Header

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร?

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดกลุ่มอาการดังกล่าว ได้แก่

 

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม

  • ท่าทางการทำงาน (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
  • สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน

 

อาการของออฟฟิศซินโดรม

  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Mtofascial Pain Syndrome) โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า สะบัก ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชา เป็นต้น
  • การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโค่นนิ้วโป้ง (De Quervain’s Disease) นิ้วล็อค (Trigger Finger)
  • การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ถ้าหากรุนแรง (Nerve Entrapment) เช่น พังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpel Tunnel Syndrome) พังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก (Cubital Tunnel Syndrome)

 

 

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

  • ปรับท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม เช่น วางข้อมือให้ตรง นั่งหลังตรงชิดกับพนักพิง
  • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เช่น ปรับหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบายได้
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น พักยืดกล้ามเนื้อทุก 1 ชั่วโมง เปลี่ยนท่าทางทุก 20 นาที พักสายตาจากหน้าจอทุก 30 นาที
  • การออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ เช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
     

การรักษาออฟฟิศซินโดรม

  • การยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง
  • การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด เช่น Ultrasound, HIGH power LASER, Heat
  • การนวดแผนไทย
  • การฝังเข็ม
  • การรับประทานยา

Ultrasound Diathermy

  • การรักษาด้วยความร้อนลึกด้วยคลื่นเสียง
  • ลดอาการปวด คลายกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียน

High power LASER

  • การรักษาด้วยความร้อนลึกด้วยคลื่นแสง
  • ลดอาการปวด คลายกล้ามเนื้อ
  • กระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

 

Checklist ประเมินโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยออฟฟิศซินโดรม

  • คุณเป็นคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
  • ระหว่างทำงาน คุณมักจะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ ไหล่ หลัง เอว อยู่เสมอ
  • ระหว่างทำงาน คุณรู้สึกปวดเมื่อยจนบางครั้งต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อให้หายปวด
  • คุณรู้สึกตาพร่ามัว อ่านหน้าจอไม่ชัด ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

หากคำตอบของคุณส่วนใหญ่คือใช่ นั่นหมายความว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรม และแม้ว่าออฟฟิศซินโดรมจะไม่ใช่โรคหรือการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือการรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งกระทบต่อประสิทธิภาพและความสุขในการทำงานได้ ดังนั้นจึงควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์โดยด่วน

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งกระเพาะอาหาร

ปวดท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ แต่เราเคยสงสัยไหมว่าอาการปวดเหล่านี้ บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งกระเพาะอาหาร

ปวดท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ แต่เราเคยสงสัยไหมว่าอาการปวดเหล่านี้ บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม