Header

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เป็นการบริการทางแพทย์ ให้บริการด้วยทีมสหวิชาชีพที่มีประสบการณ์ นำโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักกำหนดอาหาร เป็นต้น โดยมีขอบเขตการให้บริการตั้งแต่การตรวจประเมิน วินิจฉัย วางแผนการรักษาหรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยวิธีการที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการปวด อันเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกาย การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือกับผู้ที่มีปัญหาอาการปวดทั้งในระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง การออกกำลังกายเพื่อการรักษาเฉพาะบุคคล การฝึกการเคลื่อนไหว และการฝึกกล้ามเนื้อ หรือการฝึกการใช้ชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวให้กลับมาปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ให้การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ฟื้นฟูการกลืน การพูด รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุ และส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ

จุดมุ่งหมายของแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เรามุ่นเน้นการให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้รับบริการ ให้การรักษาฟื้นฟูด้วยเครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ร่วมกับการทำหัตถการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ด้วยตนเอง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

เปิดให้บริการคลินิกกิจกรรมบำบัดครอบคลุมทั้งกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่

  • ฝึกพัฒนาการเด็ก
  • ฝึกกลืน
  • ฝึกพูด (pre-speech)
  • ฝึกการรับรู้-ความเข้าใจ
  • ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก/การใช้แขนและมือ (Hand function)
  • ฝึกกิจวัตร (ADL training)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line: psuv_pt

 

บริการตรวจวินิจฉัย

    • การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Electromyography; EMG)

เป็นการตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและพยากรณ์พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ เป็นการตรวจที่มีความเจ็บปวดและใช้ระยะเวลานาน โดยการตรวจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 30 นาที - 2 ชั่วโมง การตรวจประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

  1. การตรวจการความเร็วในการนำสัญญาณประสาทของเส้นประสาท (Nerve conduction study ; NCS) เป็นการตรวจโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวของเส้นประสาท ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สงสัยความผิดปกติ เพื่อใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของเส้นประสาทในบริเวณที่สงสัยว่ามีรอยโรค
  2. การตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Electromyographic study ; EMG) ตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กตรวจรับสัญญาณผิดปกติในกล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะนำข้อมูลจากการตรวจทั้งสองส่วนมาประกอบกันเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค
  • การตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด
  • การตรวจประเมินทางกิจกรรมบำบัด
  • การทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical fitness test)

 

บริการทางการแพทย์

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดให้บริการครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงระยะของการฟื้นตัว ตั้งแต่ฟื้นฟูระยะเฉียบพลัน (Acute care) ฟื้นฟูระยะกลาง (Intermediate care) และฟื้นฟูระยะยาว (Long term care)

    •  
    • การฝังเข็มเฉพาะจุดแบบ (Dry Needling) การฝังเข็ม Dry Needling เป็นการฝังเข็มแบบตะวันตกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้จุด “Trigger Point” เกิดการกระตุกและคลายตัวออก อาการปวดจึงทุเลา และค่อย ๆ หายไป

ผู้ป่วยที่สามารถฝังเข็มได้ มีกลุ่มโรคอะไรบ้าง

      • กลุ่มโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome, MPS)

      • กลุ่มโรคกล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล ซึ่งเกิดจากใช้งานกล้ามเนื้อนานๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่าไหล ปวดสะโพก ข้อเข่าเสื่อม เล่นโทรศัพท์มือถือ อาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม

      • ปวดหัวไมเกรนที่มีสาเหตุร่วมมาจากกล้ามเนื้อตึงตัว

 

    • ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal)

      • ลดการอักเสบและอาการปวด กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และกระดูก

      • ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง

      • ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

      • กระดูกเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน

      • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

      • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด (ออร์โธปิดิกส์) ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ผ่าตัดข้อสะโพก ผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ ผ่าตัดเอ็นข้อเข่า

      • ข้อติด/ ข้ออักเสบ/ รูมาตอยด์

      • อาการชาจากโรคทางออร์โธปิดิกส์

 

    • ระบบประสาท (Neurological)

      • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อัมพฤกษ์ อัมพาต

      • การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injury; SCI)

      • การบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุ (Traumatic brain injury)

      • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease )

      • การบาดเจ็บและโรคของเส้นประสาทส่วนปลาย

      • โรคอัมพาตบนใบหน้า (Bell’s palsy or facial palsy)

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดระบบประสาทสมองและไขสันหลัง

      • ผู้ที่บกพร่องด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว ผู้สูงอายุ

      • ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการรับรู้และเรียนรู้

 

    • ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiology)

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจ หรือสวนหัวใจ

      • ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด

      • ผู้ป่วยหลังการใส่ลูกโป่งถ่างขยายหรือการใส่ขดลวดหลอดเลือดหัวใจ

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดลิ้นหัวใจ การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่

      • ผู้ป่วยหลังภาวะหัวใจหยุดเต้น (post cardiac arrest)

 

    • ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก (Chest and Respiratory)

      • ภาวะมีเสมหะค้างในปอด

      • โรคปอดอักเสบ

      • โรคหอบหืด

      • โรคถุงลมโป่งพอง

      • ภาวะเหนื่อย หอบ หายใจไม่เต็มที่

 

    • ผู้ป่วยกลุ่มเด็ก (Pediatric)

      • สมองพิการ

      • พัฒนาการล่าช้า

      • ออทิสติก

      • สมาธิสั้น

 

    • กลุ่มโรคอื่น ๆ (Other special condition)

      • การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care)

      • ภาวะคัดตึงเต้านมหลังคลอดบุตร

      • ภาวะปัสสาวะเล็ด

      • ภาวะเสื่อมสมรรถภาพเพศชาย (Erectile dysfunction)

      • อาการชา จากเบาหวาน

      • โรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ

      • ฟื้นฟูผู้ป่วยระยะยาวผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง (Long term care)

 

    • ปัญหาด้านการกลืน

    • ปัญหาด้านการพูดและการสื่อความหมาย

    • ปัญหาด้านการทำกิจวัตรประจำวัน

    • การดูแลฟื้นฟูต่อเนื่อง

      • การให้บริการฟื้นฟูนอกสถานที่ ภายหลังจากการจำหน่ายกลับบ้าน (Princ at home)

      • นัดหมายติดตามอาการในรูปแบบผู้ป่วยนอก

 

แนะนำเครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการฟื้นฟู

1. หุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic assisted gait training; RAGT)

                หุ่นยนต์ฝึกเดินเป็นเทคโนโลยีทางการฟื้นฟูที่ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูผู้ที่มีความบกพร่องด้านการเดิน ไม่สามารถเดินได้ หรือมีรูปแบบการเดินผิดปกติ ด้วยการฝึกการเคลื่อนไหวแบบซ้ำ ๆ (Repetitive movement) ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ด้วยร่างกายของมนุษย์จะมีชุดวงจรประสาทที่อยู่บริเวณไขสันหลังเรียกว่า Central Pattern Generator (CPG) มีหน้าที่ในการจดจำรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ ซึ่งรวมถึงรูปแบบการเดินด้วย ดังนั้น การฝึกเดินซ้ำๆ ด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้เกิดการเรียนรู้การเดิน ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูการเคลื่อนไหวได้ ในปัจจุบันหุ่นยนต์ฝึกเดินที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

  1. End-Effector ซึ่งมีจุดเด่นคือมีที่วางเท้า (foot plate) ควบคุมการเคลื่อนไหวให้เกิดการก้าวเป็นลักษณะวงรี เสมือนการเดิน หุ่นยนต์ชนิดนี้จะมีหรือไม่มีระบบพยุงน้ำหนักก็ได้ขึ้นอยู่แต่ละผลิตภัณฑ์ ข้อดี คือ สามารถใช้งานได้ง่าย เหมาะกับผู้ป่วยที่เริ่มฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ การทรงตัวยังไม่ดี

  2. Exoskeletal เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายขา ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวได้ทั้งข้อสะโพกและข้อเข่าขณะเดิน ทำให้ลดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติได้ ซึ่งจะมีทั้งรูปแบบที่ตัวเครื่องติดตั้งอยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และแบบที่สามารถสวมใส่เดินไปยังที่ต่างๆ ได้

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการฝึกเดิน จึงได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยฟื้นฟูการเดิน เราจึงนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ฝึกเดินทั้งแบบ End-Effector และ Exoskeletal ให้บริการกับผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูด้านการเดินได้อย่างเหมาะสม รองรับทุกช่วงระยะเวลาของการฟื้นฟู ภายหลังจากการเกิดโรคทางระบบประสาทหรือเกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวด้านการเดิน เราสามารถให้การฟื้นฟูได้ตั้งแต่ผู้ป่วยที่อ่อนแรงมาก ไม่สามารถทรงตัวได้ ไปจนกระทั่งผู้ป่วยมีการทรงตัวที่ดีขึ้น กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น หรือผู้ป่วยที่ต้องการเพิ่มความเร็วในการเดิน หรือผู้ป่วยที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายในการเดินไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ

 

ผู้ป่วยกลุ่มใดสามารถเข้ารับการฟื้นฟูด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน

ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเดิน หรือไม่สามารถเดินได้จากความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการ ระบบกล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่ผิดปกติ ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

  • การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง (Spinal cord injury)

  • การบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุที่สมอง (Traumatic brain injury)

  • ปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis)

  • ใส่ข้อเทียมโลหะทดแทน เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยผ่าตัดข้อสะโพก

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงอื่น ๆ เช่น ผู้สูงอายุ

  • ข้อเสื่อม

  • ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy)

 

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์

การฝึกเดินเป็นการเคลื่อนไหวแบบซ้ำ ๆ (Repetitive movement) อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เกิดการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ดังนั้น ควรฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์วันละ 30 - 45 นาทีต่อวัน, 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 2 - 6 สัปดาห์*

* ผลลัพธ์ของการฟื้นฟูขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการฟื้นตัวของระบบประสาท ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันตามความสามารถและข้อจำกัดด้วยโรคของผู้ป่วย

 

ข้อห้ามการใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 130 กิโลกรัม

  • ผู้ที่มีปัญหาระบบไหลเวียนเลือด*

  • หัวใจเต้นผิดปกติ*

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในการรับรู้ขั้นรุนแรง ไม่ให้ร่วมมือหรือต่อต้าน

* ทั้งนี้ผู้ป่วยทุกรายก่อนการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ควรได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์ และนักกายภาพบำบัดว่าสามารถใช้การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ได้หรือไม่

 

2. เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (Transcranial Magnetic Stimulation; TMS)

การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation) หรือที่มักเรียกกันว่า TMS เป็นการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทรูปแบบใหม่ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดหรือใช้ยา โดย TMS สามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมองหรือไขสันหลังบาดเจ็บ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคพาร์กินสัน รวมถึงอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบสมอง เป็นต้น

 

หลักการการฟื้นฟูด้วยเครื่อง TMS

หลักการของการกระตุ้นสมองด้วยเครื่อง TMS คือ การใช้เครื่องสร้างสนามแม่เหล็กและนำสนามแม่เหล็กนั้นไปกระตุ้นสมองในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท เกิดการปรับเปลี่ยนของสารสื่อประสาท เช่น ในกรณีโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก พบว่า สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง สมองซีกตรงข้ามจะทำงานมากขึ้น ในการศึกษาของประเทศไทย พบว่าการกระตุ้น TMS ในสมองฉีกตรงข้ามด้วยการกระตุ้นซ้ำ ๆ (repetitive pulse transcranial magnetic stimulation; rTMS)  ร่วมกับการฝึกกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด เป็นการกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยสามารถใช้มือในการเอื้อมจับสิ่งของได้ดีขึ้น ในกรณีโรคซึมเศร้าจะใช้การกระตุ้นสมองบริเวณด้านซ้ายหน้า (Dorsolateral Prefrontal Cortex) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยให้อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาดีขึ้น และจากการศึกษายังพบว่าการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กยังช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความจำถดถอย

ผู้ป่วยกลุ่มใดที่สามารถเข้ารับการฟื้นฟูด้วยเครื่องกระตุ้น TMS

  • โรคซึมเศร้า
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • การบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal cord injury)
  • โรคนอนไม่หลับ
  • โรคไมเกรน
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity)
  • กลุ่มอาการพฤติกรรมการรับประทานผิดปกติ (Eating disorder)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)

 

ข้อควรระวังของการใช้งานเครื่อง TMS

  1. ผู้ที่เคยมีประวัติการชัก ควรได้รับการตรวจประเมินก่อน

 

ข้อห้ามในการใช้เครื่อง TMS

  1. ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Pacemaker)เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว สายระบายน้ำในโพรงสมองแบบอัตโนมัติ เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีอาการชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
  3. ผู้ที่มีโลหะฝังบริเวณศีรษะ เช่น ตะแกรงขยายหลอดเลือดสมอง คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีโลหะในบริเวณอื่นๆที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยตรงสามารถทำได้

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ มีครื่องกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กที่มีศักยภาพในการรักษาสูง สามารถกระตุ้นสมองได้ตั้งแต่ความถี่ต่ำ (Low Frequency Stimulation) จนไปถึงความถี่สูงมาก (Theta Burst Stimulation) สามารถรักษาโรคสมองและระบบประสาทได้หลากหลาย รวมถึงกลุ่มโรคทางจิตเวชต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นต้น เราพร้อมให้บริการทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

แม้การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กจะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยก็ควรได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์วชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทหรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้รับการดูแลรักษาและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้มาตรฐานโรงพยาบาลระดับสากล เพื่อให้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

 

3. เครื่องให้การรักษาด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation; PMS)

PMS คืออะไร เป็นเครื่องมือให้การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการกระตุ้นผ่านผิวหนัง โดยสามารถทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปยังเส้นประสาท กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดและคล้ายตัว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคล้าย และลดอาการปวดโดยการกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อยับยั้งอาการปวด

            นอกจากนี้ PMS ยังสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการชา (Neuropathy) ด้วยการกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึกที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและชาได้เป็นอย่างดี

 

PMS เหมาะสำหรับใคร

  • กลุ่มโรคปวดต่าง ๆ ทั้งปวดกล้ามเนื้อระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือ ออฟฟิศซินโดรม ปวดข้อต่อ พังผืดกล้ามเนื้อ โรคทางกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม บาดเจ็บจากการกีฬา เป็นต้น
  • กลุ่มอาการชา หรือ อาการชาปลายมือปลายเท้า เครื่อง PMS จะช่วยกระตุ้นเส้นประสาทรับรู้ความรู้สึก
  • กลุ่มผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ที่มาจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury; SCI) หรือเกิดการบาดเจ็บทางสมอง (Traumatic brain injury; TBI) กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง

 

ข้อห้ามในการใช้เครื่องมือ PMS

  • ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Pacemaker)
  • ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโลหะในตัว เช่น ผู้ป่วยที่มีคลิปหนีบเส้นเลือกโป่งพอง

 

4. เครื่องให้การรักษาด้วยลำแสงเลเซอร์กำลังสูง (High Laser)

เครื่องเลเซอร์กำลังสูง ( high power laser therapy) เป็นเครื่องมือให้การรักษาด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง เป็นแสงที่ความยาวคลื่นเดียว ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มีความยาวคลื่นที่ 980- 1,064nm

 

เครื่องเลเซอร์เหมาะกับกลุ่มอาการใด

  • กลุ่มอาการบาดเจ็บระยะเฉียบพลัน เช่น  ปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ, คอเคล็ด, หลังยอก, ข้อเท้าแพลง, ปวดนิ้วล็อค, ข้อมือซ้น, ปวดรองช้ำ, ข้ออักเสบ, กล้ามเนื้ออักเสบ, บาดเจ็บจากเล่นกีฬา, เส้นเอ็นข้อไหล่อักเสบ ,เส้นเอ็นข้อ, เข่าอักเสบ
  • กลุ่มอาการปวดเรื้อรัง เช่น ออฟฟิศซินโดรม, ปวดคอ, ปวดบ่า, ปวดไหล่, ปวดหลัง, ปวดจากข้อเสื่อม, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, ไหล่ติด, ปวดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง, ปวดเอว,ปวดสะโพก, รองช้ำ
  • กลุ่มโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, ปลายประสาทอักเสบ, มือเท้าชาจากเบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง
  • กลุ่มโรคที่มีอาการบวม เช่น นิ้วมือบวม, ข้อมือบวม, ข้อเท้าบวม, แขนขาบวม, บวมหลังจากการผ่าตัด, ต่อมน้ำเหลืองอุดตัน, ภาวะบวมน้ำเหลือง, กล้ามเนื้อเขียวช้ำ
  • กลุ่มอาการที่มีแผลจากสาเหตุต่างๆ เช่น แผลเบาหวาน, แผลกดทับ

 

5. เครื่องด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave)

คลื่นกระแทก หรือ Shockwave ทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของคลื่นกระแทกในด้านการลดอาการปวด รวมถึงเพิ่มปัจจัยที่ทำให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง

 

ประโยชน์ของการรักษาด้วยคลื่นกระแทก

  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
  • กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
  • ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • สลายหินปูนในเส้นเอ็น
  • กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ จนเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่

 

6. เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

เครื่องมือให้การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง ในบริเวณหัวของอัลตร้าซาวด์ จะมีผลึกคริสตัลที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่เข้ามาเป็นพลังงานความร้อน โดยพลังงานความร้อนที่ผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อนั้น จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความเร็วในการนำกระแสประสาท และการทำงานของเอนไซม์ ลดการอักเสบและลดปวด

 

7. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้หลายชนิด (Electrical stimulation)

เครื่องมือให้การรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นการรักษาอาการปวด อาการชา เพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยใช้กระแสไฟฟ้าในการรักษาซึ่งจะมีหลายกระแสไฟ ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของผู้ป่วย

 

8. เครื่องกระตุ้นการกลืนด้วยระบบข้อมูลป้อนกลับ (Biofeedback)

เป็นเทคนิคการรักษาที่ใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการกลืน ผ่านแผ่นอิเล็กโทรดที่ติดอยู่บริเวณผิวหนังเหนือกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เช่น กล้ามเนื้อของลิ้นและลำคอ ช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องเกิดการเรียนรู้ใหม่ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดกระบวนการกลืนอาหาร

 

9. เครื่องดึงคอ-ดึงหลัง

10. อุปกรณ์ออกกำลังกาย

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1302

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แพทย์แนะนำ

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

พญ.ธัญชนก ชูธรรมสถิตย์

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

บทความที่เกี่ยวข้อง

การฟื้นฟูการกลืนด้วย Biofeedback - รักษาอาการกลืนลำบาก

การฟื้นฟูการกลืนด้วยเครื่อง Biofeedback ช่วยปรับปรุงการกลืนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และผู้มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง

blank กภ.วิทยา ดวงงา หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การฟื้นฟูการกลืนด้วย Biofeedback - รักษาอาการกลืนลำบาก

การฟื้นฟูการกลืนด้วยเครื่อง Biofeedback ช่วยปรับปรุงการกลืนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และผู้มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง

blank กภ.วิทยา ดวงงา หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การรักษาด้วยคลื่นกระแทก บรรเทาอาการปวด ด้วยเครื่อง Shockwave

การรักษาด้วยคลื่นกระแทกเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังและต้องการบำบัดโดยไม่ต้องผ่านการผ่าตัด

blank บทความโดย : แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การรักษาด้วยคลื่นกระแทก บรรเทาอาการปวด ด้วยเครื่อง Shockwave

การรักษาด้วยคลื่นกระแทกเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังและต้องการบำบัดโดยไม่ต้องผ่านการผ่าตัด

blank บทความโดย : แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม