Header

การตรวจสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือใส่ขดลวดค้ำยัน PERCUTANEOUS CORONARY INTERVENTION

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจสวนหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งสามารถแสดงให้เห็นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจวัดความดันภายในส่วนต่าง ๆ ของหัวใจได้

 

การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization)

            เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และ รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ  รวมทั้งสามารถแสดงให้เห็นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจวัดความดันภายในส่วนต่าง  ๆ  ของหัวใจได้ ทำให้สามารถวินิจฉัยสาเหตุ  และอาการโรคหัวใจได้โดยละเอียดแม่นยำ  และมีความปลอดภัยสูง ใช้เวลาการทำไม่นาน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะฉีดยาชาที่บริเวณขาหนีบ  หรือข้อมือ และใส่สายสวนขนาดเล็กผ่านเข้าไปในหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดดำ  รวมถึงใส่สายสวนไปถึงหลอดเลือดหัวใจ เพื่อฉีดสารทึบรังสีเข้าในหลอดเลือดหัวใจทีละเส้น และบันทึกภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์  หากผลการตรวจพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบก็สามารถให้การรักษาโดยขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดค้ำยันได้ในคราวเดียวกัน

            การตรวจสวนหัวใจนี้ เป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดจึงมีความเสี่ยงน้อย ใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1 - 2 วัน แต่หากพบหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการรักษาด้วยบอลลูน หรือใส่ขดลวดค้ำยัน ก็จะส่งปรึกษาทีมศัลยแพทย์ทรวงอก เพื่อรักษาด้วยการผ่าตัด นำหลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดงบางที่มาต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ ซึ่งเราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า Coronary Artery Bypass Graft (CABG)

 

 

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจสวนหัวใจ

            1. มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจร้าวไปกราม หรือร้าวไปไหล่

            2. คลื่นไฟฟ้าหัวใจระยะพัก หรือเมื่อออกกำลังกายพบความผิดปกติ

            3. เคยได้รับการตรวจพบว่าสงสัยมีเส้นเลือดอุดตัน และทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เช่น การวิ่งสายพาน (EST) การตรวจด้วยคลื่นสะท้อนเสียงหัวใจขณะออกกำลังกาย (Stress Echocardiogram) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) พบความผิดปกติ 

            4. ผู้ที่เคยได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือใส่ขดลวดค้ำยันแล้วมีอาการบาดเจ็บแน่นหน้าอกอีกครั้ง

            5. ผู้ป่วยควรตรวจเพื่อวินิจฉัย หรือรักษาโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ เช่น ลิ้นหัวใจตีบ

 

ความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

การตรวจอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ้าง และพบน้อยมาก โดยเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 1 - 2 % แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่จะอธิบาย และตอบข้อซักถามอีกครั้งขณะเตรียมตัวทำหัตถการ

 

การเตรียมตัวก่อนจะทำการตรวจสวนหัวใจ

            1. เตรียมเอกสารสิทธิ์ต่าง ๆ เอกสารสำคัญ ประวัติการรักษาเดิม (ถ้ามี)

            2. เจ้าหน้าที่ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด จะให้คำแนะนำก่อนการตรวจสวนหัวใจจนเข้าใจดี จึงให้ผู้ป่วย และญาติเซ็นชื่อยินยอมเข้ารับการรักษา พร้อมรับเอกสารใบนัดทำการตรวจ

            3. แพทย์อาจให้ท่านงดยาบางชนิดก่อนมาตรวจ

 

ประวัติที่ผู้ป่วยต้องแจ้งแพทย์ / พยาบาลก่อนตรวจสวนหัวใจ

            1. ประวัติการแพ้ยา อาหารทะเล หรือเคยแพ้สารทึบรังสี

            2. ประวัติโรคประจำตัว

            3. มีไข้ หรืออาการผิดปกติ ๆ

            4. กำลังมีรอบเดือนในผู้หญิง

 

การเตรียมตัวในวันที่มาตรวจสวนหัวใจ

            1. ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด

            2. นำยาทั้งหมด เอกสารประวัติสำคัญมาให้ครบถ้วน

            3. งดน้ำ และอาหาร 4 - 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ

            4. นอนพักผ่อนเต็มที่ไม่ต้องกังวล

            5. อาบน้ำสระผมตอนเช้าก่อนมาโรงพยาบาล

            6. ถอดฟันปลอม เครื่องประดับ และของมีค่า ไม่ต้องนำมา

            7. เมื่อมาถึงโรงพยาบาลท่านจะได้รับการเตรียมโดยการให้อาบน้ำ โกนขนบริเวณขาหนีบ 2 ข้าง หรือข้อมือ

 

 

 

การปฏิบัติตนหลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ

กรณีทำบริเวณขาหนีบ

            1. ท่านต้องนอนหงายเหยียดขาข้างที่ทำตามเวลาที่กำหนด หากเมื่อยให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ เพื่อจัดท่านอนตะแคงแต่ยังคง ต้องเหยียดขาข้างที่ทำไว้จนกว่าจะครบเวลา หากมีเลือดออก หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที

            2. หลังจากเอาสายสวนออกจากขาหนีบแล้ว จะมีหมอนทรายทับบริเวณขาหนีบข้างที่ทำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเลือดออก เมื่อครบ 2 ชั่วโมงแล้วจะเอาหมอนทรายออกแต่ท่านยังคงต้องเหยียดขาข้างที่ทำต่อจนครบ 4 - 6 ชั่วโมง 

            3. เมื่อครบ 4 - 6 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะสามารถขยับตัวได้ตามปกติ

 

กรณีทำบริเวณข้อมือ

            1. ท่านจะมีสายรัดข้อมือ เมื่อครบเวลาจะมีเจ้าหน้าที่มาคลายสายรัดให้ตามเวลา ห้ามงอข้อมือข้างที่ทำประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง

            2. ห้ามแกะสายรัดข้อมือออกเองเด็ดขาด หากมีเลือดออก หรือมีอาการผิดปกติใดๆ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ

            * เช้าวันรุ่งขึ้น จะมีเจ้าหน้าที่เปิดแผลให้ หากแผลดี และไม่มีการรักษาอย่างอื่นเพิ่มเติม ท่านจะสามารถกลับบ้านได้

            * หลังกลับบ้าน หากปวดแผลให้ทานยาแก้ปวด Paracetamol ครั้งละ 1 เม็ด  ทุก 6 ชั่วโมง และใช้ Cool Pack ประคบบริเวณที่ปวด

            * อย่ากดนวดคลึงบริเวณแผล หลีกเลี่ยงการพับงอข้อมือ ขา และไม่เหวี่ยงข้อมือ กับขาข้างที่ทำอย่างน้อย 3 วัน

            * หากมีเลือดออก ปวด บวมช้ำมาก ให้มาโรงพยาบาลปรึกษาแพทย์

            * เมื่อครบ 3 วัน ให้แกะแผ่นกันน้ำออกจากแผลได้เลย

 

บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)
 #หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูเเล

 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหัวใจโต อาการ การวินิจฉัย และการรักษา

โรคหัวใจโต หลายคนมักเข้าใจว่า เป็นภาวะที่หัวใจมีการขยายตัวใหญ่ขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ หากปล่อยให้โรคหัวใจโตดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหัวใจโต อาการ การวินิจฉัย และการรักษา

โรคหัวใจโต หลายคนมักเข้าใจว่า เป็นภาวะที่หัวใจมีการขยายตัวใหญ่ขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ หากปล่อยให้โรคหัวใจโตดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

หากพูดถึงสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคงมี “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ติดโผมาด้วยอย่างแน่นอน

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

หากพูดถึงสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคงมี “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ติดโผมาด้วยอย่างแน่นอน

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม