Header

มะเร็งตับอ่อน

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง และส่วนใหญ่ก้อนมะเร็งที่ตรวจพบมักมีขนาดใหญ่หรือมีการแพร่กระจายไปแล้ว มีผลให้คนไข้ 80 – 85% อยู่ในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดก้อนมะเร็งออกได้ และคนไข้มักจะเสียชีวิตใน 1 ปี หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เรามาทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันนะคะ

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) คือ เนื้องอกร้ายหรือมะเร็งซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมักมาพบแพทย์เมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ เนื่องจากอาการในระยะแรกมักไม่เฉพาะเจาะจงหรือไม่มีอาการแสดงเลย จนกระทั่งเป็นมากแล้วจึงจะแสดงอาการ เช่น ปวดท้องหรือปวดหลังเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน)

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนสูง

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน และมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีนัก เช่น ชอบสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชอบบริโภคอาหารไขมันสัตว์มากและผักผลไม้น้อย เป็นต้น
  • ผู้ที่ทานอาหารมันเลี่ยนแล้วท้องเสีย โดยเฉพาะผู้ที่ถ่ายออกมาแล้วพบว่ามีไขมัน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าสมรรถภาพของสารคัดหลั่งของต่อมมีท่อในตับอ่อนถูกทำลาย
  • คนวัยหนุ่มสาวที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน แต่กลับเป็นโรคเบาหวานขึ้นมากะทันหัน ซึ่งอาจเป็นการล่วงหน้าของโรคมะเร็งตับอ่อนได้ และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมามากกว่า 5 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนได้มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 1.2 เท่า

 

อาการมะเร็งตับอ่อน

อาการของมะเร็งตับอ่อนระยะแรกค่อนข้างคลุมเครือและไม่ชัดเจน อาการจะแสดงชัดเมื่อมะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่นหรือท่อน้ำดีอุดตัน ได้แก่

  • น้ำหนักลด
  • เบื่ออาหาร
  • ภาวะตัวตาเหลือง (ตัวตาเหลืองและปัสสาวะมีสีเข้ม)
  • ปวดในท้องส่วนบน
  • ปวดหลัง
  • อ่อนแรง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • 10 – 20% มีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเร็งไปยับยั้งการผลิตอินซูลิน

 

การรักษา

การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด แต่ผู้ป่วยส่วนมาก มาพบแพทย์ในระยะที่โรคลุกลามไปมากแล้ว ทําให้ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการ ผ่าตัดได้ มีเพียง 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเท่านั้นที่สามารถผ่าตัดได้ ในกรณีที่โรค ลุกลามไปแล้วอาจพิจารณารักษาด้วยการให้เคมีบําบัดร่วมกับรังสีรักษาในบางราย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดีซ่านอาจให้การรักษาด้วยการส่องกล้องเพื่อขยายท่อน้ําดี และใส่ท่อระบายน้ําดี ซึ่งจะทําให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก มักพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หรือพบระยะลุกลาม และมักมีอัตราเสียชีวิตสูงได้ เนื่องจากอาการเริ่มแรกมักไม่จำเพาะเจาะจง อาจมีเพียงอาการปวดท้องหรือไม่มีอาการเลย ทำให้การรักษามีความล่าช้า ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับอ่อนสูงคือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จึงควรสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ ถ้าหากมีความผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์นะคะ

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์รู้จักมากว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการกัด หรือ ข่วน จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น

blank ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์รู้จักมากว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการกัด หรือ ข่วน จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น

blank ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไวรัสตับอักเสบซี โรคร้ายที่มาแบบไม่เตือน

ไวรัสตับอักเสบซี คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ

ไวรัสตับอักเสบซี โรคร้ายที่มาแบบไม่เตือน

ไวรัสตับอักเสบซี คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ

การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม