Header

โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร มีวิธีรักษาอย่างไร?

07 กุมภาพันธ์ 2567

นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุววรณภูมิ นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์

โรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้อเสื่อม ซึ่งกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อจะเสื่อมและสึกหรอไปตามกาลเวลา เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ


อาการโรคข้อเข่าเสื่อม

  • ขั้นที่1 ข้อยึดติด เป็นอาการเริ่มแรกของอาการข้อเข่าเสื่อม หากนั่งเป็นเวลานาน เมื่อลุกขึ้นเดินจะรู้สึกว่าข้อต่อฝืด เดินไม่ถนัด ต้องเดินสัก 4-5 ก้าวถึงเดินได้ปกติ
  • ขั้นที่2 ปวดเวลาเดิน มีอาการต่อเนื่องจากข้อที่ยึดติด เมื่อเดินต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 30 นาทีจะรู้สึกปวด และอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ระยะเวลาที่แสดงอาการสั้นลงเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่นเคยเดินได้ 30 นาทีถึงจะรู้สึกปวด กลายเป็นเดินได้เพียง 15 นาทีก็รู้สึกปวดแล้ว อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งแค่ลุกขึ้นยืนก็รู้สึกปวดแล้ว
  • ขั้นที่3 ขาโก่ง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ก็จะมีการสึกหรอและยุบตัวลงของกระดูกที่มากขึ้น ทำให้ข้อเข่าผิดรูป และมีลักษณะโก่ง ที่เรียกว่าขาโก่งนั่นเอง


การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 

  1. รักษาโดยไม่ใช้ยา

    1. การลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม ส่งผลให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า จึงควรลดน้ำหนักเพื่อให้เข่ารับน้ำหนักน้อยลง
    2. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา เพิ่มความแข็งแรงของต้นขา เพื่อช่วยพยุงข้อเข่า
    3. ปรับกิจวัตรประจำวัน เช่น ท่านั่ง ท่าเดิน หลีกเลี่ยงท่าที่งอเข่า อย่างการนั่งขัดสมาธิ การนั่งยองๆ 
    4. ใช้สนับเข่า ไม้ช่วยพยุง หรืออุปกรณ์ช่วยพยุง เพื่อช่วยในการทรงตัว
  2. การรักษาโดยใช้ยา

    1. พาราเซตามอน ใช้ในกรณีที่อาการปวดไม่รุนแรง
    2. ยาลดการอักเสบ ยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียง ทำให้มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน 
    3. ยาที่ช่วยชะลอความเสื่อมข้อเข่า ยากลุ่มนี้ต้องทานต่อเนื่อง 1-3 เดือนและแพทย์จะประเมินอาการ หากอาการดีขึ้นก็สามารถทานต่อได้ หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้หยุดทานยากลุ่มนี้และรักษาด้วยวิธีการอื่นแทน
  3. การฉีดยา 

    1. ฉีดสเตียรอยด์ 
    2. ฉีดน้ำข้อเข่าเทียม
    3. ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP)

ซึ่งผลของการฉีดยาแต่ละชนิดนั้นจะแตกต่างกันไป ควรอยู่ในการดูแลรักษาของแพทย์ผู้ชำนาญการ

 

ที่มา: oamkg.com


การผ่าตัดกระดูกข้อเข่าเสื่อม

ในกรณีที่การเสื่อมของข้อเข่ารุนแรงขึ้น แพทย์ก็มักจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันเป็นวิธีการรักษาที่ตรงจุด “เสื่อมตรงไหน ต้องเปลี่ยนตรงนั้น” เพราะวิวัฒนาการการผ่าตัด อุปกรณ์และเทคนิคการผ่าตัดนั้น มีความก้าวหน้ามากขึ้นแล้ว

การผ่าตัดแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

  1. การผ่าตัดซ่อมเข่า

คือการผ่าตัดผิวบางส่วนของผิวข้อเข่า จะทำการผ่าตัดเฉพาะส่วนที่เสื่อมเท่านั้น 

ข้อดี

  • แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว
  • เส้นเอ็นที่อยู่บริเวณนั้นจะไม่ถูกทำลาย ทำให้รู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่า 
  • มีอาการปวดและเสียเลือดน้อย 
  • งอเข่าได้มากกว่า

ใครที่เหมาะกับการผ่าตัดซ่อมเข่า

  • ข้อเข่าเสื่อมบางส่วน ส่วนที่เหลือยังดีอยู่
  • เส้นเอ็นหัวเข่าต้องปกติ
  • ขาโก่งน้อยกว่า 10 องศา
     
  1. การผ่าตัดเปลี่ยนเข่า

คือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งข้อ โดยใช้โลหะสังเคราะห์ ได้แก่ ไทเทเนียม เซรามิค โคบอลต์โคลเมียม พลาสติกพิเศษ

ข้อดี

  • ได้ผลการรักษาที่ดี
  • มีอายุการใช้งาน 15-20 ปี
  • แก้ไขการผิดรูปของเข่า

ใครที่เหมาะกับการผ่าตัดซ่อมเข่า

  • คนที่กระดูกข้อเข่าผิดรูปหรือเสื่อมทั้งข้อ
  • ขาโก่งมากกว่า 10 องศา


 

บทความโดย :  นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฎ์

ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญด้านกระดูกและข้อ

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.กลวัชร ทรัพย์สวนแตง

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ศัลยแพทย์กระดูก, กระดูกสันหลัง

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

เเพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านข้อเข่า ข้อสะโพกเเละกระดูกหักซับซ้อน

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยจากโรคกระดูกที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อเข่าเสื่อม ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) เกิดการเสื่อมสภาพและสึกหรอ โดยในระยะแรกนั้นกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีการสูญเสียคุณสมบัติทางชีวโมเลกุล มีความหนาของชั้นผิวข้อที่ลดลง

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยจากโรคกระดูกที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อเข่าเสื่อม ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) เกิดการเสื่อมสภาพและสึกหรอ โดยในระยะแรกนั้นกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีการสูญเสียคุณสมบัติทางชีวโมเลกุล มีความหนาของชั้นผิวข้อที่ลดลง

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PRP ทางเลือกการรักษา ภาวะเจ็บเข่าเรื้อรัง และข้อเข่าเสื่อม โดยไม่ต้องผ่าตัด !

บทความโดย : นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์ ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญด้านกระดูกและข้อ (การผ่าตัดข้อ)

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PRP ทางเลือกการรักษา ภาวะเจ็บเข่าเรื้อรัง และข้อเข่าเสื่อม โดยไม่ต้องผ่าตัด !

บทความโดย : นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์ ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญด้านกระดูกและข้อ (การผ่าตัดข้อ)

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม