Header

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอันตราย อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด !!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา  และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจ และให้ความสำคัญ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะ เพราะต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอก หรือช่องท้อง อีกทั้งเซลล์น้ำเหลืองก็ยังอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นลำไส้ หรือกระเพาะอาหารจึงสามารถเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้หมดทุกที่ของร่างกาย

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร ?

โรคที่มีเนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองหรือโครงสร้างต่อม ซึ่งระบบน้ำเหลืองก็เป็นระบบหนึ่งของภูมิคุ้มกัน ประกอบไปด้วย อวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม และไขกระดูก ซึ่งภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง มีหน้าที่นำสารอาหาร และเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นมา


 

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งเป็น 2 ประเภท

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma: HL) เกิดจากความผิดปกติลิมโฟไซต์ชนิดB หรือชนิดT ซึ่งเป็นชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ และสะสมกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลืองในที่สุด
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin’s Lymphoma: NHL) เกิดความผิดปกติและทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ สุดท้ายจะถูกสะสมจนกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งแล้วจะต้องเกิดโรคนั้นเสมอไป ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจนแต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่

  • อายุ : อุบัติการณ์ของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นโดยอุบัติการณืสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 60-70 ปี
  • เพศ : เพศชายพบเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง
  • การติดเชื้อ พบความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดกับการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด MALT lymphoma การติดเชื้อไวรัส EBV กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Burkitt
  • ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วย HIV พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
  • โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease) ผู้ป่วย SLE พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
  • การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง


 

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มต้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย จากนั้นจะพิจารณาสืบค้นเพิ่มเติมอีก ได้แก่

  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (ฺBiopsy)
  • การตรวจไขกระดูก (Bone marrow biopsy)
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (PET scan หรือ CT scan)
  • การเจาะเลือดเพื่อดูผลเลือดต่าง ๆ

ซึ่งผลการตรวจทั้งหมดจะนำมาประเมินระยะของโรค เพื่อเป็นแนวทางในการพยากรณ์โรคและการรักษาโรคต่อไป


 

การประเมินระยะของโรค

แพทย์ผู้ทำการรักษาจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากการสืบค้นเพิ่มเติม แล้วนำมาประมวลว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของโรค เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาต่อ ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองเพียงบริเวณเดียว

ระยะที่ 2 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป โดยต้องอยู่ภายในด้านเดียวกันของกะบังลม

ระยะที่ 3 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือที่อยู่คนละด้านของกะบังลม และ/หรือพบรอยโรคที่ม้ามร่วมด้วย

ระยะที่ 4 : มีรอยโรคกระจายออกไปเกินตำแหน่งเริ่มต้นที่พบ ตำแหน่งที่พบการกระจายได้บ่อย เช่น ตับ, ไขกระดูก, หรือปอด

นอกเหนือจากการประเมินระยะของโรคแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะอาศัยข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ป่วยเพื่อนำมาคำนวณหาดัชนีประเมินการพยากรณ์โรคเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะสามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มเสี่ยงต่ำ


 

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • จะพบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากในกลางคืน
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ​ไอเรื้อรัง
  • หายใจไม่สะดวก
  • ต่อมทอนซิลโต
  • ปวดศีรษะ ซึ่งอาการนี้มักพบบริเวณต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท

แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็งเสมอไป เพราะอาจเป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นตัวโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติ รีบมาพบแพทย์


 

แนวทางการรักษา

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีหลายวิธีประกอบกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิด และระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองการรักษาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถใช้ได้ทั้งเป็นการรักษาแบบเดียว หรือการรักษาแบบผสมผสาน

  • การเฝ้าติดตามโรค (Watch&Wait)

การเฝ้าติดตามโรคมักใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) หรือในรายที่ผู้ป่วยมีอาการจากตัวโรคไม่มาก ระหว่างการเฝ้าติดตามโรค จะมีการตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะ ๆ

  • การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)

ยาเคมีบำบัดจะทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไปรบกวนกรแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งการเลือกชนิดของยาเคมีบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับชริดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไปการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะได้ยาเคมีบำบัดหลายขนานรวมกัน หรืออาจให้ร่วมกับการรักาด้วยแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)

  • การรักษาด้วยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)

ยาโมโนโคลแอนติบอดี คือ สารสังเคราะห์ที่จะไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซวล์มะเร็งหลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็งนั้น

  • การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy)

คือการรักษาด้วยการใช้รังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

  • การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Tranplantation)

หลักการของการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด คือ การทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป แล้วแทนที่ด้วยเซลล์ที่ปกติ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค (Allogeneic transplantation)
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation)


มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่มีเนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง หรือโครงสร้างต่อม ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคือช่วงอายุ 60-70 ปี ผู้ที่มีภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วย HIV และผู้ที่สัมผัสสารเคมีเช่น ยาฆ่าแมลง  อาการเริ่มแรกคือพบก้อนบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งในปัจจุบันสามารถรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้อย่างหายขาด ถ้าหากเป็นในระยะแรกเริ่ม รักษาอย่างถูกต้องครบถ้วน และร่างกายมีการตอบสนองที่ดี ที่สำคัญการได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว และเพื่อน เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่จะมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคต่อไปนะคะ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

8 ปัจจัยเสี่ยงเข่าเสื่อม รู้ก่อน ป้องกันได้ก่อน

หลายคนเข้าใจว่า การที่กระดูกหรืออวัยวะในร่างกายเสื่อมนั้น เกิดจากการมีอายุมากขึ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง การเสื่อมของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก หัวเข่าของเราก็เช่นกัน

8 ปัจจัยเสี่ยงเข่าเสื่อม รู้ก่อน ป้องกันได้ก่อน

หลายคนเข้าใจว่า การที่กระดูกหรืออวัยวะในร่างกายเสื่อมนั้น เกิดจากการมีอายุมากขึ้นเพียงเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง การเสื่อมของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก หัวเข่าของเราก็เช่นกัน

วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรต้าไวรัส

มีหลายสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือพิษจากอาหารโรตาไวรัสเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2ปี

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรต้าไวรัส

มีหลายสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือพิษจากอาหารโรตาไวรัสเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2ปี

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป