Header

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Pap Smear

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Pap Smear - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้

 

ใครควรตรวจแปปสเมียร์

แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงเวลาที่ควรเริ่มตรวจแปปสเมียร์และความถี่ที่ต้องมารับการตรวจ สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแนวทางการตรวจแปปสเมียร์ดังนี้

  • สตรีทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขึ้นกับว่าเวลาใดถึงก่อน ควรเริ่มทำการตรวจแปปสเมียร์ หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี
  • สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจแปปสเมียร์ทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจแปปสเมียร์ทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อ HIV ติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) มีโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีมารดาที่ใช้ยา diethylstilbestrol ขณะตั้งครรภ์ ต้องทำการตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
  • สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป หากมีผลการตรวจเป็นปกติ 3 ปีติดต่อกัน ไม่มีผลการตรวจที่ผิดปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และไม่มีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก อาจยกเลิกการตรวจแปปสเมียร์ได้

 


การเตรียมตัวก่อนการตรวจแปปสเมียร์

  • ควรนัดตรวจแปปสเมียร์ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอดก่อนการตรวจ
  • ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอดก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
  • งดมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

นอนกรน สัญญาณอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การนอน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน หรือประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนหลับของเรานั้นไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหา

blank แผนกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นอนกรน สัญญาณอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การนอน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน หรือประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนหลับของเรานั้นไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหา

blank แผนกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาหารกับการควบคุมเบาหวาน

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน ถึงแม้จะได้รับยาเบาหวานหรืออินชูลินก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายด้วย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาหารกับการควบคุมเบาหวาน

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน ถึงแม้จะได้รับยาเบาหวานหรืออินชูลินก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายด้วย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม