Header

ประเมินความเสี่ยง โรคเบาหวานก่อนสาย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ประเมินความเสี่ยง โรคเบาหวานก่อนสาย | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวานแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ แต่มีอีกหลายคนไม่รู้ว่า อาการเบาหวาน เป็นอย่างไร

โรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน หากเทียบให้เห็นภาพคือเกือบเท่าคนกรุงเทพฯ ทั้งจังหวัดเลยทีเดียว

จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่าคนใกล้ตัวของเรา หรือแม้กระทั่งตัวเราเองนั้นก็ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หรืออาจจะได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยเบาหวานก็ได้ ดังนั้นเราควรมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อที่จะอยู่ได้อย่างมีความสุข

 

โรคเบาหวาน คืออะไร?

โรคเบาหวาน คือ อาการที่เป็นภาวะเรื้อรังของร่างกายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อันเนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือการที่ประสิทธิภาพของฮอร์โมนอินซูลินด้อยลง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนอินซูลิน ใน 2 กรณี ได้แก่

  • การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนลดลง
  • ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ซึ่งความบกพร่องดังกล่าวนี้ ทำให้ความสามารถของร่างกายในการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ร่างกายลดลง จนเกิดระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเป็นปริมาณมาก ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรค และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้น เช่น ตามองไม่ชัด ไตวายเรื้อรัง เท้าเป็นแผล โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต รวมไปถึงการตัดอวัยวะ เป็นต้นทดสอบความเสี่ยงเบาหวาน-โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคเบาหวาน

  • อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน (ค่า BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 หรือมีรอบเอวมากกว่ามาตรฐาน
    โดยผู้ชายรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 ซม. ส่วนผู้หญิงรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ซม.)
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักบุตรแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่ดื่มสุรา
  • ผู้ที่สูบบุหรี่

 

 

ค่า BMI บอกภาวะของท่าน

ค่า BMI (Body Mass Index) คือ ค่าดัชนีมวลกาย ที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร)

โดยประโยชน์ของ BMI ถูกนำมาใช้เป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและภาวะผอม ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ประเมินกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ BMI ยังสามารถใช้ประเมินอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย

 

อาการของโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยในระยะแรกมักไม่มีอาการ ทำให้ไม่ได้เข้ามาพบแพทย์ ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการรักษาไป ดังนั้นเราควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงสูงควรมารับการตรวจคัดกรอง เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนผู้ที่เป็นเบาหวานมาได้สักระยะหนึ่งแล้วมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • กระหายน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
  • รับประทานมากขึ้นแต่น้ำหนักลด
  • ตาพร่าลาย เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
  • มีแผลเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง


เพราะฉะนั้นสังเกตให้ดี หากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการเหล่านี้ อย่ารอช้า รีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยด่วน!

 

ตรวจเบาหวาน-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานนั้น สามารถตรวจได้ 4 วิธี ดังนี้

  1. ในกรณีที่มีอาการของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย กินจุแต่น้ำหนักลด เป็นต้น สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด โดยไม่ต้องงดอาหาร ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg%
  2. ในกรณีที่มีความเสี่ยงแต่ไม่มีอาการ สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด โดยงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg% ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ดีที่สุด เพราะสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ทำให้ผลการรักษามักจะดี
  3. ตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด โดยมีระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C)  มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%
  4. ตรวจวินิจฉัยด้วยการให้รับประทานน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม หลังรับประทานทาน 2 ชั่วโมง หากมีระดับน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg% ถือว่าเข้าเกณฑ์

 

อาการเบาหวาน-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

การรักษาเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ในปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ให้มีการใช้ชีวิตใกล้เคียงคนปกติได้ ซึ่งประกอบด้วย

 

การรักษาแบบใช้ยา

ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ยารับประทานและยาฉีด โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยในปัจจุบันยารักษาโรคเบาหวานนั้นมีผลข้างเคียงน้อย และสะดวกในการใช้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย 

 

การรักษาแบบไม่ใช้ยา

คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คุมอาหาร และออกกำลังกาย เช่น

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำ ทำให้มีการดูดซึมน้ำตาลช้า อิ่มนาน เช่น วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต ผักใบเขียว ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี่ กล้วยน้ำว้า เป็นต้น
  • รับประทานน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน  ว่ายน้ำ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง หรืออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

 

รักษาเบาหวานแบบไหนที่เรียกว่ารักษาแล้วได้ผลดี ?

การรักษาเบาหวานมีเป้าหมายหลัก ๆ อยู่ 3 ข้อ ดังนี้

  1. รักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คือระดับน้ำตาลหลังงดน้ำและอาหาร (Fasting Plasma Glucose) อยู่ระหว่าง 80 - 130 mg% และน้ำตาลสะสม (HbA1C) น้อยกว่า 6.5% โดยในผู้สูงอายุอาจปรับลดเป้าหมายลง เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
  2. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งข้อนี้แพทย์ที่ดูแลจะประเมินอย่างต่อเนื่องและ เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. การตรวจโรคร่วมอื่น ๆ  อันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

 

บทความโดย :  รงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
#ไม่ต้องห่วงให้เราช่วยดูแล



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

01 มีนาคม 2567

5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่าด้วย 5 เคล็ดลับในการป้องกันโรคเบาหวาน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข

ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวานแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่รู้หรือไม่ว่าคนเป็นโรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข

ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวานแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่รู้หรือไม่ว่าคนเป็นโรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม