Header

ปวดหัวจี๊ด ไมเกรน VS อากาศร้อน ปวดแบบไหน…เรียกไมเกรน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

บทความ ปวดหัวจี๊ด ปวดแบบไหน เรียกไมเกรน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หน้าร้อนมาแล้ว…โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ที่อุณหภูมิอากาศในประเทศไทย สูงขึ้นมาก  ๆ หลายคนไม่ชอบอากาศร้อน และมีโรคประจำตัวที่มักจะกำเริบ เพราะอากาศร้อน ก็ค่อนข้างจะกังวลเป็นพิเศษ เช่น โรคไมเกรน ยิ่งอากาศร้อนจัด ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังและดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้ “ไมเกรนกำเริบ” บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก “ไมเกรน” และการดูแลตัวเองกัน

 

ไมเกรน เกิดจากอะไร?

“ไมเกรน (Migraine)” เกิดจากความผิดปกติชั่วคราว ของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้เรารู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน สายตาแพ้แสง ปวดหัวตุ๊บ ๆ และอาการปวด อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ในบางรายไม่สามารถทำงานได้ จากการที่ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมอง มีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหัว ทั้งข้างเดียวและสองข้าง ต้องทานยาและนอนพัก เพื่อให้อาการไมเกรนคลาย และกลับคืนสู่สภาวะปกติ

 

อาการปวดหัวไมเกรน

ผู้เป็นไมเกรนมักพบว่า ตัวเองจะปวดหัวตุ๊บ ๆ จากหลายบริเวณ เช่น ที่ขมับ ร้าวมากระบอกตาหรือท้ายทอย รวมถึงคลื่นไส้ อาเจียน ทั้งจากการแพ้แสงแดดร้อน แพ้เสียงดังจัด บางคนก็สัมพันธ์กับการมีรอบเดือน หรืออาจจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ ที่เรียกว่า “อาการออร่า” (migraine aura) โดยตัวผู้ป่วยจะเห็นแสงไฟสีขาว คือ อาการเตือนก่อน จะเริ่มมีอาการปวดหัว

 

 

“ไมเกรน VS อากาศร้อน”

การอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เกิดไมเกรนได้ง่ายขึ้น เพราะ ตัวของผู้ป่วยซึ่งเป็นไมเกรนอยู่แล้ว เจอกับภาวะของอากาศที่ร้อนจัดเป็นตัวกระตุ้น จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

เช็คลิสต์เบื้องต้นว่า “คุณเป็นไมเกรนหรือไม่ ?” 

  • ปวดหัวข้างเดียว (หรือสองข้าง), ปวดมาก, และ ทำงานไม่ไหว
  • ปวดหัวร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยสังเกตตัวเองว่า เจอแสงแดดจัด หรือเสียงดัง หรือมีปัจจัยต่างๆมาเป็นตัวกระตุ้น
  • ปวดหัวต่อเนื่องนาน 4 ชั่วโมง ถึง 1 - 3 วัน

 

ตัวกระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ

  • อากาศร้อนจัด เจอแสงแดดจ้า และอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนเป็นเวลานาน (ควรเลี่ยงแสงแดดจัด ช่วงเวลา 9.00 - 16.00 น.)
  • หากต้องออกไปเจออากาศร้อนจัด ใช้ผ้าเย็นประคบบริเวณหน้าผากหรือต้นคอ เพื่อบรรเทาอาการ อาจพกร่ม สวมหมวก หรือแว่นกันแดด แต่งกายให้รัดกุม เมื่อต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัด
  • การดื่มน้ำน้อย ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ควรพกน้ำขวดๆเล็กจิบ ช่วยระบายความร้อน
  • กลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นน้ำมันก๊าด หรือกลิ่นสารเคมี
  • มลพิษทางเสียง เช่น เสียงดังจัด ๆ เป็นเวลานาน
  • ร่างกายเหนื่อยล้า จากภาวะเครียดหรือความวิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือบางรายอาจจะเป็นร่วมกับโรคออฟฟิศซินโดรม 
  • การรับประทานอาหารที่มีคาเฟอีน ผงชูรส ชีส แอลกอฮอล์
  • ช่วงหลังจากคลอดบุตร ความถี่ของอาการปวดไมเกรนจะสูงขึ้น
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ติดต่อกันนานเกิน 3 - 4 วัน ควรปรึกษาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการและรักษาต่อเนื่อง

 

การรักษาอาการปวดหัวไมเกรน

โรคไมเกรน อาจรักษาได้ไม่หายขาด แต่สามารถดูแลตนเอง เพื่อบรรเทาอาการปวด และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวัน

1. ปวดหัวไม่รุนแรง 

ถ้าอาการปวดหัวไม่รุนแรง ยาที่สามารถรับประทานได้ คือ ยาพาราเซตามอล เป็นยาพื้นฐานที่บรรเทาปวด จากสาเหตุต่าง ๆ ได้ และลดปวดศีรษะจากไมเกรนแบบไม่รุนแรงได้

 

2. ปวดหัวรุนแรง

ถ้าปวดหัวรุนแรงมาก แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด และให้ยาตามอาการปวดได้ โดยแพทย์อาจเลือกใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen, ibuprofen ซึ่งเป็น NSAIDs ที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว เหมาะกับโรคไมเกรน แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้ อาจก่อความระคายเคืองกระเพาะอาหาร แนะนำว่า ให้กินยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที แต่ไม่ควรหาซื้อยากินเอง การใช้ยาควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อความเหมาะสมกับคนไข้ตามแต่ละบุคคล 

การรับประทานยาแก้ปวด สามารถมีผลข้างเคียงต่อตับและไตได้ ผู้ป่วยจึงควรระมัดระวัง รับประทานยาภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่รับประทานยาเกิน 4 – 10 เม็ดต่อเดือน ภายใต้คำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลร่างกายรับหน้าร้อน ของวัยเก๋า

ฤดูร้อนวนมาอีกครั้ง บรรยากาศไปเที่ยวทะเลและวันพักผ่อนชิล ๆ แต่ก็แฝงด้วยความร้อนของอากาศ ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ โรงต่าง ๆ อาจจะตามมาได้ใน “ผู้สูงวัย”

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแลร่างกายรับหน้าร้อน ของวัยเก๋า

ฤดูร้อนวนมาอีกครั้ง บรรยากาศไปเที่ยวทะเลและวันพักผ่อนชิล ๆ แต่ก็แฝงด้วยความร้อนของอากาศ ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ โรงต่าง ๆ อาจจะตามมาได้ใน “ผู้สูงวัย”

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาหาร 5 อย่าง ควรหลีกเลี่ยง ในหน้าร้อน

การทานอาหารหน้าร้อน ไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สบาย หรือเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น กระหายน้ำมากขึ้น

อาหาร 5 อย่าง ควรหลีกเลี่ยง ในหน้าร้อน

การทานอาหารหน้าร้อน ไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สบาย หรือเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น กระหายน้ำมากขึ้น

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม