Header

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

17 มีนาคม 2566

นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

รู้จักการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

- การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้อง เข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ และถ่ายทอดเป็นภาพออกมาให้เราได้เห็นภายในอวัยวะที่เราสนใจ

- การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะสอดกล้องผ่านเข้าปากทวารหนัก เพื่อทำการตรวจลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อประเมินว่ามีรอยโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการของผู้ป่วยหรือไม่

ประโยชน์ที่สามารถได้จากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือ 

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ และหากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ ซึ่งมีความเสี่ยงในการ กลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต จะสามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ใครบ้างที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

- เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่า จะมีรอยโรคอยู่ในลำไส้ใหญ่และจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้อง

- เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำตั้งแต่อายุ 50-75 ปี เป็นต้นไป หรือมีอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก โดยไม่พบสาเหตุ นน.ลดเยอะ ร่วมกับมีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

- เริ่มต้นจากการตรวจและประเมินโดยแพทย์ ว่ามีข้อบ่งชี้ และสภาวะของผู้ป่วยมีความเหมาะสม ในการที่จะรับการตรวจได้อย่างปลอดภัย

- การเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้อง เพื่อจะได้ได้ทำการประเมินได้อย่างเหมาะสม ไม่มีอุจจาระหรือกากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้ ซึ่งอาจรบกวนการตรวจวินิจฉัย โดยแนะนำให้ 2 วันก่อนการตรวจ ทานอาหารย่อยง่าย งดผลไม้ที่มีกากใย

- 1 วันก่อนการตรวจ รับประทานอาหารเหลวใส ได้แก่ ซุปใส น้ำหวาน หรือน้ำผักผลไม้ที่แยกกากแล้ว

- ผู้ป่วยจะได้รับการสั่งยาระบาย เพื่อเตรียมลำไส้ ขอให้รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ

- งดน้ำ อาหารและเครื่อง ดื่มทุกชนิดก่อนมารับการตรวจอย่างน้อย 6 -8 ชั่วโมง

- แจ้งโรคประจำตัว, ยาที่รับประทานประจำ และยาที่แพ้ ให้แพทย์ทราบเมื่อมาถึงรพ.

ขั้นตอนเมื่อมาถึงศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร

- ผู้ป่วยจะได้รับการวัดสัญญาณชีพ และประเมินอาการก่อนทำการส่องกล้อง

- ขณะเข้ารับการตรวจ จะได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บปวดระหว่างส่องกล้อง

- แพทย์จะใส่กล้องเข้าทางทวารหนัก เพื่อทำการตรวจประเมิน ซึ่งกระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที

- ภายหลังเสร็จสิ้นการตรวจ ผู้ป่วยอาจยังมีอาการง่วงซึม จากยาระงับความรู้สึก จะได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว สามารถกลับบ้านหรือย้ายขึ้นห้องพักผู้ป่วยได้

คำถามที่พบบ่อย

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เจ็บไหม ต้องฉีดยาให้หลับ?

- การส่องกล้อง ไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผล แต่ก็อาจมีความไม่สุขสบายระหว่างกระบวนการส่องกล้องได้ แต่จะมีการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อป้องกันความไม่สุขสบายขณะทำ 

มาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต้องนอนร.พ.?

- โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถเข้ารับการตรวจและกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักรักษาตัว อย่างไรก็ตามผู้ป่วย ควรมีญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย เนื่องจากหากได้รับยาระงับความรู้สึกแบบฉีด ต้องเลี่ยงการขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ

- ทั้งนี้ในบางรายที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือด้วยสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาให้สังเกตอาการต่อในรพ. โดยพิจารณาเป็นกรณีไป

บทความโดย :  นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ศัลยแพทย์กระดูก

แผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ

นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

​อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

แผนกอายุรกรรม

พญ.ธัญวลัย เลิศวนิชกิจกุล

อายุรศาสตร์โรคไต

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ตรวจง่าย วินิจฉัยโรคชัดเจน ไม่น่ากลัว

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank แผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ตรวจง่าย วินิจฉัยโรคชัดเจน ไม่น่ากลัว

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank แผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

การผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแผลเล็ก ปวดแผลน้อยกว่าผ่าปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้น และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

การผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแผลเล็ก ปวดแผลน้อยกว่าผ่าปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้น และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม