Header

โรคในเด็กที่พบบ่อยตามฤดู โรคมือ เท้า ปาก

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

โรคมือ เท้า ปาก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

Q : โรคที่พบบ่อย อย่างเช่น โรคมือเท้าปาก ในปัจจุบันมีจำนวนเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก เยอะมากหรือไม่ ?

A : โรคมือ เท้า ปาก มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นะคะ จำนวน ไม่แน่ใจ  แต่ว่าโรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน อาการของโรค คือ มีไข้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า อาการของเด็กใน โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส ถามว่าเชื้อไวรัสไม่มียารักษาอยู่แล้ว โรคมือเท้าปาก ถ้าเป็นปัญหาที่พบบ่อย ๆ คือ เด็กจะมีอาการเจ็บแผลในปากทำให้กินอาหารไม่ได้ ในบางราย จะมีตุ่มตามตัว อาจจะมีอาการคัน หรือมีตุ่มแผลเป็นหนอง ซึ่งจะใช้วิธีรักษาตามอาการค่ะ

 

Q : อาจารย์ช่วยพูดถึงความรุนแรงของโรคมือเท้าปากหน่อยค่ะ

A : โรคมือเท้าปากนะคะ เชื้อที่พบบ่อย ๆ จะอยู่สองชนิดนะคะ 

ชนิดที่หนึ่ง คือกลุ่มคอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) เชื้อตัวนี้เด็กที่เป็นจะมีแผลในปาก แผลตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปัญหาคือ จะกินไม่ได้ แต่ว่าอาการแทรกซ้อนรุนแรงจะไม่พบนะคะ

เชื้ออีกชนิดหนี่ง คือกลุ่มเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) เชื้อตัวนี้ เด็กจะมาด้วยแผลในปาก ฝ่ามือฝ่าเท้า แต่อาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้นะคะ ได้แก่ การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง หรือที่เนื้อสมอง เกิดก้านสมองอักเสบ หรือว่าเกิดที่หัวใจ เกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้นะคะ เพราะฉะนั้นในเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากในกลุ่มที่อาการไม่มาก การรักษาคือการรักษาตามอาการ ถ้าสามารถกินอาการได้ ให้ยาชา ยาดลดไข้ กินอาหารเย็น ๆ ได้ แต่ในกรณีที่อาการเป็นมากเช่น มีไข้สูง มีซึม มีชัก เกร็ง มีอาการแขนขาอ่อนแรง เราต้องระวังว่าเชื้ออาจจะมาจากเชื้อตัวที่รุนแรง ได้แก่ตัว เอนเทอโรไวรัส 71ค่ะ

 

Q : ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากหรือยังคะ? และปัจจุบันโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมินำวัคซีนมาหรือยังคะ?

A : อย่างที่กล่าวไปตอนต้นนะคะ เชื้อโรคมือเท้าปากมีสองชนิด คือเชื้อที่รุนแรง และไม่รุนแรงนะคะ

ตอนนี้ก็มีวัตซีนที่นำเชื้อที่รุนแรงมาผลิตได้แก่ตัวป้องกันตัวเชื้อ เอนเทอโรไวรัส 71 การฉีกวัคซีนตัวนี้จะฉีดสองครั้ง ห่างกัน 1 เดือน หลังจากฉีดสองครั้งแล้ว สามารถป้องกันการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ได้ถึง 90% ลดการติดเชื้อที่รุนแรงได้ 100% เลยนะคะ แนะนำให้ฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และตอนนี้ทางโรงพยาบาลมีการนำวัคซีนเข้ามาแล้วนะคะ

 

Q : สำหรับเด็กที่เคยเป็นโรคมือเท้าปากแล้วสามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่คะ ?

A : อย่างที่กล่าวไปตอนต้นนะคะ โรคมือเท้าปาก มีสองชนิดนะคะ ในกรณีที่เด็กเป็นโรคมือเท้าปากชนิดที่ไม่รุนแรงที่เกิดจากเชื้อคอกซากีไวรัส เอ16 เพราะฉะนั้นในเด็กกลุ่มนี้สามารถมารับวัคซีนมือเท้าปากเพื่อป้องกันสายพันธุ์อาจจะเกิดโรครุนแรงได้นะคะ

 

Q: ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว ยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคมือเท้าปากอีกหรือไม่คะ ?

A : โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้อสองชนิดนะคะ คือตัวคอกซากีไวรัส เอ16 ที่เป็นชนิดที่จะไม่เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงกับอีกชนิดนึงที่นำมาผลิดวัคซีนเป็นชนิดที่ป้องกันไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 ดังนั้น ถ้าเราฉีดวัคซีนแล้ว เราจะป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้นะคะ ส่วนถ้าฉีดวัคซีนไปแล้วก็ยังสามารถติดเชื้อคอกซากีไวรัส เอ16 ซึ่งเป็นเชื้อมือเท้าปากชนิดที่ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้นะคะ ดังนั้นฉีดวัคซีนแล้วอาจจะยังสงสัยว่าติดโรคมือเท้าปากได้ไหม ยังเป็นได้นะคะ เพียงแต่ว่าโรคที่ติดจะเป็นชนิดที่ไม่รุนแรงค่ะ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกพัฒนาการเด็ก

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

เฉพาะวันอาทิตย์ (สัปดาห์ที่ 3/4 ของเดือน) 09.00 -12.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4401

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4401

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.อภิญญา พราหมณี

กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.ธัญชนก วิษณุวงศ์

กุมารเเพทย์

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.ภิญญภา มุกด์จินดาภา

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เตรียมพร้อม Back to School new normal style วิถีชีวิตใหม่ในโรงเรียน

ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวให้เด็ก ๆ ไปเรียนในยุค New normal อย่างไรบ้าง ? มาเตรียมความพร้อมและเตรียมสิ่งของจำเป็นที่ควรพกไปโรงเรียนเพื่อป้องกันการได้รับความเสี่ยงจากการติดเชื้อกัน

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมพร้อม Back to School new normal style วิถีชีวิตใหม่ในโรงเรียน

ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวให้เด็ก ๆ ไปเรียนในยุค New normal อย่างไรบ้าง ? มาเตรียมความพร้อมและเตรียมสิ่งของจำเป็นที่ควรพกไปโรงเรียนเพื่อป้องกันการได้รับความเสี่ยงจากการติดเชื้อกัน

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจ็บเต้านม มีก้อนที่เต้านม มีแผลที่หัวนม หรือมีน้ำไหลจากหัวนม มักจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจะมีความผิดปกติในเต้านมหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจ็บเต้านม มีก้อนที่เต้านม มีแผลที่หัวนม หรือมีน้ำไหลจากหัวนม มักจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจะมีความผิดปกติในเต้านมหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยจะผ่านเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยจะผ่านเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม