Header

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease) | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561 พบว่า มีคนไทยป่วยด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจมากกว่า 4 แสนคน และทุก ๆ ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิต 2 คน นอกจากนี้เราพบว่ากว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ด้วยอัตราการเสียชีวิตจากภัยเงียบที่น่ากลัวนี้ การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปีจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ
 

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง
  • เจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง เหมือนมีอะไรมากดทับ
  • ปวดร้าวไปที่กราม คอหอย แขนด้านซ้าย สะบักหลัง
  • ใจสั่น ซีด เหงื่อออกมาก หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม และอาจหมดสติ
  • จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน
     

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากอะไร

โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery) นั้นตีบหรือตัน โดยแบ่งตามลักษณะอาการแสดงได้ 2 ลักษณะ คือ

แบบเรื้อรั้ง

เกิดจากไขมันมาเกาะสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังในตำแหน่งนี้หนาขึ้น แต่ในทางกลับกันหลอดเลือดก็จะตีบหรือแคบลงไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นเลือดก็จะนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกในช่วงที่ผู้ป่วยออกแรงเยอะ ๆ แต่เมื่อหยุดพักอาการก็จะดีขึ้น

แบบเฉียบพลัน

เกิดจากคราบไขมันที่เกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในนี้ได้ปริแตกออก และกลายเป็นลิ่มเลือด จนอุดตันในหลอดเลือดที่จะนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย หัวใจห้องล่างซ้ายเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง ซึ่งอาจเสียชีวิตกะทันหัน

 

ผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคหัวใจ
  • เพศ โดยเฉพาะเพศชาย ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง
  • อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่ออกกำลังกายน้อย น้ำหนักเกินมาตรฐาน

 

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • การตรวจร่างกายเบื้องต้นด้วยการซักประวัติ ตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล ระดับไขมัน ตรวจการทำงานของไต การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography หรือ EKG)
    • การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการให้เดินสายพานบนลู่วิ่ง (Exercise Stress Test หรือ EST)
    • การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography หรือ Echo)
    • การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan)
    • การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ

สมัยก่อน เราอาจจะคิดว่าโรคหัวใจเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยแล้วเท่านั้น แต่โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ เราพบว่าโรคหัวใจมีโอกาสเกิดได้แม้แต่กับเด็กทารกที่เพิ่งคลอดหรือคนในวัยเพียงอายุ 20 ปีเท่านั้น

 

 

ทำไมเราจึงควรตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง?

ข้อดีของการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan 128 Slices

  • แม่นยำ ภาพคมชัดความละเอียดสูง ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการตรวจ
  • ใช้เวลาตรวจไม่นาน เพราะเครื่องสแกนหมุนต่อรอบเพียง 0.4 วินาที
  • ผู้ป่วยได้รับรังสีเอ็กซเรย์น้อยลงกว่า 82%
  • ความปลอดภัยสูง ที่แม้แต่ผู้ป่วยเด็กก็สามารถทำได้
  • สามารถ Scan ได้เร็วถึง 128 ภาพ ต่อการหมุน 1 รอบ
  • แสดงผลตรวจออกมาเป็นภาพ 3 มิติ สามารถดูภาพในระนาบต่าง ๆ ของหัวใจได้
  • แสดงผลชัดเจนทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
     

รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างไร

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ดังนี้

  1. การทำบอลลูนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ (ฺBalloon Angioplasty) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพราะว่าปลอดภัยและไม่ต้องผ่าตัด โดยเป็นการดันคราบไขมันที่อุดตันหลอดเลือดให้กลับไปติดผนังหลอดเลือด โดยการสอดฝังขดลวดค้ำยันผนังหลอดเลือดผ่านสายสวน ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
  2. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่เรียกกันว่า “การทำบายพาสหัวใจ” เป็นการเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดแดงจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือด โดยข้ามผ่านเส้นเลือดส่วนที่ตีบ สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จะตัดสินใจทำในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจอุดตันไปแล้วกว่า 70%
  3. การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ทำในกรณีที่โรคมีระดับรุนแรงมากแล้วและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้
  4. การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ยาลดไขมัน ยาควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น

โรคหลอดเลือดหัวใจถือเป็นภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากรักษาไม่ทันก็อาจทำให้อาการหนักขึ้นหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากสงสัยว่าตนเองมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป

ปวดคอ บ่า ไหล่ ร้าวลงขนแขน สัญญาณเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

หนุ่มสาวออฟฟิศที่จำเป็นที่จะต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ เคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่? ปวดบริเวณกระดูกคอ บ่า ไหล่ และในบางครั้งก็ปวดร้าวลงไปที่บริเวณแขนเหมือนโดนไฟช็อต มีอาการชาหรืออ่อนแรง หรืออาจถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น

ปวดคอ บ่า ไหล่ ร้าวลงขนแขน สัญญาณเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

หนุ่มสาวออฟฟิศที่จำเป็นที่จะต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ เคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่? ปวดบริเวณกระดูกคอ บ่า ไหล่ และในบางครั้งก็ปวดร้าวลงไปที่บริเวณแขนเหมือนโดนไฟช็อต มีอาการชาหรืออ่อนแรง หรืออาจถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมียเป็นโรคที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม