Header

รู้จักการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

  • การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยจะผ่านเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ และถ่ายทอดเป็นภาพออกมาให้เราได้เห็นภายในอวัยวะที่เราสนใจ
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะสอดกล้องผ่านเข้าปากทวารหนัก เพื่อทำการตรวจลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อประเมินว่ามีรอยโรคซึ่งเป็นสาเหตุของอาการของผู้ป่วยหรือไม่
  • อีกประโยชน์ที่สามารถได้จากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ และหากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อซึ่งมีความเสี่ยงในการกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต จะสามารถทำการตัดติ่งเนื้อออกเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ใครบ้างที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
  • เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่าจะมีรอยโรคอยู่ในลำไส้ใหญ่ และจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้อง
  • เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำตั้งแต่อายุ 50-75 ปี เป็นต้นไป หรือมีอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่นภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กโดยไม่พบสาเหตุ น้ำหนักลดเยอะ ร่วมกับมีการขับถ่ายผิดปกติเช่นท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
  • เริ่มต้นจากการตรวจและประเมินโดยแพทย์ว่ามีข้อบ่งชี้ และสภาวะของผู้ป่วยมีความเหมาะสมในการที่จะรับการตรวจได้อย่างปลอดภัย
  • การเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้องเพื่อจะได้ได้ทำการประเมินได้อย่างเหมาะสม ไม่มีอุจจาระหรือกากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้ ซึ่งอาจรบกวนการตรวจวินิจฉัย โดยแนะนำให้ 2 วันก่อนการตรวจ ทานอาหารย่อยง่าย งดผลไม้ที่มีกากใย
  • 1 วันก่อนการตรวจรับประทานอาหารเหลวใส ได้แก่ ซุปใส น้ำหวาน หรือน้ำผักผลไม้ที่แยกกากแล้ว
  • ผู้ป่วยจะได้รับการสั่งยาระบาย เพื่อเตรียมลำไส้ ขอให้รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ
  • งดน้ำ อาหารและเครื่อง ดื่มทุกชนิดก่อนมารับการตรวจอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • แจ้งโรคประจำตัว, ยาที่รับประทานประจำ และยาที่แพ้ ให้แพทย์ทราบเมื่อมาถึงโรงพยาบาล

ขั้นตอนเมื่อมาถึงศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร
  • ผู้ป่วยจะได้รับการวัดสัญญาณชีพ และประเมินอาการก่อนทำการส่องกล้อง
  • ขณะเข้ารับการตรวจ จะได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บปวดระหว่างส่องกล้อง
  • แพทย์จะใส่กล้องเข้าทางทวารหนัก เพื่อทำการตรวจประเมิน ซึ่งกระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที
  • ภายหลังเสร็จสิ้นการตรวจ ผู้ป่วยอาจยังมีอาการง่วงซึมจากยาระงับความรู้สึก จะได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว สามารถกลับบ้านหรือย้ายขึ้นห้องพักผู้ป่วยได้

คำถามที่พบบ่อย

# การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เจ็บไหม ต้องฉีดยาให้หลับไหม?

  • การส่องกล้อง ไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผล แต่ก็อาจมีความไม่สุขสบายระหว่างกระบวนการส่องกล้องได้ แต่จะมีการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อป้องกันความไม่สุขสบายดังกล่าว

# มาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ต้องนอนโรงพยาบาลไหม?

  • โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถเข้ารับการตรวจและกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามผู้ป่วย ควรมีญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย เนื่องจากหากได้รับยาระงับความรู้สึกแบบฉีด ต้องเลี่ยงการขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ
  • ทั้งนี้ในบางรายที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือด้วยสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาให้สังเกตอาการต่อในโรงพยาบาล โดยพิจารณาเป็นกรณีไป

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer)

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer) ใช้สำหรับวัดน้ำหนัก ส่วนสูง และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย องค์ประกอบร่างกาย ความดันโลหิตแบบสอดแขน อุณหภูมิร่างกาย และปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด พร้อมระบบเชื่อมต่อเข้า HIS ของโรงพยาบาล สะดวก สบาย มีความถูกต้อง แม่นยำ

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer)

เครื่องวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI Analyzer) ใช้สำหรับวัดน้ำหนัก ส่วนสูง และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย องค์ประกอบร่างกาย ความดันโลหิตแบบสอดแขน อุณหภูมิร่างกาย และปริมาณความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด พร้อมระบบเชื่อมต่อเข้า HIS ของโรงพยาบาล สะดวก สบาย มีความถูกต้อง แม่นยำ

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม