กินน้ำแข็งหน้าร้อนเสี่ยงท้องเสีย
อากาศร้อน ใคร ๆ ก็อยากกินน้ำแข็ง แต่อย่าลืมนึกถึงเรื่องความสะอาด ก่อนที่จะรับประทานเข้าไป
เพราะในน้ำแข็งอาจจะมีเชื้อโรคแฝงอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด หรือ ท้องเสียได้
น้ำแข็งที่มีวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ และได้มาตรฐาน GMP จะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยผู้บริโภคอาจจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ หากน้ำแข็งละลาย จะต้องใส ไม่มีตะกอนขาวขุ่นๆ อยู่ก้นแก้วจากการรับประทาน
แนะนำให้ทุกท่านเลือกซื้อน้ำแข็ง ที่ผ่านการผลิตปลอดภัย หรือ อาจจะเลี่ยงการซื้อน้ำแข็งจากข้างนอก ด้วยการทำน้ำแข็งบริโภคเอง โดยใช้น้ำต้มสุก เพื่อหลีกเลี่ยง อาการท้องเสียและปัจจุบันมีเครื่องทำน้ำแข็งสำเร็จรูป ที่สามารถทำน้ำแข็งรับประทานเองที่บ้านได้แบบง่ายๆ
น้ำแข็งไม่สะอาดทำให้เกิดโรค ?
หากบริโภคน้ำแข็งที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่าง ๆ จะทำให้เกิดอาการ เกิดการติดเชื้อและเกิดโรค เช่น ท้องเสียอาการรุนแรงตามมา
หากเกิดอาการท้องเสียควรดูแลตัวเองอย่างไร ?
อาการท้องเสียมีอาการไม่มาก
- ผู้ป่วยควรถ่ายอุจจาระออกมาจนหมด เลี่ยงการรับประทานยาหยุดการถ่าย เพราะจะทำให้ของเสีย หรือเชื้อโรคจะยังคงสะสมอยู่ในลำไส้
- ระหว่างที่มีอาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีผลิตภัณฑ์นมเป็นส่วนประกอบ งดอาหารรสจัดและของหมักดอง
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก เพื่อช่วยระบบการทำงานของกระเพาะและลำไส้ให้ทำงานไม่หนัก
- หากมีอาการถ่ายบ่อย จนร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย
- หากรับประทานคาร์บอน ควรเว้นระยะห่าง 2 ชั่วโมง จากการรับประทานยาชนิดอื่น เช่น ยาฆ่าเชื้อ เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปดูดซึมยาอื่น ๆ
- หลังจากหายจากอาการท้องเสียแล้ว การรับประทานอาหารซึ่งมีจุลินทรีย์ชนิดดี เช่น โยเกิร์ต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีโปรไบโอติก เพื่อช่วยให้เชื้อต่าง ๆ ในลำไส้คืนสมดุลได้เร็วขึ้น
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก ใหม่ ย่อยง่าย เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ถูกสุขอนามัย
อาการท้องเสียรุนแรง
- ผู้ที่มีอาการท้องเสียรุนแรง ควรต้องรีบมาพบแพทย์ทันที เช่น สังเกตว่าถ่ายหนัก ไม่หยุด จนเพลีย อุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรงร่วม
- มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลียมาก หรือมีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้สูงอายุ ไม่ควรรักษาเอง เพราะถ้าอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- ส่วนใหญ่อุจจาระร่วง จะหายเองได้ภายใน 2 - 3 วัน และรับประทานอาหารเหลวให้มากกว่าปกติ (ไม่ควรให้ยาระงับการถ่ายอุจจาระ)
- เพื่อป้องกันการขาดน้ำและร่างกายอ่อนเพลียเกินไป แนะนำให้รับประทาน น้ำข้าว โจ๊ก น้ำแกงจืด สารละลายน้ำตาล เกลือแร่โออาร์เอส โดยให้รับประทานมากเท่าที่ต้องการ หรือรับประทานทุกครั้งที่ถ่ายเหลว
- ถ้ารักษาเบื้องต้นแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น เช่น อาเจียน ถ่ายบ่อยทุก 2 ชั่วโมง อ่อนเพลีย หมดแรง มีไข้ กินอาหารไม่ได้ ตาลึกโหล ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันอาการหมดสติ
อาการท้องเสีย ที่ผู้ป่วยขับถ่ายที่มากเกินไป อาจจะทำให้สมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ หากร่างกายขาดน้ำและชดเชยไม่ทัน จะทำให้ความดันต่ำลง ปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้เกิดหน้ามืด วูบ หรือช็อค หมดสติได้
ดังนั้นเมื่อรู้ว่า ถ้าตัวเองท้องเสีย และมีอาการถ่ายอุจจาระมาก ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อให้แพทย์ตรวจรักษา และประเมินการให้ยา เพื่อช่วยลดอาการท้องเสีย ให้บรรเทาจนดีขึ้น
บทความโดย :
โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา
สามารถติดต่อสอบถามเราได้
Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv
หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แผนกอายุรกรรม
สถานที่
อาคาร A ชั้น G
เวลาทำการ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 4011
แผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
สถานที่
อาคาร A ชั้น 2
เวลาทำการ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 1211