Header

เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ในช่วงที่ผ่านมานี้ สื่อต่าง ๆ มีการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับโรคซึมเศร้าออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กรมสุขภาพจิตยังเปิดเผยข้อมูลว่ามีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โรคซึมเศร้าคืออะไร ?

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง อันเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโตนิน (Serotonin) นอร์เอปิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมไปถึงสุขภาพกาย

อาการของโรคซึมเศร้า

  • เศร้า หดหู่ ซึม
  • หงุดหงิด โกรธง่าย มีอารมณ์รุนแรง
  • เบื่อหน่าย หมดความสนใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบมาก ๆ
  • นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากเกินไป
  • เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
  • เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ไม่มีพลัง ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรเลย
  • รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มั่นใจในตัวเอง โทษตัวเอง
  • มีความคิดทำร้ายตัวเอง อยากฆ่าตัวตาย

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นอย่างน้อย 5 ข้อ อยู่เกือบตลอดเวลา เป็นเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 14 วัน ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  • พันธุกรรม
  • สภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ อิทธิพลจากคนใกล้ชิด การเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่
  • ลักษณะนิสัย โดยเฉพาะคนที่อ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ
  • สารเคมีในสมอง

การตรวจวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการซักประวัติ สอบถามอาการและเรื่องราวจากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิด หรือทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจและแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า
ในบางรายที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีโรคทางร่างกายอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการที่พบ อาจมีการตรวจร่างกาย และส่งตรวจพิเศษที่จำเป็น

แนวทางการรักษา

  • รักษาด้วยการใช้ยา โดยในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าถือเป็นยาที่ปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง ไม่ทำให้เกิดการติดยา และไม่ทำให้เกิดอาการมึนงงอย่างที่เข้าใจผิดกัน นอกจากนี้ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
  • รักษาด้วยจิตบำบัดและการพูดคุยให้คำปรึกษา โดยแพทย์จะช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหา   ต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ และแนวทางในการปรับตัว หรือแม้แต่การหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง
  • รักษาด้วยไฟฟ้า ในรายที่มีอาการรุนแรง

ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า

  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหากขาดสารอาหารบางอย่างไป เช่น โอเมก้า 3 วิตามินอี วิตามินซี วิตามินดี ทองแดง และธาตุเหล็ก อาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
  • การออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30 – 40 นาที
  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การใช้ชีวิต ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี ๆ สนุกสนาน ทำให้ตนเองรู้สึกมั่นใจและมีคุณค่า และได้ใช้เวลาร่วมกับคนอื่น ๆ มากกว่าที่จะอยู่คนเดียว นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการนำตนเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้จิตใจหดหู่
  • การฝึกคิดบวก
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด

วิธีรับมือเมื่อคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า

  • พาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  • ย้ำเตือนให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  • พูดคุยแบบรับฟังโดยไม่ตัดสิน
  • ให้กำลังใจด้วยคำพูดดี เช่น ฉันอยู่ข้าง ๆ เธอนะ เธอยังมีฉันอยู่นะ เป็นต้น
  • ระวังเรื่องการใช้คำพูดที่บั่นทอน ซ้ำเติม หรือดูเหมือนปัญหาของเขาเป็นเรื่องเล็ก เช่น เรื่องแค่นี้เอง คนอื่นยังไม่เห็นเป็นอะไรเลย
  • แสดงออกผ่านการกระทำ เช่น กอด จับมือ เป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้านั้น เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ไม่ใช่ความอ่อนแอทางด้านจิตใจของผู้ป่วยแต่อย่างใด และไม่ใช่โรคประหลาด อย่างไรก็ตามโรคนี้เป็นได้ ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยไม่ต้องกลัวที่จะเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสม เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่อาการก็จะยิ่งดีขึ้นเร็วเท่านั้น แล้วเราจะกลับมายิ้มอย่างสดใสด้วยกันนะคะ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง โดยเราได้รวบรวมวิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค ที่นอกจากจะดูแลหัวใจของคุณแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย สามารถทำได้ทุกคน แม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงก็ตาม

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค

อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง โดยเราได้รวบรวมวิธีดูแลหัวใจให้ห่างไกลโรค ที่นอกจากจะดูแลหัวใจของคุณแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย สามารถทำได้ทุกคน แม้ว่าจะไม่มีความเสี่ยงก็ตาม

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม