Header

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

ไบโพลาร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เคยรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้าย สลับกับอารมณ์ดี จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือกระทบกับความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างบ้างไหม ? เคยสงสัยไหมว่าอาการแบบนี้ถือว่าเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ หายเองได้ไหม ต้องไปหาหมอหรือเปล่า ? บทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคไบโพลาร์ให้มากขึ้น

โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) คืออะไร ?

“โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้ผู้ป่วยเกิดการแสดงออกของอารมณ์ที่ผิดปกติเป็นสองขั้ว คือซึมเศร้ามาก และคึกคักพุ่งพล่านมาก จึงเรียกโรคโบโพล่าร์ว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว” ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสนุกเดี๋ยวซึม อย่างที่หลาย ๆ คนชอบเข้าใจกัน จากการศึกษาพบผู้ป่วยไบโพลาร์มากถึง 1.5-5 % ของประชาชนทั่วไป พบผู้ป่วยบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 15-19 ปี และอายุ 20-24 ปี โดยผู้ป่วยมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี มากถึง 50% โดยไบโพล่าเกิดจาก สาเหตุดังนี้

  • ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ได้แก่ สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) สารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารโดปามีน (Dopamine) ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์
  • พันธุกรรม ปัจจุบันยังไม่ทราบรูปแบบที่ชัดเจนของการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์   แต่พบผู้ป่วยมักมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์เช่นเดียวกัน
  • วิกฤตชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ตกงาน เครียดเรื้อรัง หรือเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์อย่างรุนแรง

อาการอย่างไรจึงจะเรียกว่าไบโพล่าร์ ?

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะไม่รู้ตัวเองในช่วงที่เป็น เพราะอาการของไบโพล่าร์มี 2 ระยะ คือ

ระยะแมเนีย (Manic Episode) ผู้ป่วยจะมีความมั่นใจในตัวเอง คิดเร็ว ทำเร็ว ทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย นอนน้อยลง ใช้เงินฟุ่มเฟือย ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ลงทุนแบบไม่ยั้งคิดจนอาจก่อหนี้สินมากมาย ก้าวร้าว มักก่อเรื่องทะเลาะวิวาท เช่น

  • รู้สึกคุณค่าตัวเองสูงเกินจริง บางครั้งคิดว่าตนเองเป็นใหญ่
  • ไม่หลับไม่นอน กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข
  • พูดมาก พูดไม่หยุด
  • คิดฟุ้งซ่าน จะทำโน่นทำนี่ คิดทำการใหญ่โต
  • วุ่นวาย กิจกรรมมาก อาจใช้จ่ายผิดปกติมาก
  • สัมพันธภาพกับผู้อื่นเสีย

ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร ขาดสมาธิ แยกตัว อยากอยู่นิ่ง ๆ อยากนอนทั้งวัน หรืออาจมีอาการนอนไม่หลับ บางครั้งกินมากหรือเบื่ออาหาร รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า อาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตายเกิดขึ้น เช่น

  • หมดความสนใจและความเพลิดเพลินลงมาก
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ใน 1 เดือน
  • ไม่หลับหรือหลับมากไป
  • อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
  • รู้สึกผิดหรือไร้ค่า ร้องไห้ง่าย
  • สมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้
  • คิดอยากตาย หรือการฆ่าตัวตาย

 

โรคไบโพล่าร์รักษาถูกทาง ก็หายได้

เนื่องจากนี่เป็นโรคที่เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ การรักษาไบโพล่าร์หลัก ๆ จึงจำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์จะให้ทานยาเพื่อปรับอารมณ์ให้คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดของไบโพล่าร์ที่ผู้ป่วยเป็น แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาวคือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด เพราะจิตแพทย์จะสามารถค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ผู้ป่วยเกิดโรคไบโพล่าร์นอกเหนือจากกรรมพันธุ์ และจิตแพทย์ยังสามารถแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ให้กับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ และที่สำคัญที่สุดคือการทานยารักษาอย่างต่อเนื่อง ห้าม   หยุดยาเอง หรือลดยาโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม และต้องเริ่มกระบวนการรักษาใหม่ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าป่วยควรหันมาดูแลตัวเอง ห้ามอดนอน ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหา ลดความเครียด และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ห้ามใช้สารเสพติด สุรา ร่วมด้วย

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล จำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์ แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาวคือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด การรับมือกับการที่มีคนในบ้านเป็นไบโพลาร์ ครอบครัวและคนไกล้ตัวจึงสำคัญมาก สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า ไบโพลาร์นั้นเป็นเพียงอาการป่วยรูปแบบหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ผู้ที่ป่วยไม่ได้แปลว่าเป็นบ้าหรือน่ารังเกียจ โดยโรคไบโพลาร์นี้สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ

 

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนมากเกินไปส่งผลเสียอย่างไร? รู้จักผลกระทบของการนอนมากเกิน

การนอนหลับมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่ม และความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีปรับปรุงการนอนให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นอนมากเกินไปส่งผลเสียอย่างไร? รู้จักผลกระทบของการนอนมากเกิน

การนอนหลับมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ภาวะซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่ม และความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีปรับปรุงการนอนให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ?

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ? หากสังเกตตัวเอง และคนใกล้ชิดว่า…เขาเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ที่แปลกไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ?

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ? หากสังเกตตัวเอง และคนใกล้ชิดว่า…เขาเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ที่แปลกไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

ปัญหาเกี่ยวกับสมอง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน หรือแม้แต่การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ในปัจจุบันมีตัวช่วยใหม่ในการรักษา คือเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)