Header

แผนกตรวจสุขภาพ

แผนกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพหมายถึงการตรวจสำหรับผู้ที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงหรือภาวะผิดปกติที่สามารถนำไปสู่การป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ เช่นการตรวจความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือด แต่ไม่รวมถึงการตรวจสำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยหรือมีโรคเรื้อรังเพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่มีอยู่แล้ว เช่น การตรวจด้านสุขภาพของผู้ที่มาขอปรึกษาแพทย์ด้วยอาการเจ็บป่วย หรือภาวะความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง การตรวจด้านสุขภาพของผู้ที่มีโรค หรือภาวะเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)  เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เป็น

จุดมุ่งหมายของแผนกตรวจสุขภาพคือการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการตรวจสุขภาพช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย ทำให้สามารถปรับพฤติกรรมและรักษาโรคในระยะเริ่มต้นได้ทันในขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้รับการตรวจสุขภาพเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและมีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมในระยะยาว
 

การตรวจสุขภาพขึ้นพื้นฐานตามพื้นฐานอย่างน้อย ควรตรวจตามช่วงอายุตามตาราง ดังต่อไปนี้

การตรวจ

อายุ 15 - 60 ปี

มากกว่า 60 ปี

ตรวจร่างกายทั่วไป

(ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ความดัน และรอบเอว)

ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ตรวจตาโดยจักษุแพทย์

อายุระหว่าง 40 – 65 ปี ตรวจทุก 2 ปีโดยจักษุแพทย์

อายุ 60 - 64 ปี ตรวจทุก 2 - 4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี

การตรวจการได้ยิน โดย Finger rub test

-


 

การตรวจ

อายุ 19- 60 ปี

มากกว่า 60 ปี

การตรวจคัดกรองมะเร็ง

 

 

-เต้านม

:อายุ 30 – 39 ปี:  ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง  ตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ปีละ 1 ครั้ง 

อายุ40ปีขึ้นไป: ควรตรวจคัดกรองโดยแมมโมแกรม

ตรวจ mammogram ทุก 1-2 ปี

- ปากมดลูก

อายุ 30 – 65 ปี: ควรตรวจคัดกรองทุก 5 ปี

ตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี หลังจากนั้นตรวจตามความเหมาะสม

- ลำไส้ใหญ่

อายุ 50 ปีขึ้นไป :ควรตรวจเม็ดเลือดแดงในอุจจาระทุกปี

ควรตรวจเม็ดเลือดแดงในอุจจาระทุกปี

-ท่อน้ำดี

ความเสี่ยง คือ การทานปลาน้ำจืดดิบ พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ตรวจหาพยาธิใบไม้ตับโดย การตรวจอุจจาระปีละ 1 ครั้ง

-

- ช่องปาก

คนที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ และ 40 ปีขึ้นไป  ตรวจช่องปากโดยแพทย์หรือทันตแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

-


 

การตรวจ

อายุ 19-60 ปี

มากกว่า 60 ปี

ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

35-70 ปี

ปัสสาวะ

-

ควรตรวจทุก 1 ปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

เบาหวาน :ตรวจน้ำตาลในเลือด

อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 3 ปี

ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก1 ปี

ไขมันในเลือด

ควรตรวจอย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง

ควรตรวจทุก 1 ปี

การทำงานของไต

-

ควรตรวจทุก 1 ปี

ภาวะซีด : ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

อายุ 19 – 60 ปี ควรตรวจหาภาวะซีด 1 ครั้ง เพื่อให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม

ควรตรวจทุก 1 ปี

แหล่งอ้างอิง : แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน 2565 โดยกระทรวงสาธารณสุข

 

สถานที่ : อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ : จันทร์ - อาทิตย์ 07.00 - 16.00 น.
 

 

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 07.00 - 16.00 น.

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4501

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แพทย์แนะนำ

แผนกตรวจสุขภาพ

นพ.ธรรมรงค์ นิมจิรวัฒน์

อาชีวเวชศาสตร์

แผนกตรวจสุขภาพ

นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์

เเพทย์อาชีวเวชศาสตร์

แผนกตรวจสุขภาพ

นพ.คณินทร์ ดุลยธรรมสถิต

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไข้เลือดออกใกล้ตัว และน่ากลัวกว่าที่เราคิด (Dengue fever)

เชื้อไวรัสเดงกี เป็นเชื้อโรคที่อยู่ในยุงลาย ถ้ามียุงลายกัดคนที่ติดเชื้อ แล้วไปกัดคนอื่นต่อ เชื้อโรคก็จะเข้าไปในร่างกายของคน ๆ นั้นได้ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางน้ำลายของยุงลายที่กัดบนผิวหนังของเรา ทำให้เราเป็นโรคไข้เลือดออกได้ 

นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไข้เลือดออกใกล้ตัว และน่ากลัวกว่าที่เราคิด (Dengue fever)

เชื้อไวรัสเดงกี เป็นเชื้อโรคที่อยู่ในยุงลาย ถ้ามียุงลายกัดคนที่ติดเชื้อ แล้วไปกัดคนอื่นต่อ เชื้อโรคก็จะเข้าไปในร่างกายของคน ๆ นั้นได้ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางน้ำลายของยุงลายที่กัดบนผิวหนังของเรา ทำให้เราเป็นโรคไข้เลือดออกได้ 

นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำความรู้จัก ฝุ่น PM 2.5 และการป้องกันสุขภาพ

PM 2.5 คืออะไร PM (particular matter) คือฝุ่นขนาดเล็กมากไม่เกิน 2.5 ไมครอน  สามารถเข้าไปในถุงลมปอดได้ และเกิดจากการเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และที่พักอาศัย

นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำความรู้จัก ฝุ่น PM 2.5 และการป้องกันสุขภาพ

PM 2.5 คืออะไร PM (particular matter) คือฝุ่นขนาดเล็กมากไม่เกิน 2.5 ไมครอน  สามารถเข้าไปในถุงลมปอดได้ และเกิดจากการเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และที่พักอาศัย

นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

เพราะทุกคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การแนะนำวิธี ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

การป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

เพราะทุกคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การแนะนำวิธี ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ