Header

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ เปรียบดั่งศูนย์สั่งการควบคุมส่วนต่าง ๆ ให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ หากมีการอักเสบเกิดขึ้นตั้งแต่ชั้นเยื่อหุ้มสมองไปจนถึงเนื้อสมอง ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม ทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งขยับไม่ได้ และเป็นไข้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบพบมากในเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ และบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบในระยะแรกเริ่มอาจคล้ายคลึงอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยจะแสดงอาการมากขึ้นเมื่อผ่านไปหลายชั่วโมง หรือเป็นเวลา 2-3 วันแล้ว อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป มีดังนี้

  • คอแข็ง
  • มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ
  • ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน
  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • ชัก
  • แพ้แสงหรือไวต่อแสง
  • ไม่มีความกระหายหรืออยากอาหาร
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติ
  • ง่วงนอน หรือตื่นนอนยาก
  • ผิวหนังเป็นผื่น พบได้ในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น

"ภาพแสดงอาการปวดหัวรุนแรงซึ่งเป็นอาการหนึ่งของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ"

เด็กแรกเกิดจนกระทั่งอายุไม่เกิน 1 เดือน

สามารถเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน โดยอาจมีอาการดังนี้

  • ร้องไห้ตลอดเวลา
  • มีไข้สูง
  • ตัวและลำคอแข็ง
  • นอนหลับมากเกินไป หรือหงุดหงิดง่าย
  • เฉื่อยชา เคลื่อนไหวน้อย
  • กระหม่อมนูน
  • ดื่มนมได้น้อยลงมาก

 

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม และการใช้ของใช้ส่วนตัวบางอย่างร่วมกัน เช่น แปรงสีฟันหรือช้อน การรักษาสุขภาพและสุขอนามัยจึงเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันตนเองจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการติดเชื้อชนิดที่ร้ายแรงแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดโรค

นอกจากนี้ อีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้คือการฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่

 

วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ (Haemophilus Influenzae Type B)

เป็นวัคซีนป้องกันเชื้อที่อาจก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ข้ออักเสบ ปอดอักเสบ โดยฉีดให้เมื่อเด็กอายุมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป การฉีดวัคซีนชนิดนี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้เด็กรู้สึกเบื่ออาหาร

 

ในปัจจุบันเราสามารถตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ร่วมกับการตรวจอื่น ๆ ได้ เพื่อตรวจดูระบบประสาทและปัญหาภายในสมองให้ได้ผลที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น MRI สามารถแสดงภาพเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน



 

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

เป็นโรคที่อันตรายอย่างมากเกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการคอแข็ง มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ มีไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ชัก ถ้าหากเด็กอายุไม่เกิน 1 เดือนจะต้องคอยสังเกตอาการว่ามีกระหม่อมนูน เคลื่อนไหวช้า ร้องไห้ตลอดเวลาหรือไม่ ถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวหรือมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจดูระบบประสาทด้วยความแม่นยำ เพราะโรคนี้อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อฮิบ นอกจากจะป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแล้วยังรวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ข้ออักเสบ ปอดอักเสบ ได้อีกด้วย

 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์สมองและระบบประสาท

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคอัลไซเมอร์

คุณเคยสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านหรือไม่ว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคอัลไซเมอร์

คุณเคยสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านหรือไม่ว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก สาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาตและวิธีป้องกัน

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เป็นสาเหตุหลักของอัมพฤกษ์อัมพาต เรียนรู้วิธีการป้องกันและการรักษาเพื่อรักษาสุขภาพสมองของคุณ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดสมอง สโตรก สาเหตุอัมพฤกษ์อัมพาตและวิธีป้องกัน

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เป็นสาเหตุหลักของอัมพฤกษ์อัมพาต เรียนรู้วิธีการป้องกันและการรักษาเพื่อรักษาสุขภาพสมองของคุณ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)