเลือด แต่เส้นเลือดของผู้ป่วยจะต้องมีขนาดใหญ่พอจึงจะทำวิธีนี้ได้ และอาจมีผู้ป่วยประมาณ 10 - 20 % ที่ทำแล้วเส้นเลือดไม่โต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขในภายหลัง ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง  โดยการฉีดยาชาบริเวณข้อมือ หรือ ข้อพับแขน ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หลังผ่าตัดประมาณ 2 - 3 เดือนจึงจะใช้ฟอกเลือดได้ (ขึ้นกับขนาดของเส้นเลือดและการบริหารหลังผ่าตัด)


2. การผ่าตัดโดยใช้เส้นเลือดเทียม (Arteriovenous bridge graft หรือ AVBG)

ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดโดยใช้เส้นเลือดของผู้ป่วยเองได้ เช่น มีขนาดเล็กเกินไป หรือ เส้นเลือดอยู่ลึกมาก มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 2  ปีแต่อาจมากกว่านั้นได้ถ้าดูแลเส้นเลือดได้ดี วิธีนี้มีโอกาสติดเชื้อ และเส้นเลือดอุดตันมากกว่าการผ่าตัดโดยใช้เส้นเลือดของผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยอาจจะได้รับการฉีดยาชาบริเวณที่ผ่าตัด หรือดมยาสลบก็ได้ขึ้นกับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชั่วโมง  หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์เส้นเลือดจึงจะเริ่มใช้ฟอกเลือดได้

 

3.การใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรบริเวณคอ (Premanent catheter insertion)

ใช้ในกรณีที่เส้นเลือดผู้ป่วยไม่เหมาะสม หรือ ผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันต่ำ ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ระหว่างรอให้เส้นเลือดที่ผ่าตัดไว้โตพอที่จะใช้ฟอกเลือดได้ วิธีนี้มีโอกาสติดเชื้อ และเส้นเลือดอุดตันได้บ่อยกว่าสองวิธีแรกพอสมควร แต่ถ้าผู้ป่วยสามารถดูแลและรักษาความสะอาดได้ดีก็สามารถใช้ได้หลายปี ( เฉลี่ย 1 - 2 ปี ) ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ทำเสร็จแล้วสามารถใช้ได้ใน 24 ชั่วโมง

 

คำแนะนำก่อนการผ่าตัด

1.หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดและ วัดความดันแขนข้างที่จะทำการผ่าตัด
2.บริหารเส้นเลือดล่วงหน้าโดยการบีบลูกบอลยาง
3.หยุดยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน (ASA) โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) หรือ วาร์ฟาริน (Warfarin) 7 วันก่อนผ่าตัด
 

คำแนะนำหลังการผ่าตัด

1.ล้างแผลทุก 3 วัน ในกรณีที่ฟอกเลือดอยู่แล้ว ให้ทำแผลที่ศูนย์ฟอกไต ถ้าแผลซึมมาก หรือเปียกน้ำ ให้ไปล้างแผลโดยด้วย
2.ระวังแผลเปียกน้ำจนถึงวันนัดตัดไหม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 10 - 14 วัน
3.หลีกเลี่ยงการนอนทับ นอนงอแขนข้างที่ได้รับการผ่าตัด
4.หลีกเลี่ยงการกดทับเส้นเลือดข้างที่ผ่าตัด เช่น การใส่นาฬิกา กำไล หรือเสื้อที่รัดแขน
5.หลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่ผ่าตัด ทำงานหนัก หรือยกของหนัก
6.หลังตัดไหมให้เริ่มบริหารเส้นเลือดได้โดยใช้มือข้างที่ผ่าตัดบีบลูกบอลยาง  นับ 1 - 10 แล้วคลายออก ทุกวัน วันละ 300 - 500 ครั้ง เป็นอย่างต่ำ

 

วิธียืดอายุเส้นเลือดฟอกไต

1.หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับ หรือเสื้อที่แน่น บริเวณเส้นเลือดฟอกไต
2.หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือกดหยุดเลือดอย่างรุนแรงบริเวณเส้นฟอกไต
3.เลี่ยงเลี่ยงการวัดความดัน และเจาะเลือดแขนข้างที่ใช้ฟอกเลือด
4.ล้างมือ และแขนให้สะอาดเสมอ โดยเฉพาะบริเวณเส้นที่ใช้ฟอกเลือด

 

กรุณามาพบแพทย์โดยเร่งด่วน

1.คลำการสั่งของเส้นฟอกไตได้เบาลง หรือเสี่ยงฟู่ที่เส้นฟอกไตหายไป ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
2.มีอาการปวด บวม แดง ร้อน กดเจ็บ บริเวณเส้นเลือดฟอกไต
3.มีอาการปวด บวม หรือชา บริเวณปลายนิ้ว ฝ่ามือและแขน ข้างที่ที่ใช้ฟอกเลือด
4.มีอาการเลือดหยุดไหลยากบริเวณจุดแทงเข็มบนเส้นฟอกไตหลังฟอกเลือดเสร็จ (กดนานเกิน 20 นาที)

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกไตเทียม

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - ศุกร์ เวลา 06.00-11.00 / 11.00-16.00 / 16.00-21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1702

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตวายเรื้อรัง อันตรายอย่างไร ?

ไตวายเรื้อรัง คือ ภาวะที่การทำงานของไตค่อย ๆ เสื่อมลงต่อเนื่อง เป็นเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดจากการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ขาดการรักษาอย่างจริงจัง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตวายเรื้อรัง อันตรายอย่างไร ?

ไตวายเรื้อรัง คือ ภาวะที่การทำงานของไตค่อย ๆ เสื่อมลงต่อเนื่อง เป็นเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดจากการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ขาดการรักษาอย่างจริงจัง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม