Header

คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทานอะไร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เมื่อรู้ตัวว่าได้เป็นคุณแม่…หนึ่งคำถามที่ลอยขึ้นมา สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ 

อาจจะหนีไม่พ้นเรื่องของอาหารการกิน ที่อยากจะถามคุณหมอว่า 

“คนท้อง…ต้องกินเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ” ? มาครับ วันนี้ เราจะมาแนะนำ 

เรื่องอาหารการกินกับคุณแม่กัน 

 

ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ช่วงเดือนที่ 1-3 คุณแม่ต้องการพลังงานเท่ากับคนที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ 

ไตรมาสที่ 2-3 คนท้อง ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 300 กิโลแคลอรี คือ ประมาณ 2,300 กิโลแคลรี ซึ่งในระหว่างนี้ คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ เพราะจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและพัฒนาการของทารกในครรภ์ให้เติบโต และสมบูรณ์ 

 

สารอาหารสำคัญที่หญิงตั้งครรภ์ต้องการ 

  1. โปรตีน เป็นแหล่งพลังงาน ช่วงสร้างเนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ โครงสร้างร่างกายของทารก มีมากในเนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ผลิตภัณฑ์นม และไข่
  2. ธาตุเหล็ก ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และเนื้อเยื่อต่าง ๆ สําหรับแม่และทารก สะสมไว้ใช้ระหว่างคลอด และทารกในระยะ 4-6 เดือนหลังคลอด ช่วยการเจริญเติบโตของทารกมีมากในเลือด ตับ เนื้อสัตว์ ไข่ และวิตามินเสริมจากคุณหมอ 
  3. ไอโอดีน เป็นสารตั้งต้นในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ควบคุมการทํางานของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นไปตามปกติ ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ประสาทและสมอง มีมากในอาหารทะเล เกลือเสริมไอโอดีน 
  4. โฟเลต คุณแม่ต้องการโฟเลต เพื่อการสร้างเซลล์สมองของทารก โดยเฉพาะระยะครรภ์ช่วงเดือนแรกมีมากในตับ และผักใบเขียว
  5. แคลเซียม สร้างการเจริญเติบโต และการพัฒนาการสร้างกระดูกของทารกในครรภ์มารดา เช่น นม เนย และผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย แคลเซียม 

 

คุณแม่ ควรเลือกรับการรับประทานอาหารอย่างไร

  • อาหารควรจะเป็นอาหารที่ปรุงสดใหม่ ถูกสุขลักษณะ
  • เลือกรับประทานอาหารสะอาด หลีกเลี่ยงของหมักดอง 
  • สารอาหารครบ 5 หมู่
  • ไขมันต่ำ
  • ควบคุมปริมาณน้ำตาล แป้ง เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
  • ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆกันทุกมื้อ 
  • ไม่ปรุงรสจัดมากจนเกินไป 

 

คุณแม่ ต้องดื่มน้ำในปริมาณเท่าไร

คุณแม่ควรต้องดื่มน้ำสะอาด 8-12 แก้วต่อวัน

  • น้ำจะช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น เลือดมีการแลกเปลี่ยนสารอาหารได้ดี 
  • ทำให้สารอาหารจากแม่ไหลไปสู่ลูก ได้มีประสิทธิภาพขึ้น
  • ช่วยป้องกันท้องผูก ช่วยทำให้กากอาหารนิ่ม อุจจาระไม่แข็ง เมื่อขับถ่าย  
  • ช่วยลดปัญหาแตกลายของหน้าท้อง ช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดี ผิวพรรณสดใส

 

ตัวอย่าง: ปริมาณอาหารที่คนท้องควรรับประทานในแต่ละวัน 

ไตรมาสที่ 1

  • ข้าว-แป้ง 8 ทัพพี
  • ผัก 6 ทัพพี
  • ผลไม้ 5 ส่วน
  • เนื้อสัตว์ 12 ช้อนกินข้าว
  • นม 3 แก้ว
  • นํ้าตาล ไม่เกิน 4 ช้อนชา
  • เกลือ ไม่เกิน 1 ช้อนชา

 

ไตรมาสที่ 2-3

  • ข้าว-แป้ง 10 ทัพพี
  • ผัก 6 ทัพพี
  • ผลไม้ 6 ส่วน
  • เนื้อสัตว์ 12 ช้อนกินข้าว
  • นม 3 แก้ว
  • นํ้าตาล ไม่เกิน 5 ช้อนชา
  • เกลือ ไม่เกิน 1 ช้อนชา

 

หญิงตั้งครรภ์ ดื่มกาแฟได้ไหม ?

รับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณการดื่มต่อวัน ไม่ควรเกิน 1-2 แก้วต่อวัน 

ควบคุมปริมาณน้ำตาลในกาแฟ (ใส่น้ำตาลปริมาณน้อยเพื่อควบคุมความหวาน) และโรคเบาหวานที่อาจจะเกิดขึ้นและตรวจพบขณะตั้งครรภ์ 

 

หญิงตั้งครรภ์ ดื่มน้ำมะพร้าวได้ไหม ?

รับประทานได้ ไม่เกี่ยวข้องกับการแท้งแต่อย่างใด แต่ควรดื่มในปริมาณพอเหมาะ เพราะในน้ำมะพร้าวก็มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างเยอะพอสมควร 

 

หญิงตั้งครรภ์ ดื่มแอลกอฮอล์ ได้ไหม?

ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจจะทำให้เด็กพิการได้ และอาจจะส่งผลมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก  

 

 

 บทความโดย : นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์  สูตินรีแพทย์ (มะเร็งวิทยานรีเวช)

แผนกสุขภาพสตรี  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ปวีณา อมรเพชรกุล

สูตินรีแพทย์

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ดวงสมร เกียรติสุดา

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, เวชศาสตร์มารดาและทารก

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.ปัญจวิชญ์ ปทุมานุสรณ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

พร้อมเป็นคุณแม่มือใหม่ เตรียมตัว ฝากครรภ์คุณภาพ

คุณแม่หลาย ๆ ท่าน คงตื่นเต้น และกังวลกับการตั้งครรภ์ ยิ่งท้องแรกความกังวลอาจจะมากป็นพิเศษ แต่!!อย่ากังวลจนเกินไปนะคะ เรามาเตรียมตัวเพื่อลูกน้อยกับ การ "ฝากครรภ์คุณภาพ” กันนะคะ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
พร้อมเป็นคุณแม่มือใหม่ เตรียมตัว ฝากครรภ์คุณภาพ

คุณแม่หลาย ๆ ท่าน คงตื่นเต้น และกังวลกับการตั้งครรภ์ ยิ่งท้องแรกความกังวลอาจจะมากป็นพิเศษ แต่!!อย่ากังวลจนเกินไปนะคะ เรามาเตรียมตัวเพื่อลูกน้อยกับ การ "ฝากครรภ์คุณภาพ” กันนะคะ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม