Header

เบาหวานแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

บาหวานแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร-01 พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เบาหวานแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร?

เบาหวานเป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี แม้จะเป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยและการเสียชีวิตสูง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่า สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แต่อันที่จริงแล้ว สาเหตุของโรคเบาหวานนั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน

 

 

 

 

โรคเบาหวานคืออะไร ?

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพ และทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมถึงเป็นแผลง่ายหายยาก ชาปลายมือปลายเท้า

โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุการเกิดโรค

 

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes mellitus, T1DM)

เป็นโรคเบาหวานที่พบได้แม้ในผู้ที่อายุยังน้อย ไม่ถึง 40 ปี สาเหตุเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสู่เซลล์ภายในร่างกายเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน พบได้ราว 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย มักพบในผู้ป่วยที่มีรูปร่างผอม มีอาการปัสสาวะมาก กระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำมาก อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเฉียบพลัน อาการอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง บางกรณีพบภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (Ketoacidosis) ซึ่งในกรณีนี้จำเป็นที่จะต้องทำการฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ

 

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes mellitus, T2DM)

ผู้เป็นเบาหวานชนิดนี้ มักมีอายุมากกว่า 40 ปี สาเหตุเนื่องมาจากการที่ร่างกายตอบสนองอินซูลินได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือที่เรียกว่าภาวะดื้ออินซูลินนั่นเอง โดยมักเกิดจากความอ้วน และถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม แต่ก็สามารถทานยารักษาเบาหวานได้ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

 

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus, GDM)

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) มีแนวโน้มที่จะเกิดในช่วง 24 – 48 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เกิดจากมีภาวะดื้ออินซูลินมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งปัจจัยอาจมาจากรก หรืออื่น ๆ และตับอ่อนของมารดาไม่สามารถผลิตอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการได้ สำหรับมารดาที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และไม่สามารถคุมน้ำตาลได้นั้น จะมีผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวมาก หรือภาวะทารกตัวโต (Macrosomia) ทำให้มารดาคลอดแบบปกติยาก หรืออาจเกิดความเสี่ยงในการคลอด อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะหายไปหลังจากคลอดบุตร แต่มารดาจะมีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และทารกที่เกิดมาจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน และพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เช่นกัน

 

โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes)

โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน การได้รับยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือสารเคมี เป็นต้น

 

 

 

 

 

เบาหวานที่พบโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นแบบไหน ?

สำหรับในประเทศไทยเบาหวานที่พบมากที่สุดคือชนิดที่ 2 ประมาณ 90 – 95% ประเภทนี้มักไม่มีอาการอย่างเฉียบพลัน แต่หากขาดการควบคุม ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลันได้ ดังนั้นควรจะควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

นพ.วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ

อายุรศาสตร์โรคไต

แผนกอายุรกรรม

พญ.ธัญวลัย เลิศวนิชกิจกุล

อายุรศาสตร์โรคไต

แผนกอายุรกรรม

พญ.กชพร สกุลศรีผ่อง

จิตเวชศาสตร์

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

สังคมก้มหน้า ที่มาของหลายโรค!!

“สังคมก้มหน้า” ที่ได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้างแล้ว การเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายด้วย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สังคมก้มหน้า ที่มาของหลายโรค!!

“สังคมก้มหน้า” ที่ได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้างแล้ว การเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายด้วย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม