Header

รักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

วัคซีน HPV รักษามะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด นอกจากวัคซีน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูกแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้อีกด้วย 

 

วัคซีน HPV คืออะไร

HPV (Human papillomavirus) เป็นกลุ่มของไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์มักจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ปัจจุบันมีกว่า 200 สายพันธุ์

สายพันธุ์ของ HPV ส่วนใหญ่ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก คือ HPV ที่เป็นต้นเหตุของการเป็นมะเร็งและ HPV ที่เป็นต้นเหตุของหูดที่อวัยวะเพศ (genital warts)

 

HPV ที่เป็นต้นเหตุของการเป็นมะเร็ง

  • HPV 16: เป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด
  • HPV 18: เป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกรองลงมา
  • HPV 31, 33, 45, 52, 58: เป็นสายพันธุ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งช่องคลอดในผู้หญิง

 

HPV ที่เป็นต้นเหตุของหูดที่อวัยวะเพศ (Genital Warts)

  • HPV 6 และ HPV 11 เป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ


 

วัคซีน HPV มีกี่ชนิด

วัคซีน HPV ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีด้วยกัน 3 ชนิด 

  • Cervarix (2 สายพันธุ์)

Cervarix เป็นวัคซีน HPV ที่เน้นป้องกันสายพันธุ์ 6 และ18

  • Gardasil (4 สายพันธุ์)

เป็นวัคซีน HPV ที่เน้นป้องกันสายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกและหูดหงอนไก่

  • Gardasil 9 (9 สายพันธุ์)

Gardasil 9 เป็นวัคซีน HPV ที่ป้องกันได้หลากหลายสายพันธุ์ ดังนี้ 6, 11, 16, 19, 31, 33, 45, 52 และ 58 


 

วัคซีน HPV ฉีดตอนไหน? อายุเท่าไร?

การฉีดวัคซีน HPV ควรให้เริ่มตั้งแต่อายุ 9-12 ปี ตามที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) แนะนำ แต่หากคุณยังไม่เคยรับวัคซีน HPV หรือผ่านการมีเพศสัมพันธุ์มาแล้ว ก็ยังสามารถฉีดวัคซีน Gardasil 9 ได้ในช่วงอายุ 27-45 ปี หากอายุเกิน 45 ปี สามารถฉีดได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ประสิทธิภาพของการป้องกันเชื้อไวรัสนั้นอาจลดลง

คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางปฏิบัติด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน (ACIP ) ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC ) แนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV ไว้ดังนี้

  • การฉีดวัคซีน HPV ควรให้เริ่มตั้งแต่อายุ 9-12 ปี 
  • ผู้ใหญ่อายุ 27 - 45 ปีแม้ว่าวัคซีน HPV จะได้รับการอนุมัติ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ให้ฉีดจนถึงอายุ 45 ปี แต่ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV สำหรับผู้ใหญ่ทุกคน ผู้ป่วยควรรับคำปรึกษาจากแพทย์ เพราะการฉีดวัคซีน HPV ในช่วงอายุนี้ วัคซีนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แต่พบว่าวัคซีนนี้ไม่มีอันตรายต่อเด็กที่คลอดจากแม่ที่ได้รับวัคซีนในขณะตั้งครรภ์ ส่วนในระยะให้นมบุตรสามารถที่จะฉีดวัคซีนได้ หากมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในระหว่างที่รอฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรือ 3 นั้น ควรหยุดฉีดก่อน และกลับมาฉีดเข็มต่อไปหลังจากที่คลอดโดยไม่ต้องเริ่มเข็มแรกใหม่ 

 


วัคซีน HPV ฉีดกี่เข็ม แต่ละเข็มห่างกันกี่เดือน?

การฉีดวัคซีน HPV มักจะแบ่งเป็น 2 หรือ 3 เข็ม โดยครอบคลุมการป้องกัน HPV สายพันธุ์สำคัญดังนี้


แผนการฉีดวัคซีน HPV 2 เข็ม (อายุ 9-14 ปี)

เข็มที่ 1: ฉีดเข็มแรก

เข็มที่ 2: ฉีดในช่วง 6-12 เดือนหลังจากเข็มที่ 1

 

แผนการฉีดวัคซีน HPV 3 เข็ม: (14 ปีขึ้นไป)

เข็มที่ 1: ฉีดเข็มแรก

เข็มที่ 2: ฉีดในช่วง 1-2 เดือนหลังจากเข็มที่ 1

เข็มที่ 3: ฉีดในช่วง 6 เดือนหลังจากเข็มที่ 1


 

ฉีดวัคซีน HPV แล้วช่วยอะไร

วัคซีน HPV มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อที่ปากมดลูก เมื่อได้รับวัคซีนก่อนที่จะเคยมีเพศสัมพันธ์ ยังพบว่าสามารถลดการติดเชื้อมะเร็งอื่นๆ ได้ เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปาก

ในปัจจุบัน การฉีดวัคซีน HPV สามารถป้องกันไวรัสที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่า 10 ปี แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุประสิทธิภาพของวัคซีน HPV ได้อย่างชัดเจน แต่โดยทั่วไปแล้ว การฉีดวัคซีน HPV ถือเป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV และมะเร็งที่เกิดจาก HPV ในระยะยาวมากที่สุด

 

วัคซีน HPV ทำงานอย่างไร

วัคซีน HPV ทำงานโดยเรียนรู้ร่างกายในการต่อสู้กับไวรัส HPV ที่อาจเข้ามาทำให้เกิดโรคมะเร็ง วัคซีนจะช่วยสร้างสิ่งที่เรียกว่า แอนติบอดีในร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจับไวรัส HPV เมื่อเชื้อไวรัสซึมผ่านเข้าสู่ร่างกาย แอนติบอดีจะป้องกันไม่ให้มันทำให้เซลล์ในร่างกายติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคตนั่นเอง

 

ทำไมต้องฉีดวัคซีน HPV

การฉีดวัคซีน HPV เป็นสิ่งสำคัญเพราะมันช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอื่นๆ ที่เกิดจาก HPV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ป้องกันโรคมะเร็ง HPV เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งชนิดอื่น หากได้รับเชื้อ HPV ในระยะยาว อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเซลล์มะเร็งในอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้
  • ป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง หูดที่อวัยวะเพศ และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ
  • ป้องกันแพร่เชื้อ การฉีดวัคซีน HPV ช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อ HPV จากบุคคลที่ติดเชื้อไปยังบุคคลอื่น ทำให้มีโอกาสในการควบคุมการระบาดของโรคมะเร็งและโรคที่เกิดจาก HPV ได้มากขึ้น

 

ติดเชื้อ HPV แล้วควรฉีดวัคซีนป้องกันหรือไม่?

หากบุคคลที่ติดเชื้อ HPV แล้ว การฉีดวัคซีน HPV ยังคงมีประโยชน์ในบางกรณี เนื่องจากวัคซีนสามารถป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์อื่นที่ยังไม่เคยติดมาก่อนได้ และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ที่เกิดจาก HPV ที่ไม่ใช่สายพันธุ์ที่เคยติดเชื้อมาก่อนได้เช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีน HPV หลังจากเคยติดเชื้อ HPV อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากวัคซีนมุ่งเน้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันก่อนที่จะติดเชื้อ ดังนั้น การตัดสินใจในการฉีดวัคซีน HPV หลังจากเคยติดเชื้อไปแล้ว ควรพิจารณาจากคำแนะนำของแพทย์ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่เป็นไปได้และสถานะสุขภาพของผู้ป่วย 


 

ผู้หญิงที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV แล้วยังต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?

ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 3 ปี เนื่องจากวัคซีน HPV ไม่ได้ป้องกัน HPV ทุกประเภทที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด และสามารถลดความเสี่ยงโรคร้ายอื่นๆ ได้อีกด้วย 

 

ผู้ชายสามารถฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ได้หรือไม่?

ตอบ: สามารถฉีดได้เช่นกัน เนื่องจาก HPV สามารถก่อให้เกิดมะเร็งองคชาติ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งกล่องเสียงได้ และอีกทั้งเพศชายมักจะเป็นผู้นำเชื้อ HPV มาติดให้แก่ผู้หญิง เมื่อมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกตรวจสุขภาพ

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 07.00 - 16.00 น.

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4501

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา, มะเร็งวิทยานรีเวช

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.ชัยวุฒ ไพบูลย์บริรักษ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา,เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.เนรัญชนา สุ่มศรีสุวรรณ

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมสาว ๆ จึงควร ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก คุณสุภาพสตรีหลายท่านคงมีความกังวลในการตรวจ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะการตรวจไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมสาว ๆ จึงควร ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก คุณสุภาพสตรีหลายท่านคงมีความกังวลในการตรวจ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะการตรวจไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนพื้นฐานที่เด็กควรได้รับ

วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด

วัคซีนพื้นฐานที่เด็กควรได้รับ

วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด

ฉีดวัคซีนแล้วไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ

การฉีดวัคซีนช่วยให้เรากลับมาใช้ ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ โดยไม่ต้องกลัวติดเชื้อได้จริงหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ฉีดวัคซีนแล้วไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ

การฉีดวัคซีนช่วยให้เรากลับมาใช้ ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ โดยไม่ต้องกลัวติดเชื้อได้จริงหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม