โรคกระดูกพรุน การดูแล และการป้องกัน
วิธีป้องกันตัวจากโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือโรคที่ทำให้ความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง จนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกหัก เพราะโดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะสะสมมวลกระดูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30-35 ปี จากนั้นมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มวล
กระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี มวลกระดูกจะลดต่ำลงจนถึงจุดเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
วิธีการป้องกับโรคกระดูกพรุน
1. ดื่มนม และกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยสามารถทำได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอายุ 30ปี เพื่อสะสมแคลเซียมในกระดูก ทั้งผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี่ ปลาตัวเล็ก ๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น
2. กรณีที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ สามารถกินแคลเซียม และวิตามินดีเสริม เพื่อให้กระดูกคงสภาพที่ดี และลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก
3. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดการสลายของแคลเซียมจากกระดูก
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า และสูบบุหรี่
5. ไม่นั่ง ๆ นอน ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่ขยับเขยื้อนร่างกาย
6. ระมัดระวังตัวเอง และไม่วางของเกะกะในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการสะดุด หกล้ม
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ก็สามารถตรวจได้ด้วยเครื่องตรวจมวลกระดูก โดยเครื่องจะใช้รังสีปริมาณเล็กน้อย เพื่อสแกนจุดสำคัญในร่างกาย 2 จุด คือ บริเวณกระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก เนื่องจากบริเวณนี้ หากพบภาวะกระดูกพรุน และหักจะเกิดอันตราย
ส่งผลกับคุณภาพชีวิตมาก
ส่วนการรักษานั้นจะรักษาด้วยการใช้ยา โดยแบ่งยาออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
1. ยาที่ยับยั้งเซลล์สลายกระดูกให้ทำงานช้าลง
2.ยาที่กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกให้ทำงานเร็วขึ้น
แม้โรคกระดูกพรุน จะไม่ทำให้เสียชีวิตในทันที แต่หากกระดูกหักก็จะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้ หากเกิดกับผู้สูงอายุก็อาจทำให้มีโอกาสเป็นผู้ป่วยติดเตียงสูง จนเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา และเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตได้เช่นกัน
บทความโดย : นพ.กุลพัชร จุลสำลี แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา
สามารถติดต่อสอบถามเราได้
Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv
หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์กระดูกและข้อ
สถานที่
อาคาร A ชั้น G
เวลาทำการ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 4110