Header

ทานอย่างไร ให้สุขภาพดีเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ทานอย่างไร ให้สุขภาพดีเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ควรรับประทานอาหารให้เป็นในสัดส่วน

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารให้เป็นสัดส่วน เช่น  ½ เป็นผัก ¼ เป็นแป้ง และ อีก ¼ เป็นโปรตีน ในทุก ๆ มื้อ เพราะผักมีวิตามิน และสารอาหารมากแต่มีแคลอรี่น้อย นอกจากนี้ ผักยังมีใยอาหารมาก ทำให้อิ่มนาน และขับถ่ายได้สะดวกอีกด้วย

 

ควรเลือกอาหารที่น้ำตาล และคาร์โบไฮเดรทเชิงเดี่ยว

น้ำตาล และคาร์โบไฮเดรทเชิงเดี่ยว เป็นตัวที่เพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้มีแคลอรี่สูงแต่คุณค่าทางอาหารต่ำ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง ตัวอย่างของคาร์โบไฮเดรทเชิงเดี่ยว ได้แก่ ข้าวขาว แป้งขาว มันฝรั่งขาว เป็นต้น

ทานอย่างไร ให้สุขภาพดี-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ควรเลือกไขมันที่ดีต่อสุขภาพ

หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ และไขมันอิ่มตัว โดยไขมันทรานส์พบได้ในขนมกรุบกรอบ และอาหารจานด่วนทั้งหลาย ส่วนไขมันอิ่มตัวพบได้ในเนย และชีส ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ คือไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะพบได้ใน น้ำมันมะกอก หรือไขมันจากการรับประทานถั่ว หรือปลา

 

ควรทานใยอาหารให้มากขึ้น

ใยอาหารจะช่วยในการย่อย การขับถ่าย และช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น โดยใยอาหารจะพบได้ใน ผัก ขนมปังโฮลวีท ข้าวกล้อง ถั่ว

 

ควรเลือกโปรตีนที่มีประโยชน์ ด้วยการลองทำ Meatless Monday

Meatless Monday คือไม่รับประทานเนื้อสัตว์ 1 วันต่ออาทิตย์ หรือ เลือกรับประทานถั่วหรือเต้าหู้แทนเนื้อสัตว์ใหญ่ หากท่านมีปัญหาการเคี้ยวหรือการกลืน ลองรับประทานโปรตีนนุ่มๆ เช่น เนื้อปลา หรือ เต้าหู้

ทานอย่างไร ให้สุขภาพดี-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ควรใช้เครื่องปรุงอื่น ๆ แทน การเพิ่มรสชาติด้วยเกลือ

เพิ่มรสชาติโดยไม่ต้องใช้เกลือ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสมุนไพรแทน เช่น ผักชี ต้นหอม ขิง มะนาว พริก

 

ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาล โซเดียม (เกลือ) และไขมันอิ่มตัว

ควรรู้จักอ่านฉลากอาหารก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจกับสารอาหารทุกอย่างที่จะเข้าไปในร่างกายของเรา โดยให้คุณหลีกเลี่ยงน้ำตาล โซเดียม (เกลือ) และไขมันอิ่มตัว เลือกอาหารที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ และไม่ใส่สารสังเคราะห์ สารกันบูด หรือวัตถุกันเสีย

 

ควรจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

เมื่ออายุมากขึ้น ความรู้สึกกระหายน้ำจะลดลง ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำโดยที่ไม่รู้สึกตัวได้ ดังนั้น จึงควรจิบน้ำอยู่เป็นประจำตลอดทั้งวัน ซึ่งน้ำเปล่าเป็นสิ่งดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลเยอะ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีน

การดูแลตัวเอง สามารถทำได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอให้เข้าสู่ช่วงสูงวัยหรอก ถ้าเราเริ่มดูแลตัวเองดี ๆ ตั้งแต่วินาทีนี้ เชื่อได้เลยว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายของเราจะฟิตแอนด์เฟิร์มมากกว่าเดิมอย่างแน่นอน

ทานอย่างไร ให้สุขภาพดี-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)

#หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูเเล



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

29 มกราคม 2567

ส่องกล้องทางเดินอาหารไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

การส่องกล้องจะใช้เพื่อวินิจฉัยสภาวะที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร การส่องกล้องสามารถช่วยระบุแผล เลือดออก โรคช่องท้อง การอุดตัน การอักเสบ และเนื้องอก สามารถช่วยค้นหาสาเหตุของอาการที่ไม่สามารถอธิบายได้

29 มกราคม 2567

ส่องกล้องทางเดินอาหารไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

การส่องกล้องจะใช้เพื่อวินิจฉัยสภาวะที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร การส่องกล้องสามารถช่วยระบุแผล เลือดออก โรคช่องท้อง การอุดตัน การอักเสบ และเนื้องอก สามารถช่วยค้นหาสาเหตุของอาการที่ไม่สามารถอธิบายได้

26 มกราคม 2567

โรคแผลในกระเพาะอาหาร...อาการเป็นแบบไหน?

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า โรคพียู (PU) ทำให้มีอาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น”

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

26 มกราคม 2567

โรคแผลในกระเพาะอาหาร...อาการเป็นแบบไหน?

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า โรคพียู (PU) ทำให้มีอาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น”

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

23 กุมภาพันธ์ 2567

มาตรวจสุขภาพตามช่วงอายุกันเถอะ

จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการตายต่อประชากรในทุกภาคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือและกรุงเทพฯ ที่มีอัตราการตายสูงสุดที่ 8.5 และ 8.2 รายต่อประชากร 1,000 คน  สาเหตุการตาย ในปี 2562 พบว่า สาเหตุการตาย 3 อันดับแรกได้แก่ มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด โรคระบบไหลเวียนโลหิต และโรคระบบทางเดินหายใจ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

23 กุมภาพันธ์ 2567

มาตรวจสุขภาพตามช่วงอายุกันเถอะ

จากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการตายต่อประชากรในทุกภาคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือและกรุงเทพฯ ที่มีอัตราการตายสูงสุดที่ 8.5 และ 8.2 รายต่อประชากร 1,000 คน  สาเหตุการตาย ในปี 2562 พบว่า สาเหตุการตาย 3 อันดับแรกได้แก่ มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด โรคระบบไหลเวียนโลหิต และโรคระบบทางเดินหายใจ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม