Header

โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยจากโรคกระดูกที่ไม่ควรมองข้าม

นพ.กุลพัชร จุลสำลี | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

โรคข้อเข่าเสื่อม-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis)

ข้อเข่าเสื่อม หมายถึง ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) เกิดการเสื่อมสภาพและสึกหรอ โดยในระยะแรกนั้นกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีการสูญเสียคุณสมบัติทางชีวโมเลกุล มีความหนาของชั้นผิวข้อที่ลดลง เมื่อเป็นมากขึ้นกระดูกอ่อนผิวข้อจะเสื่อมสภาพไปทั้งหมด ทำให้กระดูกบริเวณข้อต่อเกิดการเสียดสีโดยตรง เป็นสาเหตุของอาการเจ็บขัดในการใช้ชีวิตประจำวัน ในระยะสุดท้ายจะเกิดปัญหาข้อเข่าผิดรูป, ข้อเข่าหลวมไม่มั่นคง, ขยับข้อเข่าได้ลดลง ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตอย่างมาก

 

โรคข้อเข่าเสื่อม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (primary osteoarthritis of knee)

หมายถึง ภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด รวมถึงภาวะข้อเข่าเสื่อมที่เกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ทั้งนี้โอกาสเป็นโรค และความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันไปขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  1. เพศหญิง พบว่าเพศหญิงมีโอกาสป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 1.7 เท่า
  2. มีน้ำหนักเกินคำมาตรฐาน ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (body mass index) มากกว่า 23 จะความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 2.0-2.7 เท่าของผู้ที่มีดัชนีมวลกายอย่างน้อย 23
  3. มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการยกของหนัก การย่อตัวคุกเข่ากับพื้นบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น เกษตรกร, ช่างก่อสร้าง เป็นต้น
  4. ขาดการออกกำลังกาย หรือมีวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง (sedentary lifestyle)
  5. ปัจจัยด้านพันธุกรรม
     

2. ข้อเข่าเสื่อมชนิดทุติยะภูมิ (secondary osteoarthritis of knee)

หมายถึง ภาวะข้อเข่าเสื่อมที่มีสาเหตุแน่ชัด อาทิเช่น

  1. มีประวัติเป็นโรคข้อเข่าติดเชื้อรุนแรงมาก่อน
  2. เคยประสบอุบัติเหตุ กระดูกหักร่วมกับกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย หรือกระดูกขาหักติดผิดรูป
  3. มีประวัติได้รับการบาดเจ็บ เส้นเอ็นข้อเข่าฉีกขาด เช่น เอ็นไขว้หน้า หรือไขว้หลังขาด เป็นต้น
  4. มีโรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบรูมาติซั่ม, โรคเกาต์ หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นตัน


อาการ และอาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถแบ่งได้ ดังนี้

อาการในระยะแรก

  1. อาการขัดในข้อเข่า โดยจะมีอาการในช่วงแรกของการเดิน อาการมักจะเกิดขึ้นภายหลังจากตื่นนอน หรือนั่งเป็นระยะเวลานาน อาการขัดมีลักษณะคล้ายเข่าติด ไม่สามารถก้าวเดินได้ทันที อาจต้องยืนสักพักแล้วค่อย ๆ ก้าวเดิน เมื่อเดินต่อไปสักระยะอาการจะทุเลาลง
  2. มีเสียงดังกรอบแกรบคล้ายของแข็งเสียดสีกันในข้อเข่า โดยสามารถสังเกตได้โดยการวางมือที่ด้านหน้าหัวเข่า แล้วขยับเข่างอ-เหยียดไปมา จะรู้สึกได้ถึงลักษณะฝืดเคืองในหัวเข่า
  3. เจ็บหัวเข่าทุกครั้งที่ขึ้น-ลงบันได หรือนั่งแล้วลุกจากพื้นราบ

 

อาการเมื่อเป็นข้อเข่าเสื่อมระยะหลัง

  1. มีอาการปวดขัดมากขึ้น โดยมักจะมีอาการตลอดระยะเวลาที่เดิน
  2. มีอาการข้อเข่าบวมอักเสบบ่อย ๆ โดยมักจะเป็นภายหลังจากการเดินเป็นระยะเวลานาน
  3. ข้อเข่าผิดรูป อาทิเช่นข้อเข่าโก่ง คด หรือเก
  4. งอ-เหยียดหัวเข่าได้ไม่สุด
  5. หัวเข่าหลวม เวลาเดินลงน้ำหนักมีการสะบัดของข้อเข่า ทำให้ทรงตัวลำบากหรือเดินตัวเอียง

 

การรักษาโรคช้อเข่าเสื่อม

เนื่องจากโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย ในปัจจุบันยังไม่มีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทำให้หัวเข่าหายเสื่อม หรือกลับไปเป็นข้อเข่าปกติได้ ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการที่เกิดจากการเสื่อม และชะลอการเสื่อมมิให้เกิดการดำเนินโรคมากขึ้นเท่านั้น โรคข้อเข่าเสื่อมทุกระยะมีโอกาสดีขึ้นด้วยวิธีการักษาแบบอนุรักษนิยม ดังนั้นผู้เป็นที่โรคข้อเข่าเสื่อมทุกคนควรเริ่มต้นการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมก่อนเสมอ ซึ่งได้แก่

 

  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิเช่น หลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น, การคุกเข่า, หรือนั่งเก้าอี้ที่มีความสูงต่ำกว่าระดับหัวเข่าเป็นต้น
  • การควบคุมน้ำหนักตัว โดยมีเป้าหมายให้ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (20-23 kg/m2 ) 
  • การออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าอย่างสม่ำเสมอ เลือกการออกกำลังกายที่ไม่เกิดแรงกระแทกบริเวณหัวเข่า เช่น การเดิน, เดินเร็ว, ขี่จักรยาน และว่ายน้ำ เป็นต้น 
  • หลีกเลี่ยงการยก หรือแบกของหนักโดยไม่จำเป็น
  • การใช้ยารับประทานตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาบรรเทาอาการปวด อักเสบ เป็นต้น
  • ในกรณีที่อาการเป็นมาก อาจพิจารณาการฉีดยาเข้าข้อเข่าได้ตามวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอนุรักษ์นิยมแล้วอาการไม่ดีขึ้นตามสมควรนั้น แพทย์ผู้รักษาอาจแนะนำวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นมีหลายวิธี อาทิ เช่น การผ่าตัดแก้ไขแนวกระดูกขา (high tibia osteotomy, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบด้านเดียว (unicompartment knee replacement) และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมทั้งข้อ (total knee replacement) เป็นต้น ซึ่งมีข้อบ่งชี้แตกต่างกัน ขึ้นกับอาการ, ระยะของโรค และวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นเป็นภาวะที่พบได้มากขึ้นในสังคมสูงอายุ อย่างไรก็ตามการดูแลสุขภาวะที่ดี รวมถึงการออกกำลังกายอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค ชะลอ และบรรเทาอาการของโรคได้เป็นอย่างดี

 

บทความโดย : นพ.กุลพัชร จุลสำลี แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ.วสันต์ ซุนเฟื่อง

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

ผศ.นพ.กลวัชร ทรัพย์สวนแตง

ศัลยแพทย์กระดูก/ภาวะบาดเจ็บ (กระดูกหักและข้อเคลื่อน)

แผนกอายุรกรรม

พญ.ศิริพรรณ คุณมี

อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อไหล่ติด รักษาหายได้ ต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี

ข้อไหล่ติด อีกหนึ่งอาการป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ไม่ใช่โรคร้ายที่รุนแรง แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของการหยิบจับวัตถุที่ต้องยกไหล่ การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้า

นพ.กุลพัชร จุลสำลี | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อไหล่ติด รักษาหายได้ ต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี

ข้อไหล่ติด อีกหนึ่งอาการป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ไม่ใช่โรคร้ายที่รุนแรง แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของการหยิบจับวัตถุที่ต้องยกไหล่ การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้า

นพ.กุลพัชร จุลสำลี | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

07 มีนาคม 2567

กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากอะไร

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากการที่กระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาทสันหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่คอหรือกระดูกสันหลังส่วนคอ ไปจนถึงหลังส่วนล่างหรือกระดูกสันหลังส่วนเอว

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

07 มีนาคม 2567

กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากอะไร

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากการที่กระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาทสันหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่คอหรือกระดูกสันหลังส่วนคอ ไปจนถึงหลังส่วนล่างหรือกระดูกสันหลังส่วนเอว

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม