Header

ดูแลหัวใจอย่างไร ให้ไกลโรค

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ดูแลหัวใจอย่างไร ให้ไกลโรค โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หัวใจก็ต้องการ…การดูแลไม่ต่างจากอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายเพราะหัวใจเรานั้นมีเพียงดวงเดียว “แพทย์แนะวีธีดูแลหัวใจอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรค”

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ” เป็นหนึ่งในโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย สมัยก่อนเราอาจจะคิดว่า “โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ” เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยเท่านั้น แต่ในปัจจุบันกลับพบผู้ป่วยอายุ จำนวนมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะโรคนี้

ในปัจจุบันจากงานวิจัยต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจนั้นมีอยู่มากมาย แบ่งเป็น ปัจจัยที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น ภาวะไขมันโลหิตสูง ความดันสูง น้ำตาลในเลือดสูง พฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร รวมไปถึงความเครียด

อีกหนึ่งปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคในกลุ่มคนอายุน้อยเช่น มรดกทางพันธุกรรม ความเสื่อมตามอายุ ซึ่งถือเป็นปัจจัยกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้เกิดโรคหัวใจนั่นเอง

นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ประจำคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ (PRINCIPAL HEALTHCARE) กล่าวถึง วิธีดูแลหัวใจอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคไว้ดังนี้


การรับประทานอาหาร

  • เน้นกลุ่ม mediterranean diet หรือใกล้เคียง ซึ่งอาหารกลุ่มนี้เน้น ผักเป็นหลัก แป้งไม่ขัดสี หรือแป้งจากธัญพืช เช่นข้าวโอ๊ต น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันจากถั่ว ต่าง ๆ เน้นเนื้อสัตว์จำพวกปลา เป็นต้น
  • งดอาหารจำพวก Trans Unsaturatted fat เช่น ของทอด fast food เบเกอรี่ โดนัท เป็นต้น
  • ในกลุ่มคนที่ไม่มีโรคประจำตัว แนะนำเกลือ น้อยกว่า 5 กรัมต่อวัน
  • เน้นผักและผลไม้ มากกว่า 200 กรัมต่อวัน
  • รับประทานปลา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์


การออกกำลังกาย

  • ผู้คนจะคิดถึงการออกกำลังกายที่ต้องใช้เวลานาน หรือยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพียงแค่เดินเร็วติดต่อกัน โดยนับรวม 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ สามารถลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจอุดตัน และ อัตราการเสียชีวิตได้แล้ว
  • ในกลุ่มที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ เพียงแค่ลดระยะเวลาการอยู่เฉย ๆ หากิจกรรมทำ จากงานวิจัยก็สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคได้เช่นเดียวกัน


ควบคุมน้ำหนัก

ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ ไม่ให้เกิดภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินโดยรักษาเส้นรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ในกลุ่มเพศชาย แนะนำรอบเอวที่ น้อยกว่า 94 เซนติเมตร และ ในกลุ่มเพศหญิง แนะนำรอบเอวที่ น้อยกว่า 80 เซนติเมตร


งดสูบบุหรี่

ในผู้ที่สูบบุหรี่ให้เลิกโดยเร็ว หากประสบปัญหาในการเลิกบุหรี่ สามารถมารับคำแนะนำ หรือรับยาที่ช่วยเลิกบุหรี่ได้


หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แนะนำจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 100 กรัมต่อสัปดาห์ โดย 1 ดื่มมาตรฐาน เทียบเท่ากับแอลกอฮอล์


ทำจิตใจให้แจ่มใส

ความเครียดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส


ควบคุมภาวะโรคประจำตัว

ควบคุมภาวะโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิต ไขมัน น้ำตาลในเลือด ตามคำแนะนำของแพทย์

อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตดังกล่าวเป็นเพียงการลดโอกาสการเกิด “โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ” ในมนุษย์เรานั้นยังมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้อยู่ อย่างเช่น กรรมพันธุ์ เป็นต้น

ดังนั้น การตระหนักรู้ ถึงภาวะความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ทำการตรวจหา และป้องกันโรคแต่ เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ต่อการดูแล “โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ”

ทั้งนี้ นี่ถือเป็นวิธีที่ทุกคนสามารถทำได้โดยไม่ต้องรอให้ป่วยก่อน เพราะ “โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ” เป็นโรคเรื้อรัง และมักเกิดอาการขึ้นอย่างฉับพลัน อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ ตามมา ดังนั้นเราต้องใช้ชีวิตโดยคำนึงถึงสุขภาพหัวใจของตนเองเพราะหัวใจที่แข็งแรงเกิดจากการใส่ใจดูแลสุขภาพหัวใจอย่างถูกวิธีและปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำ

สำหรับผู้ที่สนใจ คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ยินดีให้คำปรึกษา ประเมินความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน รวมถึงตรวจหาโรค และป้องกัน ด้วยอุปกรณ์ ที่ทันสมัย และได้มาตราฐาน

คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เปิดให้บริการคำปรึกษาทางการแพทย์ และการรักษาด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ในวันจันทร์ เวลา 10:00 – 15:00 น. วันอังคาร – วันพฤหัสบดี เวลา  08:00 – 17:00 น. และวันอาทิตย์เวลา 06:00 – 15:00 น.

หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02 080 5953 และเว็บไซต์ https://www.princsuvarnabhumi.com หรือที่ Line@: @psuv

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ.นรารัตน์ จันทรบุตร

อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ.สุขุม เตชะสกุลเจริญ

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ.ปิโยรส เลิศสงวนสินชัย

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหัวใจ (Heart Disease)

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหัวใจ (Heart Disease)

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก สาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาตและวิธีป้องกัน

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เป็นสาเหตุหลักของอัมพฤกษ์อัมพาต เรียนรู้วิธีการป้องกันและการรักษาเพื่อรักษาสุขภาพสมองของคุณ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก สาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาตและวิธีป้องกัน

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เป็นสาเหตุหลักของอัมพฤกษ์อัมพาต เรียนรู้วิธีการป้องกันและการรักษาเพื่อรักษาสุขภาพสมองของคุณ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หัวใจแข็งแรงมา ''ตรวจคัดกรองหัวใจ'' กันดีกว่า

เพราะโรคหัวใจ  ไม่เลือกวัย  ไม่เลือกเพศ และไม่เลือกช่วงอายุ ในอดีตเราอาจจะพบว่า โรคหัวใจส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า คนอายุน้อยหรือวัยกลางคน ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ 

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หัวใจแข็งแรงมา ''ตรวจคัดกรองหัวใจ'' กันดีกว่า

เพราะโรคหัวใจ  ไม่เลือกวัย  ไม่เลือกเพศ และไม่เลือกช่วงอายุ ในอดีตเราอาจจะพบว่า โรคหัวใจส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า คนอายุน้อยหรือวัยกลางคน ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ 

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม