Header

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เคยรักษาด้วยยาหรือการทำกายภาพบำบัดกันมาแล้ว แต่ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) ที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมอง และถ้าใช้ควบคู่กับการกายภาพบำบัดหรือรักษาด้วยยา ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

 

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) คืออะไร?

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) เป็นกระบวนการที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการกระตุ้นบริเวณสมองที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งผ่านหัวปล่อยคลื่นไปกระตุ้นกิจกรรมของสมองในบริเวณนั้น ซึ่งสามารถช่วยบำบัดอาการและฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยได้
 

ทำไมต้องฟื้นฟูด้วยการกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาด้วยการกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) สามารถช่วยเร่งการฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า ไมเกรน และอาการปวดเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงเวลาสำคัญ เช่น ช่วง Golden Period ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้มากขึ้น

 

ผู้ป่วยกลุ่มใดที่เหมาะกับการกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal Cord Injury)
  • โรคนอนไม่หลับ
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคไมเกรน
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • กลุ่มอาการพฤติกรรมการรับประทานผิดปกติ (Eating Disorder)

 

โรคหลอดเลือดสมอง-stroke

 

ประโยชน์ของการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS มีประโยชน์ในการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยที่ประสบปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ 

  • กระตุ้นการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย เช่น การเคลื่อนไหว การพูด และการรับรู้
  • ช่วยลดซึมเศร้าและปรับสมดุลสารในสมองได้
  • ลดความรุนแรง และความถี่ของอาการปวดศีรษะ
  • กระตุ้นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บไขสันหลังได้


 

กระบวนการรักษาด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

กระบวนการรักษาด้วย TMS มีขั้นตอนดังนี้

  • ประเมินและวินิจฉัย แพทย์จะทำการประเมินสภาพของผู้ป่วย หาสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสม
  • การวางแผนการรักษา แพทย์จะกำหนดตำแหน่งและระดับของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่จะใช้ในการกระตุ้นสมอง
  • การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แพทย์จะทำการวางอุปกรณ์บนศีรษะ ทำให้ห้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถูกส่งผ่านกระโหลกศีรษะ เพื่อกระตุ้นสมองโดยตรง
  • ติดตามผล แพทย์จะติดตามความคืบหน้าของการรักษา และปรับแผนการรักษาตามความเหมาะสม

 

*การรักษาด้วย TMS มักใช้เวลา 20-40 นาทีต่อครั้ง และต้องทำการรักษาหลายครั้งเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
 

ข้อดีของการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

การรักษาด้วยวิธีนี้ อาจมีผลข้างเคียงจากความร้อนบริเวณที่กระตุ้น มีผลมาจากคลื่นแม่เหล็ก ทำให้อุณหภูมิภายในสมองสูงขึ้น แต่ข้อดีก็คือ

  • ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) เป็นการรักษาที่ไม่รุกราน (non invasive) จึงไม่มีผลข้างเคียง
  • ช่วยส่งเสริมให้การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบดั้งเดิม (conventional therapy) มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เป็นทางเลือกการรักษาใหม่ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาในผู้ป่วยและการรักษาฟื้นฟูแบบเดิม ๆ การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)  เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยได้
  • การฟื้นฟูสมอง ช่วยกระตุ้นบริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และการคิด ซึ่งช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองที่บกพร่องไป
  • ใช้ระยะเวลาการรักษาไม่นาน และมีโอกาสหายขาดจากโรคได้

 

สรุป

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS เป็นเทคโนโลยีการรักษาที่ก้าวหน้า ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยที่ประสบปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน การบาดเจ็บไขสันหลัง โรคนอนไม่หลับ เป็นต้น ด้วยกระบวนการที่ปลอดภัย ไม่ต้องทานยา และมีผลข้างเคียงน้อย ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการฟื้นฟูเกี่ยวกับการทำงานของสมอง

 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อะไรคือ Computer vision syndrome?

เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้มีอาการทางตาที่สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ เป็นเวลานาน โดยอาการทางตาจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือ กล่าวคือ ถ้ายิ่งใช้งานคอมมาก อาการทางตาก็จะเป็นมากขึ้น

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อะไรคือ Computer vision syndrome?

เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้มีอาการทางตาที่สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ เป็นเวลานาน โดยอาการทางตาจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือ กล่าวคือ ถ้ายิ่งใช้งานคอมมาก อาการทางตาก็จะเป็นมากขึ้น

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การฟื้นฟูการกลืนด้วย Biofeedback - รักษาอาการกลืนลำบาก

การฟื้นฟูการกลืนด้วยเครื่อง Biofeedback ช่วยปรับปรุงการกลืนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และผู้มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง

blank กภ.วิทยา ดวงงา หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การฟื้นฟูการกลืนด้วย Biofeedback - รักษาอาการกลืนลำบาก

การฟื้นฟูการกลืนด้วยเครื่อง Biofeedback ช่วยปรับปรุงการกลืนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และผู้มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง

blank กภ.วิทยา ดวงงา หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดสมอง รู้ทันป้องกัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย! รู้ทันป้องกัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

blank บทความโดย : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดสมอง รู้ทันป้องกัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย! รู้ทันป้องกัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

blank บทความโดย : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม