Header

ดื่มนมเวลาไหนได้ประโยชน์ที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

นมเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด เพราะนมเต็มไปด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน, วิตามินเอ, บี 1, บี 2, บี 12, วิตามินดี โพแทสเซียม และแมกนีเซียม แต่ทราบหรือไม่ว่าการดื่มนมเวลาไหนเกิดประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด ?

  • ช่วงเวลา 05.00 – 07.00 น. ช่วงเวลานี้ควรดื่มนมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์ เพราะเป็นช่วงที่ลำไส้ใหญ่เริ่มทำงาน เพราะจุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวจะไปช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ระบบขับถ่ายมีการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ช่วงเวลา 07.00 – 09.00 น. การรับประทานอาหารเช้าคือสิ่งสำคัญ และถ้าหากดื่มนมตาม จะทำให้เรามีพลังงานในการทำงานเพิ่มขึ้น ช่วงเวลาอาหารมื้อเช้า การดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ หรือมอลต์ในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารให้ดีขึ้น
  • ช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น. การดื่มนมผสมโยเกิร์ต หรือกินโยเกิร์ตไขมันต่ำ จะสามารถไปช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพ มีความจำที่ดี
  • ช่วงเวลา 12.00-15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของระบบย่อยอาหาร ของกระเพาะกับลำไส้เล็ก หากดื่มนมเปรี้ยวในช่วงเวลานี้จะไปช่วยให้ลำไส้เล็กย่อยและดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น แนะนำดื่มหลังอาหาร
  • ช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. ควรเลือกดื่มนมเปรี้ยวอีกครั้ง เพราะเป็นช่วงเวลาการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและเพื่อช่วยทำให้ระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะขับถ่ายของเสียได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วงเวลา 17.00 – 21.00 น. เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการพักผ่อน การดื่มนมที่มีวิตามิน C และ E แทนอาหารเย็น จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและหัวใจได้ดี
  • ช่วงเวลา 21.00 – 23.00 น. การดื่มนมอุ่น ๆ ในเวลานี้จึงเหมาะสมที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีที่สุดอีกด้วย

การดื่มนมมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่ว่าจะเวลาไหน แต่การดื่มนมในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณแคลอรี่สูง เช่นเดียวกับอาหารทุกอย่าง เราควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม โดยกระทรวงสาธารณสุข แนะนำคนไทยดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย สำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและวัยรุ่น ควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว สำหรับผู้ใหญ่ ให้ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อันตรายเบาหวานในเด็ก

โรคเบาหวานนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก รวมทั้งมีสาเหตุและการดูแลรักษาที่แตกต่างกันกับโรคเบาหวานในผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อันตรายเบาหวานในเด็ก

โรคเบาหวานนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก รวมทั้งมีสาเหตุและการดูแลรักษาที่แตกต่างกันกับโรคเบาหวานในผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

“โลก 2 ใบ” ที่ผู้ป่วยเบาหวานเลือกได้

เพราะการรักษาโรคเบาหวานนั้น แพทย์เป็นเพียงผู้แนะนำ ส่วนผู้ป่วยจะต้องเลือกเองว่าจะ “ใช้ชีวิตอยู่กับโรค/โลกของเบาหวานจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต” หรือว่าจะเริ่ม “พิชิตโรคเบาหวาน” ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง “โรคเบาหวานควบคุมได้และอาจหายได้ด้วยความตั้งใจและความมีวินัยของตัวท่านเอง” ภายใต้คำแนะนำที่ปฏิบัติได้ด้วยตัวท่านเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“โลก 2 ใบ” ที่ผู้ป่วยเบาหวานเลือกได้

เพราะการรักษาโรคเบาหวานนั้น แพทย์เป็นเพียงผู้แนะนำ ส่วนผู้ป่วยจะต้องเลือกเองว่าจะ “ใช้ชีวิตอยู่กับโรค/โลกของเบาหวานจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต” หรือว่าจะเริ่ม “พิชิตโรคเบาหวาน” ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง “โรคเบาหวานควบคุมได้และอาจหายได้ด้วยความตั้งใจและความมีวินัยของตัวท่านเอง” ภายใต้คำแนะนำที่ปฏิบัติได้ด้วยตัวท่านเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม