Header

เสพข่าวมากเกินไป สุขภาพจิตพัง ระวัง Headline Stress Disorder

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เสพข่าวมากเกินไป โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ช่วงนี้เสพข่าวมากเกินไปรึเปล่า..เช็คด่วน เสพข่าวจนตาเป็นหมีแพนด้าแล้วใช่ไหม ? รู้ตัวอีกทีก็สว่างซะแล้ว!! ข่าวและเนื้อหาต่าง ๆ ที่เผยแพร่ในสื่อและโซเชียลมีเดีย สร้างความเศร้า ความเครียดไม่รู้ตัว ที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการเครียดสะสม หรือที่เรียกว่าอาการ “Headline Stress Disorder”

ภาวะ Headline Stress Disorder คือ ?

Headline stress disorder ไม่ใช่ชื่อโรคร้ายแรงใด ๆ  แต่เป็นคำที่ใช้เรียกภาวะเครียดหรือวิตกกังวลมากที่เกิดขึ้นจากการเสพข่าวทางสื่อต่าง ๆ ที่มากเกินไป  โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดียที่เปิดให้คนอ่านข่าวได้ตลอด 24 ชม. จนเกิดเป็นความกังวลจนเกินพอดี หรือที่เรียกว่าอาการ Panic นั่นเอง

ส่งผลเสียอย่างไร ?

การเสพข่าวหดหู่มากไปสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้มากและหลายระบบ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ อาจส่งผลต่อการเกิดโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า อาการที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะ Headline stress disorder เช่น

  • ใจสั่น
  • แน่นหน้าอก
  • นอนไม่หลับ
  • วิตกกังวล
  • ซึมเศร้า
  • โกรธ

ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Headline Stress Disorder ?

  • คนที่เหนื่อยล้าทั้งทางจิตใจหรือร่างกายอยู่แล้ว เช่น อาจกำลังเครียดเรื่องงาน ครอบครัว การเรียน พักผ่อนไม่เพียงพอ เจ็บป่วย อยู่นั้น อารมณ์จะอ่อนไหวง่าย เมื่อมาเสพข่าวที่หดหู่ก็จะเครียดได้ง่าย
  • คนที่มีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าอยู่แล้ว จะถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการเสพข่าวที่หดหู่
  • คนที่ใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์เยอะ ก็มีโอกาสที่จะรับรู้ข่าวทั้งที่จริงและปลอม ทั้งดีและร้ายได้เยอะ
  • คนที่ขาดวิจารณญาณในการเสพข่าว อาจจะเป็นด้วยวัย วุฒิภาวะ หรือบุคลิกภาพ มีแนวโน้มจะเชื่อพาดหัวข่าวในทันทีที่เห็นได้ง่าย


 

วิธีจัดการความเครียดจากการเสพข่าวหดหู่ทั่วไปด้วยตนเอง

  • จำกัดเวลาในการเสพข่าว เคร่งครัดกับเวลาที่กำหนดไว้
  • หากเครียดมากอาจงดเสพข่าวหรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ไปสักพัก
  • อย่าเชื่อพาดหัวข่าวที่เห็นในทันที เพราะพาดหัวข่าวมักใช้คำที่กระตุ้นอารมณ์เพื่อดึงดูดให้คนสนใจ แนะนำให้อ่านรายละเอียดของข่าวด้วย
  • ตรวจสอบข่าวก่อนจะเชื่อ อ่านข่าวจากสื่อที่เชื่อถือได้ เพราะปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์กันมาก
  • หากเป็นข่าวด่วนอาจรอสักหน่อยให้มีข้อมูลและความจริงมากขึ้นแล้วค่อยอ่านในรายละเอียดข่าว
  • พยายามมองหาสิ่งที่ดีในข่าวที่อ่านบ้าง ทุกอย่างมีทั้งด้านดีและร้ายเสมอ
  • อ่านข่าวที่ดีต่อใจบ้าง อย่าเสพแต่ข่าวที่หดหู่
  • อย่าเสพข่าวก่อนนอน เพื่อให้สมองได้พักและหลับได้ดี
  • ทำกิจกรรมคลายเครียด ผ่อนคลายบ้าง อย่าเอาแต่ติดตามข่าวทั้งวัน เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เพื่อให้ชีวิตเกิดความบาลานซ์
  • พูดคุยกับคนอื่นบ้าง การหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งคนเดียวจะยิ่งทำให้จมกับความคิดลบ ๆ ได้ง่าย
  • หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังเครียดมากอยู่ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ chatbot 1323 หรืออาจไปปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

สุดท้ายอยากฝากไว้สักนิดว่าการรับรู้ข่าวสารเป็นเรื่องที่ดี แต่หากรับรู้มากเกินไปจะทำให้เกิดอารมณ์ร่วม ซึ่งข่าวบางข่าวอธิบายเหตุผลได้ไม่ครบ 100% เราจึงต้องมีสติ เพราะเรื่องราวที่เราได้รู้อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เราเลือกที่จะไม่อินกับมันได้ ถ้าหากเริ่มอินกับข่าวมากเกินไปลองหากิจกรรมอื่นทำเพื่อให้ผ่อนคลายลดอาการเครียดลงบ้างนะคะ

ที่มา กรมสุขภาพจิต



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ?

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ? หากสังเกตตัวเอง และคนใกล้ชิดว่า…เขาเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ที่แปลกไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ?

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ? หากสังเกตตัวเอง และคนใกล้ชิดว่า…เขาเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ที่แปลกไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

“โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

“โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล