Header

ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย

ทว่า ในบางครั้ง การออกกำลังกายมากเกินไป หรือการออกกำลังกายผิดวิธี ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หลายคนอาจเกิดอาการปวดเข่าจากการเล่นกีฬา เนื่องจากมีอาการใช้งานกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อบริเวณหัวเข่าผิดวิธีหรือมากเกินไป โดยนอกจากบริเวณขาหรือเข่าที่เรามักพบอาการปวดหลังเล่นกีฬาแล้ว อาการปวดหรือเจ็บหลัง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่มักพบได้ และที่สำคัญสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

ทำไมออกกำลังกายแล้วถึงมีอาการปวดหลัง?

แผ่นหลังของมนุษย์นั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหลายมัดที่ช่วยผยุงกระดูกสันหลังและลำตัวให้ตั้งตรง นั่นแปลได้ว่า เรามีการใช้กล้ามเนื้อหลังอยู่ตลอดเวลาอย่างเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง โดยทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน การนั่ง และแน่นอนว่าการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาการใช้กล้ามเนื้อหลังทั้งสิ้น เนื่องจากมนุษย์เราใช้แผ่นหลังเพื่อพยุงลำตัวและช่วยในการเคลื่อนไหวขณะออกกำลังกาย หรือแม้แต่การยกน้ำหนัก โยน ขว้าง หรือตี ดังนั้น เมื่อเราใช้งานร่างกายด้วยบริบทดังกล่าวผิดวิธีหรือมากเกินไป จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดได้

การปวดหลังจากการออกกำลังกาย มีกี่แบบ?

อาการบาดเจ็บ หรือปวดหลังจากการออกกำลังกาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ตามบริเวณหรืออวัยวะส่วนที่เกิดอาการเจ็บปวด ได้แก่:

  • กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการออกกำลังกายมากที่สุดคือ กระดูกสันหลังส่วนเอว ในบริเวณนี้จะมีข้อต่อกระดูกสันหลังซึ่งช่วยให้กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกัน เป็นระบบที่ทำให้กระดูกสันหลังสามารถเคลื่อนไหวได้ และระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นนี้เอง จะมีหมอนรองกระดูกสันหลังคั่นอยู่ตรงกลาง หากหมอนรองกระดูกส่วนนี้ฉีกขาดจะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้
  • กล้ามเนื้อหลัง อาการบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อบริเวณที่ยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลังโดยมีเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกแต่ละชิ้นเข้าไว้ด้วยกัน
  • เส้นประสาทไขสันหลัง ในโพรงกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทไขสันหลังคอยรับความรู้สึกและทำหน้าที่สั่งงานไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากได้รับการบาดเจ็บบริเวณนี้ อาจส่งผลให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงได้

อาการบาดเจ็บส่วนหลังจากการออกกำลังกาย มีอะไรบ้าง?

  1. ความปวดจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบ เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อหลังผิดวิธี มีการออกแรงมากเกินไป ไม่มีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ
  2. ปวดกลางบั้นเอว เกิดจากการเคลื่อนของกระดูกอ่อนบริเวณหลังส่วนที่เชื่อมกับกระดูกเชิงกราน เนื่องจากเป็นกระดูกบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ จึงมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากกว่าบริเวณอื่น

สามารถป้องกันการบาดเจ็บที่หลังได้อย่างไร?

ควรมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย ออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและไม่หนักเกินไป หากมีอาการปวดหลังให้หยุดออกกำลังกายแล้วประคบด้วยน้ำแข็งเป็นเวลาประมาณ 15 – 30 นาที สามารถรับประทานยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการได้

5 สัญญาณอันตรายจากการปวดหลัง ควรพบแพทย์

  • เรื้อรังติดต่อกันนาน 3 เดือน
  • ปวดร้าวลงสะโพก ขา จนถึงน่องหรือเท้า
  • ปวดเฉียบพลัน ปวดรุนแรงจนเคลื่อนไหวไม่ได้ และไม่ทุเลาลงแม้ได้พัก
  • ปวดหลังจากได้รับอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม
  • มีอาการปวดร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้: ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง มีอาการชาที่ขา เท้า หรือรอบทวารหนัก เนื่องจากอาจเป็นภาวะฉุกเฉินของกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น


แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง

อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม