Header

Shockwave ต่างกับ Ultrasound และ Laser อย่างไร

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

Shockwave ต่างกับ Ultrasound และ Laser อย่างไร

Shockwave

เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดคลื่นกระแทก คล้ายกับการกดนวดด้วยมือ แต่ถ้ากล้ามเนื้อที่มีปัญหาอยู่ลึก การกดด้วยมือจะต้องออกแรงกดมากเพื่อกดให้แรงลงไปถึงกล้ามเนื้อนั้น ๆ แรงกดอาจส่งลงไปไม่ถึง หรืออาจทำให้กล้ามเนื้อที่อยู่ตื้นกว่าบอบช้ำได้ ซึ่งเครื่อง Shockwave สามารถส่งคลื่นกระแทกได้ลึก และมีความถี่ที่มากกว่าการกดด้วยมือ ดังนั้นโอกาสที่กล้ามเนื้อที่อยู่ตื้นจะบอบช้ำจึงมีน้อยกว่า และคลื่น Shockwave มีผลทางชีววิทยา (Biological effect) กระตุ้นให้เกิดการซ่อมสร้างหลอดเลือดใหม่ กระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปบริเวณนั้นมากขึ้น ในเลือดมีสารอาหารและออกซิเจน การที่เลือดไหลเวียนไปที่เนื้อเยื่อมากขึ้นจึงเป็นการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองเร็วขึ้น

โดยปกติใยกล้ามเนื้อจะหดและคลายตัว แต่ถ้าใช้งานกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ อาจทำให้ใยกล้ามเนื้อหดตัวค้าง ไม่คลาย เกิดเป็นปม หรือ ก้อนในกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ดีเกิดการคั่งค้างของของเสีย ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการปวดตามมา การใช้เครื่อง Shockwave เครื่องจะส่งคลื่นกระแทกทำให้กล้ามเนื้อที่เป็นปมเป็นก้อนนิ่มลงและคลายตัวได้ง่ายขึ้น และหากรักษาบริเวณเส้นเอ็นหรือผังผืดยังช่วยกระตุ้นการปล่อย Growth factor ทำให้เกิด fibroblast proliferation เป็นการกระตุ้นการซ่อมสร้างเส้นเอ็น และผังผืดให้เร็วยิ่งขึ้น เช่น โรครองช้ำ มักจะมีการฉีกขาดเล็ก ๆ (micro-trauma) ของผังผืดใต้ฝ่าเท้า การใช้เครื่อง Shockwave จึงเป็นทางเลือกในการรักษาโรคนี้

Shockwave โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

Ultrasound และ Laser คืออะไร

โดยปกติเราจะคุ้นเคยกับกระเป๋าน้ำร้อน ลูกประคบ หรือ แผ่นประคบร้อน (hot pack) ซึ่งสามารถใช้ในการคลายกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมสร้างให้เร็วขึ้นได้ เพียงแต่ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นให้ความร้อนในระดับตื้น ไม่เกิน 1 - 2 cm. ถ้าหากกล้ามเนื้อที่มีปัญหาอยู่ลึกเกินกว่านั้น จะไม่สามารถส่งความร้อนลงไปถึงได้ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่ทำให้เกิดความร้อนลึก เช่น Ultrasound (US), Laser, Short wave diathermy, Microwave diathermy เป็นต้น

 

ในบทความนี้จะขออธิบายโดยสรุปเฉพาะ Ultrasound และ Laser

Ultrasound และ Laser มีจุดประสงค์ในการรักษาเหมือนกันคือ ทำให้เกิดความร้อนในเนื้อเยื่อชั้นลึก ความร้อนจะทำให้เนื้อเยื่อคลายตัว และเพิ่มการไหวเวียนของเลือด กระตุ้นการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่อให้เร็วขึ้น แต่สิ่งที่ต่างกันของ 2 ตัวนี้ คือ กลไกที่ทำให้เกิดความร้อน และผลทางชีววิทยาที่เกิดจากกลไกนั้น ๆ

Ultrasound เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดคลื่นเหนือเสียง ซึ่งเป็นพลังงานกลส่งผ่านไปในเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนสะสมเป็นความร้อนขึ้นในเนื้อเยื่อ

Laser จะเป็นเครื่องที่ปล่อยคลื่นแสงทำให้กระตุ้นเนื้อเยื่อให้เกิดผลทางชีววิทยาและสมสมคลื่นแสงจนเกิดเป็นความร้อน ความยาวคลื่นของ Laser จะอยู่ในช่วงแสงที่ตามองเห็น (Visible) จนถึง Infrared ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดของเครื่อง

 

อธิบายถึงตรงนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยได้รับการรักษาด้วย Ultrasound หรือ Laser อาจสงสัยว่าทำไมบางครั้งขณะรักษาถึงไม่รู้สึก อุ่น ร้อน หรือแม้กระทั่งไม่รู้สึกอะไรเลย !!! นั่นเป็นเพราะ Ultrasound และ Laser สามารถปรับค่าต่าง ๆ ได้ ซี่งต้องปรับเลือกให้ค่าต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับอาการและพยาธิสภาพของคนไข้ ณ ตอนนั้น อย่างเช่น ถ้าเพิ่งบาดเจ็บมาใหม่ ๆ หรือมีอาการอักเสบจะไม่สามารถปรับค่าเครื่องมือจนถึงกับรู้สึกอุ่นได้ เนื่องจากถ้ามีการอักเสบ หรือ เพิ่งบาดเจ็บใหม่ ๆ แล้วใช้ความร้อนอาจทำให้อักเสบรุนแรงขึ้น หรืออาการปวดเป็นแย่ลงได้ แต่ทุกท่านไม่จำเป็นต้องกังวลว่า ถ้าไม่อุ่น ไม่ร้อน จะไม่ได้รับผลการรักษาอย่างเต็มที่ เช่น ถ้าใช้เครื่อง Laser ผลทางชีววิทยาของเครื่อง Laser เกิดขึ้นตั้งแต่ใช้เครื่องแม้จะเป็น dose ต่ำ ๆ ซึ่งเหมาะกับบริเวณที่มีการอักเสบหรือบาดเจ็บใหม่ ๆ เพียงแต่พลังงานที่ให้ไปไม่ได้มากจนเกิดการสะสมเป็นความร้อน จนเรารู้สึกได้เท่านั้นเอง และในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังที่ต้องใช้ dose ที่สูงขึ้น เพื่อให้เกิดการสะสมความร้อน เเต่ละเครื่องมือจะให้ความรู้สึกในการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น US อาจจะรู้สึกตื้อ ๆ หน่วง ๆ หรือแม้กระทั่งไม่รู้สึกอะไรเลย ส่วน Laser ถ้าเป็นเครื่อง low laser power จะไม่รู้สึกอะไรเลยขณะรักษา แต่ถ้าเป็นเครื่อง High power laser อาจจะรู้สึกอุ่นได้

 

การเลือกใช้เครื่องมือและ dose ต่าง ๆ ในการรักษาเป็นสิ่งที่สำคัญ และละเอียดอ่อน เครื่องมือต่าง ๆ มีข้อห้าม และข้อควรระวังแตกต่างกัน ดังนั้นควรปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อพิจารณาการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับอาการ และพยาธิสภาพของโรค และขณะทำการตรวจ หรือรักษา ควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ เช่น ถ้าใช้ High power laser รักษาอาการปวดเรื้อรัง ควรจะรู้สึกอุ่นเล็กน้อยหรืออุ่นสบาย หากรู้สึกอุ่นจัด ร้อน หรือแสบผิวหนังควรแจ้งผู้รักษาทันที เนื่องจากอาจสะสมความร้อนมากเกินไปจนเกิดแผลพุพองได้ หรือในการทำ Ultrasound บางตำแหน่งที่ใกล้กับปุ่มกระดูก อาจเกิดการสะสมความร้อนที่เยื่อหุ้มกระดูกจนเกิดอาการปวดขึ้นกระทันหันได้

โดยสรุป คือ Shockwave เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดคลื่นกระแทก แต่ Ultrasound และ Laser เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความร้อนในเนื้อเยื่อชั้นลึก ซึ่งทั้ง 2 แบบสามารถทำให้เนื้อเยื่ออ่อนตัวลงและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อกระตุ้นการซ่อมสร้างได้เหมือนกัน

ดังนั้น Shockwave จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา ทั้งนี้ทั้งนั้นเราไม่สามารถบอกได้ว่าเครื่องมือไหนดีที่สุด เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของคนไข้ เช่น บางท่านชอบ Shockwave บางท่านไม่ชอบเพราะเจ็บ และยังขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายคนไข้ด้วย ไม่มีรูปแบบการรักษาหรือเครื่องมือใดดีที่สุด ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของโรคและการตอบสนองของร่างกายต่อการรักษานั้น ๆ ของแต่ละบุคคล นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมมีการรักษาทางเลือกมากมาย และการฝังเข็มหรือครอบแก้วก็เป็นหนึ่งในทางเลือกในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อด้วย

 

หากต้องการปรึกษาแนวทางการรักษาด้วยเครื่อง Shock wave, Ultrasound หรือ Laser สามารถพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือนักกายภาพบำบัดที่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ สามารถติดต่อปรึกษาเพิ่มเติม หรือนัดจองในระบบได้ที่ Line ID: psuv_pt (ปรึกษาแพทย์ก่อนรักษา ไม่มีค่าใช้จ่าย!!!)

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1302

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหู เกิดจากอะไร? สาเหตุและวิธีการรักษา

ค้นหาสาเหตุของอาการปวดหู พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาและป้องกัน เพื่อสุขภาพหูที่ดี

ปวดหู เกิดจากอะไร? สาเหตุและวิธีการรักษา

ค้นหาสาเหตุของอาการปวดหู พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาและป้องกัน เพื่อสุขภาพหูที่ดี