Header

ติดเชื้อโควิด-19 ต้อง Home Isolation คืออะไร ต้องทำอย่างไร

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แนวคิดของ Home Isolation เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ประกอบกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลในระยะเวลาสั้น ๆ และไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้

Home Isolation การแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้

  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่กำลังรอ admit หรือรอเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ. ซึ่งแพทย์พิจารณษแล้วว่า สามารถรักษาตัวที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวใน รพ. หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันและแพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้

 

ผู้ที่เข้าเกณฑ์ในการทำ Home Isolation

  • เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
  • มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ต้องไม่มีภาวะอ้วน หรือดัชนีมวลกาย >30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักตัว >90 กก.
  • ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอกอุดกั้นเรื้อรัง (COPD), โรคไตเรื้อรัง (CKD ระยะที่ 3, 4) โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
  • อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
  • ยินยอมแยกตัวในที่พักของตัวเอง

 

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อทำ Home Isolation

  • ห้ามออกจากที่พัก และห้ามผู้ใดมาเยี่ยมบ้าน
  • ห้ามเข้าใกล้หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  • แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกไม่ได้ควรแยกให้ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด และความเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
  • ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้งที่จำเป็นต้องสัมผัสกับของใช้ต่าง ๆ
  • แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
  • ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
  • แยกขยะ โดยมัดปากถุงขยะให้แน่น

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

  • ถ้าบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอ ควรให้ผู้ป่วยแยกอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัว แยกภาชนะของใช้ส่วนตัว ส่งข้าวให้เอาวางไว้หน้าห้อง แล้วไลน์บอก เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือให้อาหารเป็นข้าวกล่อง
  • ถ้าที่อยู่อาศัยเป็นคอนโด ห้องเช่า แฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และบุคคลอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว

 

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ Home Isolation

  • อุปกรณ์ประเมินอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น คืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอด
  • การประเมินอาการผ่านระบบเทเลเมด หรือ การนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากร ทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-timeโดยแพทย์และพยาบาลทุกวัน
  • การให้ยารับประทาน ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
  • อาหารสามมื้อ
  • การติดตามประเมินอาการ และให้คำปรึกษา
  • หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลงให้แจ้งทีมแพทย์ และรีบนำส่งโรงพยาบาล

สิ่งสำคัญ คือ ต้องสังเกตอาการของตัวเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน หากอาการแย่ลง เช่น หอบ เหนื่อย ไข้สูง ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบติดต่อ รพ.ที่รักษาอยู่ ทางรพ.จะมีรถไปรับเพื่อนำส่งเข้ารับการรักษาที่ รพ. หรือหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางมา รพ.ด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะไปด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Navigation)

เนื่องจากไม่มีข้อเข่าของใครที่เหมือนกันเลย การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติให้ได้ภาพข้อเข่าที่มีรายละเอียดของผู้ป่วยแต่ละราย

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Navigation)

เนื่องจากไม่มีข้อเข่าของใครที่เหมือนกันเลย การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการสร้างภาพ 3 มิติให้ได้ภาพข้อเข่าที่มีรายละเอียดของผู้ป่วยแต่ละราย

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม