Header

ความหมายของค่าความดันโลหิต

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ค่าความดันโลหิต_ความหมายของค่าความดันโลหิต - วิธีอ่านค่าความดันที่ถูกต้อง

เชื่อว่าเกือบทุกคน คงเคยผ่านการวัดความดันโลหิตมาบ้างใช่มั้ยล่ะคะ ไม่ว่าจะไปโรงพยาบาล คลินิก หรือซื้อเครื่องวัดความดันมาตรวจวัดเองที่บ้าน แล้วเคยสงสัยไหมคะว่า ค่าความดันคืออะไร วัดไปทำไม แล้วความดันโลหิตต่ำ-สูงอันตรายแค่ไหน เรามาหาคำตอบกันได้เลยค่ะ
ค่าความดันโลหิตบ่งบอกถึงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของคุณ การรู้วิธีอ่านค่าความดันซีสโตลิกและไดแอสโตลิกจะช่วยให้คุณรักษาสุขภาพได้ดีขึ้น

ค่าความดันโลหิต คืออะไร?

ความดันโลหิต คือ ค่าความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยที่เมื่อหัวใจบีบตัว เราจะได้ค่าความดันตัวบน และเมื่อหัวใจคลายตัว เราจะได้ค่าความดันตัวล่าง โดยที่ค่าความดันปกติ เฉลี่ยโดยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งค่าความดันเหล่านี้วัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดัน

ค่าความดันโลหิตแบ่งออกเป็น 2 ค่า คือ

  • ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว
  • ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือค่าความดันของเลือดที่ขณะที่หัวใจคลายตัว

โดยในประเทศไทยกำหนดค่าความดันโลหิตปกติคือค่าความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 140 และตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท โดยค่าความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

  • ระดับที่ 1 ตัวบนเกิน 140 มิลลิเมตรปรอทหรือตัวล่างเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท
  • ระดับที่ 2 ตัวบนเกิน 160 มิลลิเมตรปรอทหรือตัวล่างเกิน 100 มิลลิเมตรปรอท
  • ระดับที่ 3 ตัวบนเกิน 180 มิลลิเมตรปรอทหรือตัวล่างเกิน 110 มิลลิเมตรปรอท

ทั้งนี้ การวัดค่าความดันโลหิตเพียงครั้งเดียวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องวัดซ้ำ 2 – 3 ครั้ง และตรวจติดตามเป็นระยะเพราะค่าความดันโลหิตเป็นตัวเลขที่มีปัจจัยหลายอย่างมากระทบได้ง่าย เช่น ความเหนื่อย ความเครียดหรือกังวล เป็นต้น

 

การเตรียมตัวเพื่อวัดความดันโลหิต

  • ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ กาแฟ ไม่ผ่านการออกกำลังกาย และไม่มีภาวะทางอารมณ์ เช่น โมโห โกรธ เครียด เป็นต้น
  • พักก่อนทำการตรวจวัดความดันเป็นเวลา 5-15 นาที
  • ควรปัสสาวะก่อนทำการวัดความดัน
  • ไม่ควรพูดคุยมากเกินไปในขณะที่ทำการวัดความดัน

ความดันโลหิตต่ำ

เป็นภาวะที่ความดันเลือดซิสโตลิกต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ทั้งหญิงชาย ไม่ว่าอายุเท่าใดก็สามารถเป็นได้ ส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน วิตามินซี หรือ เลือดผิดปกติ เช่นภาวะโลหิตจาง โดยภาวะเหล่านี้จะมีทั้งที่สามารถหายเองได้กับต้องได้รับการรักษา

อาการของความดันโลหิตต่ำ

ปกติแล้วความดันโลหิตต่ำจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากอยู่ในภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นชั่วคราว ดังนี้

  • เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมกะทันหัน
  • ใจเต้นแรง ใจสั่น
  • ตาพร่า
  • เบลอคลื่นไส้
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • กระหายน้ำ

นอกจากนี้ยังมีอาการหน้ามืดเมื่อมีการเปลี่ยนท่านั่ง หรือท่ายืนกะทันหัน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ เช่น หลีกเลี่ยงการนอนนาน ๆ การลุก หรือนั่งอย่างรวดเร็ว อาบน้ำอุ่นจัด เป็นต้น

 

การตรวจสุขภาพด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

การดูแลร่างกายเมื่อความดันโลหิตต่ำ

  • หากมีอาการควรนั่งพัก หรือนอนลงทันทีโดยพยายามยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง
  • หลีกเลี่ยงการยืน หรือนั่งนาน ๆ
  • หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในเวลากลางคืน และพยายามลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้เพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการไขว้ขา หรือบิดตัว เป็นต้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนดึก เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตต่ำลง

ความดันโลหิตสูงคืออะไร

โดยปกติแล้วหากวัดค่าความดันโลหิตคนปกติจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งประกอบด้วยค่าความดันจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ (ความดันช่วงบนและช่วงล่าง) แต่หากวัดแล้วได้ค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปถือว่ามีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องคัดกรองทันทีอีก 1-2 ครั้ง เพื่อยืนยัน  ปัจจัยที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง อารมณ์ตื่นเต้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมี    คาเฟอีน เป็นต้น อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงคือ

  • อาการเวียนศีรษะ
  • ตึงต้นคอ
  • ใจสั่น
  • อ่อนเพลีย
  • ตาพร่ามัว
  • อาจมีเลือดกำเดาไหลร่วมด้วย

สาเหตุของการเกิดความดันโลหิตสูง

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตรวจไม่พบสาเหตุ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่ เช่น โรคไต เนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต  หรือเกิดจากพฤติกรรมหรือสาเหตุเสี่ยง ได้แก่

  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

 ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจประเมิน และรักษาต่อไป

เป็นความดันโลหิตสูงแล้วต้องทำอย่างไร

  • บริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีผลดีต่อความดันโลหิต คือทานผักผลไม้ ธัญพืช และลดทานเนื้อสัตว์ น้ำตาล ของหวาน และอาหารที่มีรสเค็ม
  • งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ดูแลสุขภาพจิตของตนเองไม่ให้เครียดมากจนเกินไป

การป้องกันและดูแลตนเองเมื่อเกิดความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตเป็นภาวะที่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย โดยที่ค่าความดันปกติ เฉลี่ยโดยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งค่าความดันเหล่านี้วัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดัน ถ้าหากเกิดอาการผิดปกติหรือมีค่าความดันผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพราะการรักษาตั้งแต่มีอาการในระยะแรกมักมีผลลัพธ์การรักษาที่ดี


 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

แผนกอายุรกรรม

นพ.ธราวุฒิ เมฆธารา

อายุรศาสตร์ทั่วไป

แผนกอายุรกรรม

พญ.ศิริพรรณ คุณมี

อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนัก และในระยะยาวทำให้เส้นเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ความดันโลหิตสูง สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง

ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนัก และในระยะยาวทำให้เส้นเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ได้แก่ โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นอนมากเกินไปส่งผลเสียอย่างไร? รู้จักผลกระทบของการนอนมากเกิน

การนอนหลับมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่ม และความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีปรับปรุงการนอนให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นอนมากเกินไปส่งผลเสียอย่างไร? รู้จักผลกระทบของการนอนมากเกิน

การนอนหลับมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่ม และความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีปรับปรุงการนอนให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือใส่ขดลวดค้ำยัน PERCUTANEOUS CORONARY INTERVENTION

การตรวจสวนหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งสามารถแสดงให้เห็นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจวัดความดันภายในส่วนต่าง ๆ ของหัวใจได้

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือใส่ขดลวดค้ำยัน PERCUTANEOUS CORONARY INTERVENTION

การตรวจสวนหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งสามารถแสดงให้เห็นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจวัดความดันภายในส่วนต่าง ๆ ของหัวใจได้

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม