Header

“ไวรัสตับอักเสบบี” โรคร้ายที่คุณป้องกันได้

ไวรัสตับอักเสบบี | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ไวรัสตับอักเสบบี สามารถทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังได้ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง และมะเร็งตับที่สำคัญของโลก อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเรามีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมา

รู้จักกับโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Hepatitis)

โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส คือ ภาวะการอักเสบของตับ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ สายพันธ์เอ บี หรือซี ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน หรือกรณีไวรัสตับอักเสบสายพันธ์บี และซี สามารถทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ

 

ไวรัสตับอักเสบเอ

เชื้อไวรัสตับอักเสบเอ สามารถติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยมักทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน มีอาการได้แก่ อ่อนเพลีย ไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง  เบื่ออาหาร เป็นต้น โดยถึงแม้ว่าส่วนใหญ่อาการจะสามารถดีขึ้นได้เอง แต่ก็มีบางรายที่มีอาการรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  ปัจจุบันมีวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอที่ป้องกันการติดเชื้อได้ โดยผู้ที่ควรได้รับวัคซีนได้แก่

  • ผู้ป่วยที่มีโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือโรคตับแข็ง
  • บุคคลที่มีสมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิดติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
  • พ่อครัว แม่ครัว ผู้ประกอบอาชีพปรุงอาหาร
  • ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ (กลุ่มเพศชาย)

โดยวัคซีนไวรัสตับอักเสบ จะฉีด 2 ครั้ง โดยฉีดห่างกัน 6-12 เดือน

 

ไวรัสตับอักเสบบี

เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ทางเพศสัมพันธ์ หรือการติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์  โดยไวรัสตับอักเสบบี นอกจากจะทำให้เกิดทั้งภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน แล้วยังสามารถเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังได้อีกด้วย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับ

 

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบีแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการดังนี้
    • อาการไข้
    • ตัวเหลืองตาเหลือง
    • ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • เบื่ออาหาร
    • ท้องเสียและอาเจียน
    • อ่อนเพลีย
    • ผื่น
    • ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
    • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้

อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

 


ไวรัสตับอักเสบบีโรคร้ายที่คุณป้องกันได้-โรงพยาบาลพริ้นซ์-สุวรรณภูมิ

 

ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

  • ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
  • ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
  • ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ
  • ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ มีคู่นอนหลายคน 


 

วิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คตับปีละ 1 ครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ

  • ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ โดยฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง เข็มที่ 2 ฉีดหลังจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ฉีดหลังจากเข็มที่ 2 แล้ว 5 เดือน

  • ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์

  • งดดื่มแอลกอฮอล์

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค

  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย 

จะเห็นได้ว่าไวรัสตับอักเสบเป็นภัยร้ายที่นอกจากจะส่งผลต่อตัวเราแล้วยังอาจถ่ายทอดสู่บุคคลรอบข้าง สมาชิกในครอบครัวได้อีกด้วย จึงอยากเชิญชวนให้พิจารณาการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอและบี ด้วยนะครับ

 

 

บทความโดย : นพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ตารางออกตรวจ : https://www.princsuvarnabhumi.com/appointment?medical_id=10&doctor_id=123

ตารางแพทย์อาจมีเปลี่ยนแปลง

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

25 มกราคม 2567

กินยาพาราอย่างไร ? ไม่ทำร้าย “ตับ”

เมื่อมีอาการไข้หรือปวดจากสาเหตุใดก็ตาม ยาที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเป็นอย่างแรกเลยคือ พาราเซตามอล ยานี้มีวิธีรับประทานอย่างไร ถ้ารับประทานมากไปเป็นอันตรายหรือไม่ มาหาคำตอบกัน

25 มกราคม 2567

กินยาพาราอย่างไร ? ไม่ทำร้าย “ตับ”

เมื่อมีอาการไข้หรือปวดจากสาเหตุใดก็ตาม ยาที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเป็นอย่างแรกเลยคือ พาราเซตามอล ยานี้มีวิธีรับประทานอย่างไร ถ้ารับประทานมากไปเป็นอันตรายหรือไม่ มาหาคำตอบกัน