Header

เตรียมพร้อม Back to School new normal style วิถีชีวิตใหม่ในโรงเรียน

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

เปิดเทอมมาถึงแล้ว เด็ก ๆ หลายคนต้องไปโรงเรียนในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอยู่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวให้เด็ก ๆ ไปเรียนในยุค New normal อย่างไรบ้าง ? มาเตรียมความพร้อมและเตรียมสิ่งของจำเป็นที่ควรพกไปโรงเรียนเพื่อป้องกันการได้รับความเสี่ยงจากการติดเชื้อกัน

  1. ติดตามสถานการณ์ : คอยติดตามสถานการณ์และรับรู้ข่าวสารการระบาดของโรค COVID-19 อยู่เสมอ จะได้ทราบมาตรการจากทางการ และสอนให้ลูกรู้จักโรค COVID-19 เพื่อจะได้ทราบถึงวิธีป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง
  2. คัดกรอง : สังเกตอาการป่วยของลูกและหมั่นตรวจ ATK อย่างสม่ำเสมอถ้ามีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่รู้รสหรือกลิ่น ให้รีบแจ้งทางโรงเรียนทันทีและให้หยุดเรียนไว้ก่อน
  3. หน้ากากอนามัย : สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และแนะนำให้พกสำรองไว้ในกระเป๋าอย่างน้อย 1 ชิ้น เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น หน้ากากหล่นพื้น หน้ากากเปื้อนหรือเปียกชื้น โดยในช่วงที่เริ่มมีโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส คุณหมอแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย  2 ชั้น (ด้านในเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ Surgical mask และด้านนอกเป็น หน้ากากแบบผ้า)
  4. แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือแบบพกพา : เป็นของที่แนะนำให้พกติดตัวไว้ตลอดเวลา เพราะสะดวกและหยิบขึ้นมาใช้เมื่อไรก็ได้ มีให้เลือกใช้ทั้งแบบสเปรย์และแบบเจล เพราะมือของเราเป็นสิ่งที่นำพาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายที่สุด แนะนำให้หมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือที่จะช่วยฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียได้นั้น ต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์70% ขึ้นไป
  5. เตรียมอุปกรณ์ส่วนตัว : กระติกน้ำ / แก้วน้ำ / ช้อมส้อมส่วนตัว / ทิชชู,ทิชชูเปียก เตรียมอุปกรณ์ส่วนตัวให้พร้อม เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
  6. ล้างมือบ่อย ๆ : สอนลูกให้หลีกเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา หรือแคะจมูก ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และให้ล้างมือทุกครั้งที่จับบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได และก่อนรับประทานอาหาร โดยล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไปอย่างน้อยนาน 20 วินาที และหลังกลับจากโรงเรียนให้รีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  7. เว้นระยะห่าง : หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร ในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน ช่วงพัก และหลังเลิกเรียน เช่น นั่งกินอาหาร ออกกำลังกาย เข้าแถวต่อคิว เป็นต้น
  8. ทำความสะอาด : ปลูกฝังให้หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสบ่อย ๆ และบริเวณที่ใช้ทำกิจกรรม รวมถึงอุปกรณ์การเรียน เช่น กระเป๋านักเรียน
  9. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง : เตรียมร่างกายลูกให้แข็งแรง กินอาหารครบ 5 หมู่ ที่สุก สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าลืมเพิ่มพลังด้วยอาหารมื้อเช้าก่อนเข้าเรียน (แนะนำให้รับประทานอาหารเช้าจากบ้าน หากจำเป็นต้องรับประทานที่โรงเรียนแนะนำให้จัดเตรียมเป็น Box set จากบ้านแทนการซื้อที่โรงเรียน)
  10. ความเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย : สอนลูกเสมอว่าไม่มีใครอยากป่วย ไม่ควรล้อเลียนความผิดปกติหรืออาการไม่สบายของเพื่อน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความหวาดกลัวเกินเหตุ หรือเกิดการแบ่งแยก กีดกัน หรือตีตราในหมู่นักเรียน ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ
  11. ฉีดวัคซีน : การได้รับวัคซีนจะทำให้การแพร่กระจายของโรคน้อยลงและสามารถควบคุมการระบาดได้ อีกทั้งในเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ ยิ่งจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกัน เพราะหากมีการติดเชื้อจะทำให้มีอาการรุนแรงได้
  12. พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ : โควิด-19 ยังไม่ไปไหน เรายังต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตอยู่ตลอด ในยามที่ความไม่แน่นอนมีอยู่ พ่อแม่ควรจะปรับความคิดตัวเองและเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในการเปิดรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เช่น เปิดเทอมไปโรงเรียนได้ 2 อาทิตย์ โรงเรียนอาจจะต้องปิด 2 อาทิตย์เนื่องจากมีการระบาด เด็กต้องกลับมาเรียนออนไลน์อีก เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่และเด็กควรเตรียมใจไว้เสมอ จะได้ไม่หงุดหงิด สับสน และไม่ทำให้เด็กตื่นกลัวหรือผิดหวังเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น

การปรับตัวและเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในยุค New normal เป็นสิ่งที่สำคัญ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองควรเตรียมความพร้อมเสมอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนยิ่งในช่วงเปิดเทอมที่เด็ก ๆ จะต้องกลับไปเรียนที่โรงเรียนจะต้องมีการสร้างความเข้าใจให้เด็ก ๆ รู้จักการป้องกันตนเองพร้อมสำหรับเปิดเทอม



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.ภิญญภา มุกด์จินดาภา

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.อภิญญา พราหมณี

กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน

เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน