Header

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ “ความรักความห่วงใยที่ช่วยทั้งคุณแม่และลูกน้อย”

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกด้วยองค์ประกอบด้านโภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วย

เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง

เหนือสิ่งอื่นใด ขณะที่แม่ให้นมจะต้องโอบกอดลูกไว้ข้างนอก แม่ลูกสบตากัน การเลี้ยงลูกด้วย นมแม่จึงเป็นวิธีสร้างสายใยความรักความผูกพันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแม่กับลูก

 

 

สารอาหารในน้ำนมแม่

สารอาหารในน้ำนมแม่มีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาหลังการคลอดเพื่อให้เหมาะสมกับตัวลูกน้อย ผ่านกระบวนการสร้างน้ำนมในร่างกายของแม่ที่เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

 

น้ำนมระยะที่ 1 (Colostrum)

ระยะหัวน้ำนม เป็นระยะ 1-3 วันแรก น้ำนมจะมีสีเหลือง จนบางคนเรียกว่าน้ำนมเหลือง เนื่องจากมีแคโรทีนสูงกว่านมระยะหลังมาก น้ำนมระยะนี้เป็นน้ำนมที่อุดมสมบูรณ์มากประกอบไปด้วยโปรตีนต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกลือแร่ วิตามิน สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสมองและการมองเห็นของลูก รวมทั้งยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในการขับขี้เทาของลูกได้ด้วย

 

น้ำนมระยะที่ 2 (Transitional Milk)

เมื่อผ่านช่วง 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์แรก น้ำนมจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น  ซึ่งจะมีสารอาหารเพิ่มขึ้นทั้งไขมันและน้ำตาลที่มีปริมาณเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

 

น้ำนมระยะที่ 3 (Mature Milk)

เมื่อผ่านช่วง 2 สัปดาห์แรกแล้ว น้ำนมแม่จะมีปริมาณที่มากขึ้น และมีสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก ได้แก่

  • โปรตีน ที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งจากเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด เพิ่มภูมิต้านทาน และเอนไซม์ที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียได้
  • ไขมัน ที่เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็น
  • น้ำตาลแลคโตส โดยพบว่าในนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้น (Human Milk Oligosaccharides หรือ HMOs) มากกว่า 200 ชนิด และมีปริมาณมากกว่าปริมาณที่พบในนมวัวถึง  5 เท่า และยังพบอีกว่า HMOs ในน้ำนมแม่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้
  • วิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K และ แร่ธาตุซึ่งได้แก่ เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้น

นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ได้แก่ แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) โกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินลำไส้ เส้นเลือด ระบบประสาท และระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต

 

ประโยชน์ของนมแม่ต่อลูกน้อย

  • ประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมอง งานวิจัยเผยว่าทารกที่กินนมแม่มีโอกาสในด้านพัฒนาการทางสมองและเชาว์ปัญญา (IQ) ที่ดีกว่าเด็กที่กินนมผสม โดยสามารถวัดได้เมื่อเด็กโตขึ้นและกำลังเข้าสู่วัยเรียน นอกจากนี้สารอาหารและวิตามินจากน้ำนมแม่ยังช่วยให้พัฒนาการของสมองเด็กและเซลล์ประสาททำงานได้อย่างสมบูรณ์

สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับประโยชน์จากนมแม่เพื่อช่วยให้พัฒนาทางสมองเป็นไปอย่างปกติ และช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคจิตเวชได้ในอนาคตด้วย

  • ประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ความสำคัญของนมแม่ที่ช่วยให้ลูกสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการเจ็บป่วย ด้วยการสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาต่อต้านอาการเจ็บป่วยทั่วไปอย่างไข้หวัด การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไปจนถึงการป้องกันการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (RSV) โรคงูสวัด ภูมิต้านทานเหล่านี้มาจากแม่ที่เคยเป็นโรคเหล่านี้มาก่อนและมีภูมิต้านทานโรคแล้ว ด้วยการส่งผ่านไปยังลูกน้อยทางน้ำนมแม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดกับลูกได้ 100% แต่ก็ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคเหล่านี้กับลูกได้ นอกจากนี้นมแม่ยังสามารถช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้ รวมไปถึงโรคร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไหลตายในเด็กทารก (SIDS) เป็นต้น
  • ประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นมแม่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายให้ลูกเติบโตได้อย่างปกติ เมื่อลูกเข้าสู่วัยเริ่มเดินจะมีการทรงตัวที่ดีเนื่องจากมีกระดูกและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจากการได้รับสารอาหารจากนมแม่ นอกจากนี้การดูดนมแม่จากอกยังช่วยในเรื่องของสุขภาพช่องปากในเด็ก เมื่อฟันบนขึ้นจะเรียงตัวไม่ทับซ้อนกันและไม่ผุกร่อนอีกด้วย
  • ประโยชน์ของการให้นมลูกของแม่ การให้นมแม่ที่นอกจากแม่จะให้สารอาหาร ภูมิคุ้มกันและให้ความรักแก่ลูกน้อยแล้ว แม่เองก็ได้รับประโยชน์จากการให้นมลูกทั้งในด้านสุขภาพและอารมณ์เช่นกัน
  • ด้านสุขภาพร่างกายของแม่ ในช่วงที่แม่ให้นมลูกจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) ออกมาเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่หรือกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เร็วยิ่งขึ้น และขณะที่ร่างกายของแม่ผลิตนมให้แก่ลูกร่างกายจะต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติถึงเกือบ 500 Kcal ทำให้มีการดึงพลังงานจากไขมันที่สะสมในช่วงตั้งครรภ์มาใช้งาน ทำให้แม่กลับมามีรูปร่างที่ดีขึ้นเหมือนก่อนตั้งท้องได้ จากการวิจัยในแม่ที่ให้นมลูกหลังคลอดจะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในแม่ได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในระยะยาว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวานได้ 
  • ด้านอารมณ์ของแม่ ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่บางคนเรียกว่าฮอร์โมนแห่งความรัก ยังสามารถช่วยให้แม่เกิดความผ่อนคลาย ลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ทำให้มีความสุขในขณะให้นมลูก ช่วยสร้างความรักและความผูกพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในอ้อมกอดของแม่ ความอบุอุ่นที่ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกนี้ยังส่งผลให้ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ช่วยขับน้ำนมของแม่ให้ไหลได้ดีขึ้นในขณะให้นมอีกด้วย

การให้ลูกได้รับนมแม่ตั้งแต่คลอด ต่อเนื่องไปจนถึง 2 ปีได้หรือนานกว่านั้น จะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างเป็นธรรมชาติ และมีร่างกายที่แข็งแรงได้ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการสร้างภูมิต้านทานตั้งแต่เด็กยังเป็นทารกอยู่ เมื่อโตขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพัฒนาการทางสมองที่สมบูรณ์ และความฉลาดทางอารมณ์

นอกจากการให้นมแม่จะช่วยในการเจริญเติบโตของลูกแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดนอกจากการให้นมลูก คือช่วยสร้างความรัก ความผูกพันธ์ระหว่างแม่กับลูกได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นช่วงเวลาที่แม่สบตากับลูก โอบกอดลูกที่ช่วยให้แม่เกิดความรู้สึกของการเป็นแม่ได้เป็นอย่างดี ทำให้แม่สามารถผลิตฮอร์โมนออกซิโทซินเพื่อสร้างความสุข และยังช่วยให้แม่สามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้น

 

ที่มา : กรมการแพทย์



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมสาว ๆ จึงควร ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก คุณสุภาพสตรีหลายท่านคงมีความกังวลในการตรวจ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะการตรวจไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมสาว ๆ จึงควร ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก คุณสุภาพสตรีหลายท่านคงมีความกังวลในการตรวจ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะการตรวจไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV

การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด นอกจากวัคซีน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูกแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้อีกด้วย 

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวัคซีน HPV

การได้รับวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกันนั้น เป็นการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ดีที่สุด นอกจากวัคซีน HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบริเวณปากมดลูกแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและคอได้อีกด้วย 

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม