Header

เที่ยวทะเลหน้าร้อนในวันหยุด ต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร

บทความ เที่ยวทะเลหน้าร้อนในวันหยุด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เมษาทีไร…อากาศในประเทศไทย ก็ดูจะเป็นใจให้ออกไปเที่ยวทะเล ถ่ายรูปท้าแดดจ้า กับวันหยุดหลากหลายเทศกาล พร้อมหน้ากับครอบครัว 

หน้าร้อนแบบนี้ หลายครอบครัว คงมีแพลนทริปไปเที่ยวทะเลกัน  วันนี้เราจึงนำวิธีการดูแลตัวเอง ก่อนเก็บกระเป๋าไปเที่ยวทะเลหน้าร้อน… ว่าต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร   มาฝากทุกครอบครัวนะคะ  

จัดกระเป๋าเดินทางเตรียมพร้อมก่อนเที่ยวทะเล

1.ครีมกันแดด เพื่อปกป้องตัวเองจากแสงแดด และป้องกันผิวไหม้ ควรเตรียมครีมทั้งประเภท    ทาหน้าและทาตัว ที่มีค่า SPF เหมาะสมสำหรับไปทะเล โดยควรเลือก SPF 50 ขึ้นไป ควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดประมาณ 15 - 30 นาที หากใครกลัวผิวไหม้ สามารถติดน้ำมันมะพร้าวไปด้วยได้ เพราะมีคุณสมบัติช่วยป้องกันผิวหนังไหม้ จากการโดนแดดได้ 

2.แว่นกันแดด หรือ หมวก ควรสวมแว่นกันแดด ที่สามารถกรองรังสี UV ได้อย่างน้อย 80% ขึ้นไป เพราะจะช่วยปกป้องดวงตา และถนอมผิวรอบดวงตา รวมถึงสวมหมวก เพื่อป้องกันความร้อนที่จะกระทบศรีษะโดยตรง 

3.น้ำเปล่า ควรจิบน้ำบ่อยๆ ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และน้ำยังช่วยเรื่องของผิว ไม่ให้แห้ง ลดความร้อนในร่างกาย และเพื่อสุขภาพที่ดี การจิบน้ำเป็นระยะ ช่วยป้องกันร่างกายขาดน้ำได้ด้วย 

4.ยาประจำตัว หากต้องเดินทางไกลข้ามเกาะ ต้องมีการต่อรถต่อเรือ อาจจะต้องมีการพกยาแก้เมารถเมาเรือ เพื่อการรับประทานกันเอาไว้ หรือยาพื้นฐานไว้ดูแลตัวเอง สำหรับผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว อย่าลืมจัดยาไปรับประทานด้วย เพื่อไว้สักสองวันล่วงหน้า ในกรณีฉุกเฉินจะได้หยิบฉวยได้ง่าย 

5.ชุดลำลองป้องกันแสงแดด หน้าร้อนควรเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย และหากต้องออกแดดเป็นเวลานาน ควรสวมเสื้อที่ป้องกันแสงแดดได้ เช่น เสื้อผ้าที่เป็นลักษณะ UV Cut ที่สามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นอันตรายได้มากถึง 90% เสื้อ UV Cut จะช่วยปกป้องผิวได้ทันทีที่สวมใส่ เหมาะสำหรับคนกลัวแดด กลัวดำ เป็นอย่างดี  

ข้อควรระวังสำหรับการเดินทางเที่ยวทะเล 

  • ตรวจสอบสภาพแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมของทะเล หรือเกาะต่าง ๆ ที่จะไปท่องเที่ยว เช่น ความลึก ความแรงของคลื่น กระแสลม กระแสน้ำ โขดหิน สัตว์มีพิษ เช่น แมงกะพรุน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายหากลงเล่นน้ำ หรือหากถ้าไปสัมผัสโดนตัวแมงกะพรุน อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง 
  • ตรวจสอบสภาพอากาศ ติดตามพยากรณ์อากาศต่อเนื่อง หากได้รับแจ้งเตือนคลื่น พายุลมแรง หรือฝนตกหนัก ควรชะลอ - งดการเดินทาง เพื่อความปลอดภัย 
  • เตรียมอุปกรณ์และสิ่งของที่จำเป็น เช่น ยารักษาโรค ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ยาบรรเทาแมลงกัดต่อย เอาไว้ในยามฉุกเฉิน 
  • ไม่เล่นน้ำในพื้นที่อันตราย โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องน้ำลึก โขดหินใต้น้ำ บริเวณที่มีป้ายหรือธงสัญลักษณ์เตือนอันตราย หรือช่วงกลางคืนที่น้ำขึ้น น้ำทะเลหนุน พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำ ของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
  • ถ้ามีเด็กหรือผู้สูงวัย ควรดูแลการลงเล่นน้ำอย่างใกล้ชิด โดยให้สวมใส่เสื้อชูชีพ หรือห่วงยางตลอดเวลาที่เล่นน้ำ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถลอยตัว เพื่อรอรับความช่วยเหลือได้ 
  • ไม่เล่นน้ำเป็นระยะเวลานาน การอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน อาจทำให้เป็นตะคริวหรือเกิดความอ่อนเพลีย ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ 

ถ้ารู้สึกว่า ร่างกายไม่แข็งแรงก็ไม่ควรลงเล่นน้ำ และไม่ควรเล่นน้ำตามลำพัง ควรจะมีเพื่อนเล่นน้ำ และรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ 

อันตรายที่อาจเกิดจากการท่องเที่ยวทางทะเล

การจมน้ำ การลงเล่นน้ำระยะเวลานาน อาจเป็นสาเหตุให้เกิด ความอ่อนเพลีย สำลักน้ำ จนทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้

  • ตะคริว เกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อ ที่ไม่ได้มีการยืดตัวบ่อย ๆ เกิดการหดรั้งหรือเกร็งง่าย เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมาก หรือใช้จนกล้ามเนื้ออ่อนล้า หรืออ่อนแรง รวมถึงการออกกำลังที่ใช้แรงจนเกินกำลัง หรือออกกำลังกายติดต่อกันนาน ๆ เช่น การว่ายน้ำ อาจทำให้เป็นตะคริวได้ 
  • หมดสติ กรณีหมดสติ จม/สำลักน้ำ ให้รีบตรวจชีพจรภายใน 10 วินาที เพื่อคืนสัญญาณชีพแก่ผู้ป่วย 

ควรรีบเร่งช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้เร็วที่สุด โดยการเปิดทางเดินหายใจ ให้ผู้ป่วยนอนราบ กดหน้าผากลง เชยคางขึ้น ใช้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือบีบจมูกเป่าลมเข้าไปจนสุดลมหายใจ ทำซ้ำ 20 ครั้งต่อนาที (สลับเป่าปากครั้งละ 3 วินาที)

หากไม่มีชีพจรหรือหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดกดกระตุ้นหัวใจ (CPR) ทันที กระตุ้นหัวใจโดยการกดหน้าอก ตำแหน่งกลางช่องอก ความถี่ในการกดถ้าไม่มีผู้ช่วยให้กดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (กรณีมีผู้ช่วยให้กดหน้าอก 15 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง) 

เมารถ/เรือ 

  • อาการเมารถหรือเมาเรือ เกิดจากการเสียสมดุล ของระบบประสาททรงตัว ซึ่งได้รับแรงกระตุ้น เช่น นั่งรถผ่านทางโค้ง หรือ นั่งเรือขณะมีคลื่น โคลงเคลง ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน 
  • คนที่มีอาการเมารถหรือเมาเรือ ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง เพราะหากยิ่งปล่อยให้ท้องว่าง จะยิ่งทำให้เกิดอาการเมาได้เร็วขึ้น ก่อนออกเดินทาง ควรรับประทานอาหารตามปกติ โดยเคี้ยวช้า ๆ และพักประมาณ 30 นาทีก่อนขึ้นรถ/เรือ 
  • ขณะนั่งรถหรือเรือถ้าเมาเป็นประจำ ผู้ที่เมารถควรนั่งด้านหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเหวี่ยงของรถ ถ้าเมาเรือควรเลือกนั่งบริเวณกลางลำเรือ เพื่อให้มีอากาศถ่ายเท มองออกไปไกล เลี่ยงการจ้องมองคลื่น และระวังขณะรถ/เรือ สวนกัน เพราะจะทำให้เวียนหัวได้ 

ข้อควรระวัง ระหว่างขึ้นรถ/เรือ ไม่ก้มหน้าอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือมากเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เมารถ/เรือได้ง่ายขึ้น 

  • สำหรับผู้ที่มีอาการเมาทั้งรถและเรือ ควรรับประทานยาแก้เมา 1 เม็ดประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนลงเดินทาง เพื่อช่วยลดอาการเมารถเมาเรือ การรับประทานยาก่อนเดินทาง ทำให้ยาสามารถดูดซึมได้ดี ยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทการทรงตัว ลดการเวียนหัวได้  

พิษสัตว์ทะเล

  • ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีสัตว์ทะเลมีพิษ เช่น แมงกะพรุนไฟ ควรหาข้อมูลก่อนเดินทาง เพื่อช่วยให้ทราบล่วงหน้าและระมัดระวังตัวได้
  • เมื่อโดนพิษของแมงกะพรุนไฟหรือปะการังไฟ ควรรีบขึ้นจากน้ำทะเลโดยเร็วที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจืดล้าง เพราะน้ำจืดจะกระตุ้นพิษให้พิษกระจายยิ่งขึ้น  และอย่าใช้มือเปล่าหยิบ ให้ใช้หาผ้าหรือไม้เขี่ย และรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันการอักเสบ และแผลติดเชื้อ 
  • ถ้าถูกหนามของเม่นทะเล มักบ่งยาก บ่งไม่ออก เนื่องจากหนามเม่นมีความเปราะ ให้ใช้ของแข็ง เช่น ขวดน้ำ ท่อนไม้ หรือก้อนหิน ทุบตรงบริเวณหนามตำ ให้หนามแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ความเจ็บปวดก็จะหายไป หากอาการปวดไม่หายหรือแผ่ขยายวงกว้างขึ้น ควรไปโรงพยาบาลเร็วที่สุด

ลมแดด

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นลมแดด มักจะมีอาการ หลังจากสัมผัสอากาศร้อนจัด 
  • เมื่อมีกิจกรรมกลางแจ้ง ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 2 ลิตร/วัน เพื่อให้น้ำช่วยระบายความร้อน ป้องกันการเสียเหงื่อมาจนเป็นลม 
  • หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เล่นกีฬา หรือ ว่ายน้ำ ขณะแดดจัดมากๆ 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาบางชนิด หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกเดินทาง
  • การช่วยเหลือผู้มีอาการลมแดดเบื้องต้น ด้วยการพาเข้าที่ร่ม ให้นอนราบและยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ใช้น้ำเย็นชุบเช็ดตัว อาจเปิดพัดลมเป่าช่วยระบายความร้อน ใช้ยาดมหรือแอมโมเนียให้สูดดมแก้วิงเวียน จากนัั้นลองพักดูอาการ ถ้ารู้สึกยังไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล 

เมื่อทราบวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นกันแล้ว “เที่ยวทะเลหน้าร้อนปีนี้คงสนุกแน่นอน” ว่าแล้ว…ก็จองทริปเดินทาง จัดกระเป๋าออกเดินทางกันเลย



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 วิธีการรับมือกับอากาศร้อน

การรับมือกับอากาศร้อนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายของเรามีสุขภาพแข็งแรง และป้องกันการเกิดโรคที่มากับอากาศร้อน ดังนั้นเราจึงควรรับมือด้วยวิธีต่อไปนี้

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 วิธีการรับมือกับอากาศร้อน

การรับมือกับอากาศร้อนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายของเรามีสุขภาพแข็งแรง และป้องกันการเกิดโรคที่มากับอากาศร้อน ดังนั้นเราจึงควรรับมือด้วยวิธีต่อไปนี้

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแลร่างกายรับหน้าร้อน ของวัยเก๋า

ฤดูร้อนวนมาอีกครั้ง บรรยากาศไปเที่ยวทะเลและวันพักผ่อนชิล ๆ แต่ก็แฝงด้วยความร้อนของอากาศ ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ โรงต่าง ๆ อาจจะตามมาได้ใน “ผู้สูงวัย”

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแลร่างกายรับหน้าร้อน ของวัยเก๋า

ฤดูร้อนวนมาอีกครั้ง บรรยากาศไปเที่ยวทะเลและวันพักผ่อนชิล ๆ แต่ก็แฝงด้วยความร้อนของอากาศ ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ โรงต่าง ๆ อาจจะตามมาได้ใน “ผู้สูงวัย”

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหัวจี๊ด ไมเกรน VS อากาศร้อน ปวดแบบไหน…เรียกไมเกรน

การอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เกิดไมเกรนได้ง่ายขึ้น เพราะตัวของผู้ป่วยซึ่งเป็นไมเกรน อยู่แล้วเจอกับภาวะของอากาศที่ร้อนจัดเป็นตัวกระตุ้น จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหัวจี๊ด ไมเกรน VS อากาศร้อน ปวดแบบไหน…เรียกไมเกรน

การอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เกิดไมเกรนได้ง่ายขึ้น เพราะตัวของผู้ป่วยซึ่งเป็นไมเกรน อยู่แล้วเจอกับภาวะของอากาศที่ร้อนจัดเป็นตัวกระตุ้น จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม