Header

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น
 

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจมีอาการอย่างไรได้บ้าง

  • ถ่ายอุจจาระปนมูกเลือด
  • มีลักษณะการขับถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นการถ่ายอุจจาระท้องผูกสลับกับการถ่ายอุจจาระเหลว
  • ลักษณะอุจจาระลีบลง ในบางรายอาจมีอาการลำไส้อุดตันร่วมด้วย ได้แก่ท้องอืดมาก อาเจียนมาก ไม่สามารถอุจจาระหรือผายลมได้
  • มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กโดยไม่มีเหตุอื่นอธิบายได้
  • อาการอื่นๆที่อาจพบร่วมได้ เช่น น้ำหนักตัวลดเยอะ, อาการปวดท้อง
     

ทำไมเราถึงควรคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้ โดยถ้าอาจตรวจพบและกำจัดติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือการตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น อาจสามารถรักษาหายขาดหรือมีผลการรักษาที่ดีกว่าการตรวจพบในระยะท้ายของโรค
 

แนวทางในการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ในปัจจุบันโดยทั่วไปแนะนำให้เริ่มการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 50 -75 ปี (ในผู้มีความเสี่ยงสูง อาจพิจารณาเริ่มทำการคัดกรองตั้งแต่อายุน้อยกว่า50ปี) หรือในผู้ที่มีอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โดยวิธีที่ใช้ในการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี ได้แก่

  • การตรวจหาเลือดแดงในอุจจาระ (fecal occult blood test) เป็นการตรวจหาเม็ดเลือดแดงที่ออกมาในอุจจาระในปริมาณน้อยที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก 1ปี
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก10ปี
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย(sigmoidoscopy)โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก5ปี
  • การตรวจเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT colonoscopy) โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก5ปี

จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคใกล้ตัวทุก ๆคน โดยเฉพาะเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ซึ่งการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีต่างๆก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรค หรือทำให้ตรวจพบโรคในระยะต้นได้มากขึ้นครับ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไขข้อสงสัย ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่ หรือจำเป็นจะต้องมาเปลี่ยนมาซ่อมแซมภายหลังหรือไม่ หลังผ่าตัดไปแล้วจะสามารถใช้ข้อเข่าได้นานเท่าไหร่ หรือมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไขข้อสงสัย ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่?

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ข้อเข่าเทียมหมดอายุเมื่อไหร่ หรือจำเป็นจะต้องมาเปลี่ยนมาซ่อมแซมภายหลังหรือไม่ หลังผ่าตัดไปแล้วจะสามารถใช้ข้อเข่าได้นานเท่าไหร่ หรือมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม