Header

กรมควบคุมโรค ตามสถานการณ์ “โรคไข้หวัดมะเขือเทศ” ในอินเดีย เผย พบผู้ป่วยเด็ก อาการไม่รุนแรง หายเองได้

16 พฤศจิกายน 2565

กรมควบคุมโรค ตามสถานการณ์ “โรคไข้หวัดมะเขือเทศ” ในอินเดีย เผย พบผู้ป่วยเด็ก อาการไม่รุนแรง หายเองได้ 

สถานการณ์ “โรคไข้หวัดมะเขือเทศ” ในประเทศอินเดีย ได้กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นน่าสนใจในสังคม โดยกรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าว และได้ให้ข้อมูลดังนี้ : 

ไข้หวัดมะเขือเทศ ไม่เกี่ยวข้องกับการรับประทานมะเขือเทศ 

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato Flu) ในประเทศอินเดียเป็นกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบผู้ติดเชื้อเกือบร้อยราย เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายจากการสัมผัส เช่น การสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด หรือนำสิ่งของเข้าปาก จึงทำให้กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ง่ายเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานมะเขือเทศแต่อย่างใด และจากรายงานผู้ติดเชื้อทั้งหมด ยังไม่พบผู้เสียชีวิต 

ไข้หวัดมะเขือเทศ มีอาการอย่างไร 

อาการเริ่มต้นจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ ปวดเมื่อยตัว ต่อมามีผื่นขึ้น ผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแดง และเป็นตุ่มน้ำคล้ายมะเขือเทศ จากการสันนิษฐานลักษณะทางระบาดวิทยาและอาการเด็กที่ป่วยจะคล้ายกับโรคมือ เท้า ปาก ที่พบบ่อยได้ในเด็ก ไม่ใช่โรคติดเชื้อชนิดใหม่ 

ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทย 

จากข้อมูลเบื้องต้นที่มี สามารถกล่าวได้ว่าสถานการณ์ของโรคไข้หวัดมะเขือเทศ “ยังไม่น่ากังวล” อีกทั้งยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยในประเทศไทย และโรคดังกล่าวเป็นการแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด  ซึ่งกระบวนการคัดกรองและรักษาในประเทศก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับการรักษาโรคมือ เท้า ปากในเด็ก และปัจจุบันมีทั้งชุดตรวจคัดกรอง ยารักษาในสถานพยาบาลในประเทศทุกระดับ 

แนะผู้ปกครอง ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ในช่วงฤดูฝน 

ในช่วงฤดูฝนของทุกปี จะเป็นช่วงเวลาที่อากาศเย็นและชื้น เป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย จึงขอความร่วมมือผู้ปกครองระมัดระวังดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หมั่นทำความสะอาดของเล่น และบริเวณพื้นที่ที่เด็กอยู่เป็นประจำ เพื่อลดเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม 

อ้างอิง : กองระบาดวิทยา/กองโรคติดต่อทั่วไป/ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค (ข้อมูล ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2565) 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

01 ธันวาคม 2566

PRINC ดัน ‘พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ’ ขึ้นฮับรับต่างชาติ ทุ่ม 150 ล้าน ผุดศูนย์เฉพาะทาง “Heart-Brain-Bone” ตามแผน

รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ถือเป็นรพ.ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่คาดธุรกิจรพ.จะชะลอลง แต่รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง

01 ธันวาคม 2566

PRINC ดัน ‘พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ’ ขึ้นฮับรับต่างชาติ ทุ่ม 150 ล้าน ผุดศูนย์เฉพาะทาง “Heart-Brain-Bone” ตามแผน

รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ถือเป็นรพ.ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่คาดธุรกิจรพ.จะชะลอลง แต่รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง

04 ธันวาคม 2566

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)

แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและบริษัท บีเจเอช เมดิคอล จำกัด ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Transcranial Magnetic Stimulation (TMS): Clinical practice in Stroke rehabilitation

04 ธันวาคม 2566

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)

แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและบริษัท บีเจเอช เมดิคอล จำกัด ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Transcranial Magnetic Stimulation (TMS): Clinical practice in Stroke rehabilitation

01 พฤศจิกายน 2566

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จัดกิจกรรม World Stroke Day 2023

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จัดกิจกรรมวันโรคหลอดเลือดสมองโลก World Stroke Day 2023

01 พฤศจิกายน 2566

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จัดกิจกรรม World Stroke Day 2023

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จัดกิจกรรมวันโรคหลอดเลือดสมองโลก World Stroke Day 2023