Header

โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

เป็นโรคที่มีเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ โดยจากข้อมูลทางสถิติพบว่ามีประชากรของโลกราวร้อยละ 7 ที่เป็นพาหะของโรคนี้ ส่วนในประเทศไทยเอง พบพาหะของกลุ่ม อาการ ธาลัสซีเมีย ถึงร้อยละ 37 และมีผู้ป่วยที่เป็นโรคถึงร้อยละ 1 ของประชากร จึงเป็นโรคที่เราควรให้ความสนใจเนื่องจากตัวเราเองหรือคนใกล้ตัวอาจเป็นพาหะหรือโรค โดยที่ไม่ทราบมาก่อน

สาเหตุของการเกิดโรคธาลัสซีเมีย

เกิดจากความผิดปกติของฮีโมโกลบินที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง โดยอาจเกิดจากความผิดปกติของยีนที่ทำให้การสร้างสายโกลบินลดลง เช่น สายแอลฟา หรือบีต้า หรืออาจเกิดจากการสร้างสายที่ผิดปกติทำหน้าที่ไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลกันของการจับคู่ระหว่างสายแอลฟาและสายบีต้า โกลบุลิน ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ โดยแบ่งได้หลัก ๆ เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มพาหะและกลุ่มที่เป็นโรค

  • กลุ่มที่เป็นพาหะ (Thalassemia trait )

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เป็นโรคไม่มีอาการผิดปกติ มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเลือด เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี การฝากครรภ์ มักพบขนาดของเม็ดเลือดแดงตัวเล็กขณะที่มีความเข้มข้นของเลือดปกติหรือใกล้เคียงปกติ กลุ่มที่เป็นพาหะนี้พบได้บ่อยกว่ากลุ่มที่เป็นโรค ผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียมักสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา สิ่งที่สำคัญคือการวางแผนครอบครัว โดยควรตรวจเลือดของคู่สมรสก่อนการมีบุตร เพื่อจะได้ประเมินโอกาสที่บุตรจะเป็นพาหะหรือป่วยเป็นโรค และจะได้ติดตามได้อย่างเหมะสม

  • กลุ่มที่เป็นโรค (Thalassemia disease )

กลุ่มนี้ผู้ป่วยมักมีอาการของภาวะโลหิตจาง โดยมีความแตกต่างของ ระดับอาการ ตั้งแต่น้อยไปหามาก ขึ้นกับชนิดและปริมาณสายโกลบุลิน ที่ขาดหรือผิดปกติซึ่งอาการโดยรวมมีดังต่อไปนี้

  • มีอาการของภาวะโลหิตจางอันได้แก่ ซีด เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง มึนศีรษะ หน้ามืดเป็นลมบ่อย โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่า ใจสั่น  ตรวจร่างกายพบตับม้ามโตได้ 
  • มีการขยายตัวของกระดูกหน้าผากและกรามบนทำให้ใบหน้าแบน กระโหลกศีรษะหนาที่เรียกว่า thalassemia facies
  • การเจริญเติบโตไม่สมวัย
  • ถ้ามีความผิดปกติรุนแรง เช่น Hb Bart hydrops  fetalis จะมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดได้แก่ อาการบวมทั้วตัว ท้องโตจากตับโตมาก รกขนาดใหญ่มาก ซึ่งทำให้เสียชีวิตตั้งแต่ตอนคลอดได้

การตรวจวินิจฉัย
  • แพทย์จะทำการซักประวัติอาการของธาลัสซีเมีย รวมถึงประวัติธาลัสซีเมียในครอบครัว
  • มีการส่งตรวจเลือดเพิ่มเติม ได้แก่ CBC, Hb typing

การรักษา
  • ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรงรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เลือด ตับ เครื่องในสัตว์ งดยาและวิตามินที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ
    • การรับประทานยา ขึ้นกับระดับความรุนแรง ในผู้ป่วยที่เป็นพาหะ และไม่มีภาวะโลหิตจาง ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา ควรเจาะเลือดติดตามเป็นระยะ ๆ และหากมีอาการผิดปกติ ให้รีบมาพบแพทย์
    • ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง และมีอาการ แพทย์จะพิจารณาให้ยาบำรุงเลือด เช่น folic acid หรือ อาจให้ยาขับเหล็ก ในผู้ป่วยที่มีเหล็กเกินจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือถูกทำลายและถ้ามีโลหิตจางมาก อาจต้องมีการให้เลือดเป็นระยะเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโลหิตจางในประเทศไทย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ละเลย เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ได้มีอาการชัดเจน มักตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมีความเจ็บป่วยอย่างอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม โรคนี้ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ควรได้รับการติดตามและเจาะเลือดเป็นระยะ ซึ่งการดูแลรักษาที่ถูกวิธีจะให้สุขภาพของผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติดังที่กล่าวมาข้างต้นควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะมีอาการรุนแรงครับ

 



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

พญ.กชพร สกุลศรีผ่อง

จิตเวชศาสตร์

แผนกอายุรกรรม

พญ.ประทุมทิพย์ พงศ์พรทรัพย์

อายุรศาสตร์โรคเลือด

แผนกอายุรกรรม

นพ.สรัล ตั้งสำเริงวงศ์

อายุรแพทย์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรต้าไวรัส

มีหลายสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือพิษจากอาหารโรตาไวรัสเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2ปี

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรต้าไวรัส

มีหลายสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือพิษจากอาหารโรตาไวรัสเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2ปี

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไขข้อสงสัย ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่ หรือจำเป็นจะต้องมาเปลี่ยนมาซ่อมแซมภายหลังหรือไม่ หลังผ่าตัดไปแล้วจะสามารถใช้ข้อเข่าได้นานเท่าไหร่ หรือมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไขข้อสงสัย ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่ หรือจำเป็นจะต้องมาเปลี่ยนมาซ่อมแซมภายหลังหรือไม่ หลังผ่าตัดไปแล้วจะสามารถใช้ข้อเข่าได้นานเท่าไหร่ หรือมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม