Header

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หลายคนอาจไม่คุ้นหูหรือไม่เคยได้ยิน ซึ่งโรคนี้มีความรุนแรง และการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว อาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติเข้าทำลายปลอกหุ้มประสาทหรือเซลล์ประสาททั้งในสมองและไขสันหลัง เมื่อปลอกเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บจะไปรบกวนการนำกระแสประสาทจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะปลายทาง ซึ่งทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบประสาทตามมา อาการมักจะเกิดแบบฉับพลันภายในหนึ่งวันหรือไม่กี่ชั่วโมง โดยมักจะแสดงอาการในช่วงอายุ 20-40 ปี ผู้หญิงมากกว่าชาย เชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเอเชีย


อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ผู้ป่วยโรค Multiple Sclerosis แต่ละรายจะมีอาการแสดงและความรุนแแรงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรอยโรคและไม่มีอาการใดที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่าเป็นโรค MS รวมทั้งยังมีโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกัน จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยแยกโรค


อาการที่พบได้บ่อยได้แก่
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว สูญเสียการมองเห็น มองเห็นสีผิดปกติไป ปวดเวลากรอกตา โดยมักเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้
  • เกิดอาการอ่อนแรงหรืออาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • อาการชาหรือการรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายหนักและเบา เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก เป็นต้น
  • ปัญหาเรื่องการทรงตัว
  • พูดไม่ชัด เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก
  • ซึมเศร้าวิตกกังวลหรืออารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรงกะทันหัน เช่น ร้องไห้ หัวเราะหรือตะโกนออกมาอย่างไม่มีเหตุผล เป็นต้น

สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

สาเหตุที่แท้จริงของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเป็นผลของปัจจัยด้านระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ที่ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก เช่นการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ภาวะพร่องหรือภาวะขาดวิตามินดี เป็นต้น ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเซลล์ประสาทของตนเอง


การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้หายขาดได้ การรักษาในปัจจุบันจึงเน้นไปที่การควบคุมอาการของโรคไม่ให้กำเริบเพื่อชะลออาการ การรักษาในระยะฉับพลันเพื่อลดการทำลายของเซลล์ประสาทให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น โดยใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา อย่างเช่น แพทย์อายุรกรรมระบบประสาท จักษุแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ นักกายภาพบำบัด เป็นต้น

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ หากอาการกำเริบขึ้นมาควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับยาโดยการฉีดหรือการกินตามพิจารณาของแพทย์ ที่สำคัญโรคนี้สามารถรักษาอาการให้อยู่ในภาวะสงบได้หากได้รับการวินิจฉัยถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ภาวะพิการในคนไข้ได้เช่นกัน



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

พญ.กิติยา จันทรวิถี​

ศัลยศาสตร์ทั่วไป​

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย

ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย

PRINCSUVARNABHUMI PODCAST EP. 2 สาระดี ๆ มีที่พริ้นซ์ ‘โรคพาร์กินสัน’

Podcast ที่จะชวนคุณหมอมาถามเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บพร้อมคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PRINCSUVARNABHUMI PODCAST EP. 2 สาระดี ๆ มีที่พริ้นซ์ ‘โรคพาร์กินสัน’

Podcast ที่จะชวนคุณหมอมาถามเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บพร้อมคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ข้อควรระวังกับ 13 โรคที่พบบ่อยในการบริจาคโลหิต

หลาย ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการบริจาคโลหิต มีประโยชน์ในเรื่องของการได้ช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษา และการมีโลหิตที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก

ข้อควรระวังกับ 13 โรคที่พบบ่อยในการบริจาคโลหิต

หลาย ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการบริจาคโลหิต มีประโยชน์ในเรื่องของการได้ช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษา และการมีโลหิตที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก