พ.ร.บ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ เป็นสิทธิประโยชน์ที่ควรรู้
พ.ร.บ. คือ
พ.ร.บ. คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก
หากไม่ทำจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายจราจร และมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยต้องติดเครื่องหมายที่รถให้เห็นอย่างชัดเจนมิฉะนั้นก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
พ.ร.บ. คุ้มครองอย่างไร
คุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ได่รับอันตรายต่อ อนามัย ต่อร่างกาย หรือชีวิตเนื่องจาก “การใช้รถ” หรือ “รถที่ใช้” หรือ สิ่งที่ติดตั้ง หรือ บรรทุกมากับรถ
- อันตราย ต่ออนามัย หมายถึง ค่ารักษาพยาบาล
- อันตราย ต่อร่างกาย หมายถึง การสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร
- อันตราย ต่อชีวิต หมายถึง ค่าปลงศพ
ผู้ประสบภัยรักษาในโรงพยาบาล
ผู้ประสบภัยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แบ่งเป็น 3 ประเภท
- ประเภทที่ 1. ผู้ประสบภัย อาการสาหัสไม่รู้สึกตัว มีผลต่อการเคลื่อนย้าย
- ผู้นำส่งหน่วยกู้ชีพ (รถพยาบาลฉุกเฉิน)
- ประเภทที่ 2. ผู้ประสบภัย อาการสาหัสรู้สึกตัว ไม่มีผลต่อการเคลื่อนย้าย
- ผู้นำส่งมูลนิธิ/อาสา
- ประเภทที่ 3. ผู้ประสบภัย อาการไม่สาหัสรู้สึกตัวดี ไม่มีผลต่อการเคลื่อนย้าย
- พลเมืองนำส่ง
- ญาติผู้นำส่ง
- คู่กรณีผู้นำส่ง
- ผู้ป่วยมาเอง
ผู้ประสบภัย
ผู้ประสบภัยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ เสียหาย ต่ออนามัย/ต่อร่างกาย/ต่อชีวิต
ความเสียหายต่ออนามัย
- ในกรณีได้รับความเสียหาย ต่ออนามัย แต่ไม่ถึงกับการสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- ค่ารักษาเบื้องต้นไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่ารักษาส่วนเพิ่มไม่เกิน 50,000 บาท
- บริษัทจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และอนามัย โดยไม่ต้องรอคดีการพิสูจน์ผิดถูกภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัทประกันภัยได้รับการร้องขอ หรือส่วนเกินมีผลดคีพิสูจน์ผิดถูกภายใน 15 วัน
- ระยะเวลาการร้องขอเบิกค่ารักษาพยาบาล ภายใน 180 วังหลังเกิดเหตุ
เอกสารประกอบการเบิก (เบื้องต้น)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้บาดเจ็บและผู้ขับขี่
- สำเนาการจดทะเบียนรถ
- สำเนากรมธรรม์ (พ.ร.บ)
- บันทึกประจำวัน ข้อเกิดเหตุ
ความเสียหายต่อร่างกายและการสูญเสียอวัยวะ
ในกรณีได้รับคาวมเสียหาย ต่อร่างกาย แต่ไม่ถึงเสียชีวิตบริษัทประกันภัยจ่ายค่าสูญเสียอวัยวะระหว่าง 200,000 - 500,000 บาท โดยมีการสูญเสียอวัยวะดังนี้
- ตาบอด
- หูหนวก
- เป็นใบ้หรือสูญเสียการพูด
- สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
- เสีย แขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นๆ
- จิตพิากร
- ทุพพลภาพอย่างถาวร
เอกสารประกอบการเบิก (การสูญเสียอวัยวะ)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบภัย
- ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
- สำเนาทำประจำวันของพนักงานสอบสวน
- สำเนารายการจดทะเบียน
- สำเนาตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ
ความเสียหายต่อชีวิต
กรณีได้รับคาวมเสียหายบริษัทประกันจ่ายค่าปลงศพสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ผู้ขับขี่ (ล้มเอง) กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตคุ้มครองสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าปลงศพไม่เกิน 35,000 บาท
*กรณีเสียชีวิตที่เกิดเหตุ จะคุ้มครองเฉพาะค่าปลงศพเท่านั้นไม่เกิน 35,000 บาท
- ผู้โดยสาร (ล้มเอง) กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตคุ้มครองเบื้องต้นไม่เกิน 80,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท
- ค่าปลงศพช่วยเหลือเบื้องต้นวงเงินไม่เกิน 35,000 บาท
*กรณีเสียชีวิตที่เกิดเหตุ จะคุ้มครองเฉพาะค่าปลงศพเท่านั้นไม่เกิน 35,000 บาท และหลังจัดงานศพเสร็จทำเรื่องเบิกค่าปลงศพได้เพิ่มอีกไม่เกิน 465,000 บาท
เอกสารประกอบการเบิก (การสูญเสียชีวิต)
- ใบแนะนำเอกสารการเบิก พ.ร.บ สำหรับผู้ป่วย/ญาติต้องนำยื่นให้โรงพยาบาลเพื่อขอใช้สิทธิ
- ทะเบียนรถ
- สำเนารายการจดทะเบียน
- สำเนาตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ
- สำเนาทำประจำวันของพนักงานสอบสวน
ฝ่ายถูกละเมิดหรือฝ่ายถูก
- บาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริงไม่เกิน) 80,000 บาท
- ค่านอนโรงพยาบาล ชดเชย (ตามจริง) 200/วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
- สูญเสียอวัยวะ
- หูหนวก, ลิ้นขาด, อวัยวะสืบพันธุ์, จิตพิการ 250,000 บาท
- นิ้วขาด ตั้งแต่ (1 ข้อนิ้วขึ้นไป) 200,000 บาท
- มือ แขน ขา เท้า ตา (1 ข้าง) 250,000 บาท
- มือ แขน ขา เท้า ตา (2 ข้าง) 500,000 บาท
- มือ แขน ขา เท้า ตา (รวมกัน 2 ส่วน) 500,000 บาท
- เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร 500,000 บาท
พ.ร.บ เป็นสิทธิประโยชน์ที่ทุกคนควรจะรู้ไว้ ในกรณีฉุกเฉินจำเป็นน่าจะมีประโยชน์สำหรับหลาย ๆ คนได้แน่นอนค่ะ
"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"
คลิก เพื่อขอคำปรึกษา
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน
สถานที่
อาคาร B ชั้น G
เวลาทำการ
24 ชม.
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 4003