โรคเบาหวาน อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน
20 กุมภาพันธ์ 2567
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือโรคที่เกิดจากปัญหาในการควบคุมน้ำตาลในเลือด ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
อาการของโรคเบาหวาน
- ปวดปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
- คอแห้ง กระหายน้ำ
- รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ
- น้ำหนักลด
- มีอาการคันที่อวัยวะเพศ
- แผลหายช้า
- ตาเบลอ
- หิวบ่อย อยากอาหาร
โรคเบาหวานมีกี่ชนิด
ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของโรคเบาหวานตามการจำแนกขององค์กรอนามัยโลก (WHO 2019) ซึ่งมีการเพิ่มโรคเบาหวานชนิดผสมระหว่าง เบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ทำให้มีการแบ่งเบาหวานเป็น 6 ชนิด
-
โรคเบาหวานประเภท 1
เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เนื่องจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้เซลล์ที่ผลิตอินซูลิน (ฮอร์โมนที่แปลงน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน) ถูกทำลาย ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นจำเป็นต้องควบคุมอาหารและฉีดอินซูลินเข้าร่างกายทุกวัน หากร่างกายขาดอินซูลินอาจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
-
โรคเบาหวานประเภท 2
เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายต่อต้านอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคอันตรายที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและเส้นประสาทในอนาคตได้ บุคคลที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน มีคอเลสเตอรอลสูง หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าบุคคคลอื่นๆ การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ จะเน้นที่การออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด บางกรณีอาจต้องใช้ยาเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ร่วมด้วย และฉีดอินซูลินเพื่อให้ร่างกายนำกลูโคสออกมาใช้งานได้ดีขึ้น
-
โรคเบาหวานประเภท 3
โรคเบาหวานชนิดผสมระหว่างชนิดที่ 1 และ 2 (Hybrid from of Diabetes) ซึ่งจะมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 เช่น Slowly Evolving Immune Mediated Diabetes ที่มีอาการคล้ายเบาหวานชนิดที่ 2 คือมีอาการน้อย โดยช่วงแรกสามารถทานยาได้ แต่หลังจากนั้นจะต้องใช้ยาฉีด
-
โรคเบาหวานประเภท 4
โรคเบาหวานที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น เบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคเบาหวนที่เกิดจากโรคตับอ่อน
-
โรคเบาหวานประเภท 5
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีครรภ์ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่มีการผลิตน้ำตาลในเลือดมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะหายไปหลังจากคลอดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ในภายหลังได้ และลูกน้อยก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนตั้งแต่ยังเป็นเด็กหรือวัยรุ่น และเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ในภายหลังได้เช่นกัน
-
โรคเบาหวานประเภท 6
โรคเบาหวานที่ไม่สามารถแยกชนิดได้ เมื่อได้รับการวินิจฉัย (Unclussified Diabetes)
ภาวะก่อนเบาหวาน
ภาวะก่อนเบาหวาน คือสถานะที่ร่างกายเริ่มมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป (Fasting Plasma Glucose 100-125 mg) โดยมากมักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี มักไม่มีอาการบ่งบอก ซึ่งร่างกายยังสามารถปรับตัวหรือควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ ในระยะนี้ การปรับพฤติกรรมการาบริโภค เช่น การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตน้อยลง จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานในอนาคต
การป้องกันและการรักษา
การเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ช่วยให้หลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เช่น ความเสียหายของเส้นประสาท ไต และหัวใจ มาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลโรคเบาหวานกันดีกว่า
- ลดน้ำหนักส่วนเกิน
- ออกกำลังกายให้มากขึ้น
- กินอาหารจากพืชเพื่อสุขภาพ
- กินไขมันที่ดีต่อสุขภาพ
- เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
ที่มา: แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน 2566
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แผนกอายุรกรรม
สถานที่
อาคาร A ชั้น G
เวลาทำการ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 4011