Header

ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ท่านดูแลสุขภาพตับดีแล้วหรือยัง ? ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ เมื่อตับอักเสบติดต่อกันเป็นเวลานาน เซลล์ตับจะเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดภาวะตับแข็งได้

ดังนั้นเมื่อเราไม่มั่นใจว่า ณ ปัจจุบันตับเรายังสุขสบายดีอยู่หรือไม่นั้น เราสามารถตรวจเช็คการทำงานของตับด้วย ด้วย “ไฟโบรสแกน”


ไฟโบรสแกน คืออะไร ?

เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่เกิดความเจ็บปวดใด ๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะตับ (liver biopsy)


หลักการทำงานของเครื่องไฟโบรสแกน

ทำงานด้วยเทคโนโลยี VCTE (Vibration Controlled Transient Elastography) โดยเครื่องทำหน้าที่สร้างและส่งผ่านคลื่น shear wave ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ที่ทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนัง ส่งผ่านเข้าไปยังเนื้อตับ จากนั้นเครื่องจะวัดความเร็วของ shear wave ที่เคลื่อนกระจายผ่านเนื้อตับ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง แล้วคำนวณเป็นผลค่าความแข็งเนื้อตับ หน่วยแสดงผลเป็น กิโลพาสคาล (KPa) ยิ่งตับแข็งมาก shear wave ก็จะเคลื่อนที่เร็วมาก ค่าความแข็งเนื้อตับก็ยิ่งสูง

ส่วนการวัดปริมาณไขมันสะสมในตับสามารถวัดได้ด้วยการทำงานของ CAP (Controlled Attenuation Parameter) โดยวัดการลดทอนของคลื่นเสียงความถี่สูง ที่เข้าและออกจากตับ หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมาก ผลที่วัดได้ ค่า CAP จะสูงหน่วยแสดงผลเป็น เดซิเบล/เมตร (dB/m)


ตรวจ ไฟโบรสแกน เจ็บปวดหรือไม่ ?

การตรวจไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด บาดแผล หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงใด ๆ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ขณะตรวจอาจรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนผิวหนังบริเวณที่ตรวจบ้าง เมื่อตรวจเสร็จทราบผลทันที


ก่อนตรวจไฟโบรสแกน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

งดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

* ในกรณีต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้ง และปลอดภัย


ผลตรวจ ไฟโบรสแกน

พังผืดในตับ E (kPa) : คะแนนยิ่งสูงพังผืดยิ่งมาก

ไขมันในตับ CAP (dB/m) : คะแนนยิ่งสูงไขมันยิ่งมาก

ผลตรวจไฟโบรสแกน สามารถช่วยในการติดตามผลการดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตันและตับเข็ง เพื่อดูผลการตอบสนองของการรักษา และวางแผนการรักษาต่อไปโดยอาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับ ในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม หรือปฏิเสธการเจาะตับ


กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจ ไฟโบรสแกน
  • ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
  • ดื่มสุราเป็นเวลานาน
  • ผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับและโรคอ้วนลงพุง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผลตรวจมีภาวะตับผิดปกติ เช่น ผลตรวจจาก Liver Function Test, Ultrasound, CT
  • รับประทานยา, สมุนไพร ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • สำหรับคนทั่วไปก็ต้องการดูแลสุขภาพ

การตรวจไฟโบรสแกนมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ?
  • ไม่สามารถทำการตรวจในผู้ป่วยที่อ้วนมาก ๆ หรือผู้ที่มีน้ำในช่องท้อง เพราะสัญญาณอาจไปไม่ถึงเนื้อตับ
  • ไม่สามารถตรวจหาก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งในตับได้
  • ไม่ควรใช้กับหญิงที่ตั้งครรภ์
  • ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระยะลุกลาม

เพราะว่าตับ…เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีหน้าที่หลายอย่าง หากตับทำงานผิดปกติ นั่นย่อมหมายถึงสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงไปด้วย การตรวจไฟโบรสแกน (FIBRO SCAN) จึงเป็นทางเลือกที่ตอบสนองความต้องการของทุกคนได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถตรวจปริมาณไขมันเกาะตับและค่าตับแข็ง ได้โดยไม่ต้องเจาะตับ ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องเตรียมตัวยุ่งยากก่อนตรวจ ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน และทราบผลรวดเร็ว จึงทำให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน “ดูแลตับตั้งแต่วันนี้ ก่อนสายเกินไป”



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 เรื่องต้องห้ามก่อนเข้านอน

หากใครที่เป็นคนนอนหลับยากอยู่แล้ว สิ่งที่ไม่ควรทำก่อนเข้านอน 5 ข้อ หรือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนการเข้านอนที่จะส่งผลต่อการนอนหลับ และทำให้การนอนหลับของคุณมีประสิทธิภาพน้อยลงนั้นมีอะไรบ้าง

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 เรื่องต้องห้ามก่อนเข้านอน

หากใครที่เป็นคนนอนหลับยากอยู่แล้ว สิ่งที่ไม่ควรทำก่อนเข้านอน 5 ข้อ หรือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนการเข้านอนที่จะส่งผลต่อการนอนหลับ และทำให้การนอนหลับของคุณมีประสิทธิภาพน้อยลงนั้นมีอะไรบ้าง

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ตามข้อมูลในสถิติทั่วโลกที่มีการบันทึก ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย และเป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบในผู้หญิงทั่วโลก รองจากโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ตามข้อมูลในสถิติทั่วโลกที่มีการบันทึก ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย และเป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบในผู้หญิงทั่วโลก รองจากโรคมะเร็งปอด