อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการใจสั่น คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบได้บ่อยแค่ไหน?
อาการใจสั่นนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ และเป็นสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยมักตัดสินใจไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ
อาการใจสั่นอาจรู้สึก
- หัวใจเต้นช้าหรือเร็วเกินไป
- อวัยวะบางส่วนสั่น
- ตื่นตัว นอนไม่หลับ
- หน้ามืด เวียนหัว
- เจ็บหน้าอก
โรคที่ส่งผลทำให้เกิดอาการใจสั่น
- โรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจ โรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจ
- โรคอื่นๆ ที่มีผลต่อหัวใจ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต หรือโรคความผิดปกติของโลหิต
สาเหตุที่ทำให้ใจสั่น
-
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เต้นแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งเกิดอาการใจสั่นที่ทำให้เรารู้สึกได้ เช่น การวิ่ง
-
การกินยาบางชนิด
ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือยาความดัน หากรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันก็อาจทำให้ใจสั่นได้
-
ระดับน้ำตาลในเลือด
หากทั้งวันไม่ได้กินข้าว อาจทำให้มีอาการใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก และหน้ามืดได้ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง
-
เครียดหรือกังวล
ทั้งสองปัจจัยนี้ มีผลเร่งการเต้นของหัวใจ ร่างกายเผชิญความกลัว แม้ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายก็ตาม ส่งผลให้เกิดอาการใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกได้ โดยอาการนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคหัวใจ แต่หากไม่แน่ใจว่าเป็นโรคใด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
-
รับคาเฟอีกมากเกินไป
คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้ใจสั่นได้ นอกจากกาแฟ ยังพบได้จากอาหารหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ เช่น ช็อคโกแลต โซดา เครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ เป็นต้น
-
มีไข้ ติดเชื้อ
มีไข้มากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย หัวใจจึงทำงานหนัก ทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
-
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด ภาษาอังกฤษเรียกว่า Arrhythmia ซึ่งทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ อาจเร็วไปหรือช้าไป โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด มีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกัน
-
โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์หลั่งออกมามากเกินความจำเป็น ส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการใจสั่น เนื่องจากหัวใจเต้นเร็วเกินไป
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ตรวจเลือด
- การทดสอบปัสสาวะ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG/EKG)
- Echocardiogram (อัลตราซาวนด์หัวใจ)
- เครื่อง Holter ที่คุณสวมใส่เป็นเวลาหนึ่งวันหรือนานกว่านั้นเพื่อบันทึกกิจกรรมของหัวใจ
- การศึกษาสรีรวิทยาไฟฟ้า
- การใส่สายสวนหัวใจ
- พบนักสรีรวิทยาไฟฟ้า เพื่อปรึกษาเรื่องจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
วิธีรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งหากมีโรคประจำตัว หรือภาวพแทรกซ้อนอื่นๆ การรักษาของแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันออกไป
เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝัง (ICD)
เครื่องกระตุ้นหัวใจเป็นเครื่องช่วยที่ใช้ส่งชีพจรไฟฟ้าไปยังหัวใจ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ ใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ หรือช้าเกินไปหรือเร็วเกินไป โดย ICD สามารถช่วยป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในกรณีที่มีความเสี่ยงสูง บางทีอาจต้องผ่าตัดเพื่อวางเครื่องช่วยนี้บริเวณร่างกาย
เครื่องกระตุ้นหัวใจ
เครื่องกระตุ้นหัวใจเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ส่งไฟฟ้าเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นในอัตราและจังหวะปกติ เครื่องกระตุ้นหัวใจยังสามารถใช้เพื่อช่วยให้ห้องหัวใจเต้นพร้อมกัน เพื่อให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปยังร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจชั่วคราว (ระยะสั้น) หรือถาวร (ระยะยาว)
วิธีควบคุมอาการใจสั่น
เมื่อรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดแล้วเกิดอาการใจสั่น คุณสามารถควบคุมได้โดยการทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจสงบ เช่น โยคะ สมาธิ การฝึกการหายใจ นอกจากนี้ ควรลดการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพื่อป้องกันการกระตุ้นให้เกิดอาการใจสั่น
วิธีการป้องกัน
วิธีการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ลดระดับความเครียด ด้วยการการออกกำลังกาย เช่น โยคะ ไทเก๊ก และหากิจกรรมที่ช่วยฝึกการหายใจ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
- ไม่สูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ควบคุมความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอล
- ควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
อาการใจสั่น อันตรายไหม? แล้วเมื่อไหร่ควรพบแพทย์
อาการใจสั่นมักไม่เป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตาม อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ตามมา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการ
- วิงเวียนศีรษะ
- เจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก
- มีเหงื่อออกผิดปกติ
- มีอาการใจสั่นบ่อยขึ้น