บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด
บางครั้ง อาการป่วยจากโรคบางโรค อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ พังผืด หรือหมอนรองกระดูกบาดเจ็บ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ปกติ องศาการเคลื่อนไหวถูกจำกัด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและสภาพจิตใจ
ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เราให้บริการในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและปอดและระบบประสาทดังนี้
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด
- ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งอาการปวดแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น ปวดคอบ่าจากการนั่งทำงานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน (office syndrome) ปวดหลังส่วนล่าง ข้อเท้าพลิก หกล้ม ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา คอตกหมอน ปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
- ผู้ที่มีปัญหาองศาการเคลื่อนไหวลดลง เช่น ข้อไหล่ยึดติด ข้อเข่ายึดติด ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิตประจำวัน หลังภาวะกระดูกหัก หรือด้วยสาเหตุอื่น ๆ
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดินและการเคลื่อนย้ายตนเอง เช่น กระดูกขาหัก ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือข้อสะโพก
- ผู้ป่วยทางโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น มีปัญหาเสมหะคั่งค้าง ไอขับเสมหะลำบาก
- ผู้ป่วยที่มีความทนทานของร่างกายลดลง หลังหายป่วยจากโรค เช่น ภาวะโพสต์โควิด (Post Covid) หรือ ลองโควิด (Long Covid)
- มารดาที่ตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การฝึกหายใจ การออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อขา การนวดคลายบริเวณหลังส่วนล่าง และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
- มารดาหลังคลอดบุตรที่มีปัญหาในการให้นมบุตร เช่น มารดาที่มีภาวะท่อน้ำนมอุดตัน
การบริการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
การลดปวด
- การลดปวดด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่ เครื่อง Shockwave, เครื่องอัลตร้าซาวด์, เครื่องเลเซอร์, การกระตุ้นไฟเพื่อลดปวด, การวางประคบร้อน/เย็น
- การลดปวดด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การนวด การดัดดึงข้อต่อ
หมายเหตุ : อัลตร้าซาวด์ทางกายภาพบำบัด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรักษา โดยจะเป็นคนละเครื่องมือกับอัลตร้าซาวด์ที่แพทย์ใช้ในการตรวจดูอวัยวะภายใน
การเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- การขยับดัดดึงข้อต่อเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การหัดเดิน และการสอนใช้กายอุปกรณ์
- การหัดเดินในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหัก หรือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรง รวมทั้งสอนการขึ้นลงบันได เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
- การสอนใช้กายอุปกรณ์เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เช่น การสอนใช้เฝือกพยุงลำตัว อุปกรณ์พยุงเอว รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลรักษากายอุปกรณ์อย่างถูกวิธี
การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
- การสอนการออกกำลังกายตั้งแต่ก่อนผ่าตัด การฝึกหายใจ รวมถึงแจ้งข้อห้ามข้อควรระวังหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
- การฝึกเคลื่อนย้ายตนเองอย่างถูกวิธีหลังผ่าตัด เช่น การพานั่ง พายืน และพาเดิน
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บต่าง ๆ
- การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
- การขยับข้อต่อเพื่อรักษาองศาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
มารดาทีมีปัญหาการให้นมบุตร
- การนวดกระตุ้นต่อมน้ำนม การทำอัลตร้าซาวด์บริเวณเต้านม และการวางผ้าร้อน เพื่อระบายน้ำนมที่คั่งค้างและทำให้น้ำนมสามารถระบายออกได้มากขึ้น
- การสอนท่านวดกระตุ้นน้ำนมให้มารดาไว้ปฏิบัติเองเมื่อมีอาการ
- การให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อให้นมบุตร
การให้บริการทางระบบหัวใจและปอด
การฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสมหะคั่งค้าง
- การจัดท่าระบายเสมหะ
- การเคาะปอด สั่นปอด
- การดูดเสมหะ
- การสอนการไอ และสอนการหายใจเพื่อระบายเสมหะด้วยตนเอง
การฟื้นฟูสมรรถภาพของระบบหัวใจและปอด
- การฝึกหายใจเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้หายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของระบบหัวใจและปอด
การให้บริการทางระบบประสาท
- การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในระยะเฉียบพลัน
- การขยับข้อต่อและออกกำลังกาย เพื่อคงองศาการเคลื่อนไหวและคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การฝึกหายใจเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ
- การฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
- การฟื้นฟูผู้ป่วยเส้นประสาทส่วนปลายบาดเจ็บ
"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"
คลิก เพื่อขอคำปรึกษา
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
สถานที่
อาคาร B ชั้น 2
เวลาทำการ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 1302